เตือน! แม่ปล่อยลูกอยู่กับจอส่งผลภาวะตาเขร่วมตาเหล่ ค่ารักษาร่วมแสน

อันตราย! แม่เตือนปล่อยลูกอยู่กับจอนานๆ ส่งผลภาวะตาเขร่วมตาเหล่ เบื้องต้นจ่ายค่ารักษาร่วมแสน เผยหากทิ้งอาการไว้นาน ตาอาจจะมัวถาวรหรือบอดสนิทได้

คุณแม่ที่มีลูกวัย 8 ขวบซึ่งมีภาวะตาเขเข้าร่วมกับตาขี้เกียจ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพื่อแจ้งอาการของลูกชายที่เข้ารับการผ่าตัดตา และเตือนคุณแม่ที่มีลูกเล็กให้คอยสังเกตอาการลูก

เฟซบุ๊กชื่อ Fai Asiwan ได้โพสต์ข้อความพร้อมเช็กอินที่ ตึกศรีพัฒน์@รพ.มหาราชเชียงใหม่   โดยระบุว่า …

ได้ออกรพ. แล้วคับ ขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งมาให้คับ มีแม่ๆ หลายคนแชทมาถามอาการน้อง ขอตอบทีเดียวในนี้นะคะ

น้องชินจังมีภาวะตาเขเข้าร่วมกับตาขี้เกียจ หมอบอกสาเหตุเกิดจากการเพ่ง

โดยปกติเด็กจะเพ่งเก่งกว่าผู้ใหญ่ แต่เด็กบางคนเพ่งได้มากกว่าปกติ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากการติดจอตั้งแต่เด็ก

น้องไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด แม่เพิ่งมาสังเกตเห็นตอนอายุประมาณ 3 ขวบกว่า จึงได้เริ่มค้นหาข้อมูล และพบว่าโรคนี้ไม่สามารถหายเองได้ ต้องได้รับการรักษาโดยการสวมแว่นสายตา และผ่าตัดเท่านั้น

ยิ่งปล่อยไว้นาน จนอายุล่วงเข้า 8 ขวบขึ้นไป การรักษามักจะได้ผลช้า ตาอาจจะมัวถาวรหรือบอดสนิทได้

 จึงรีบพาน้องปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง

 หลังได้รับการผ่าตัดดวงตา1วัน น้องสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ งดโดนน้ำและขยี้ตา 1 อาทิตย์ ยังคงต้องสวมแว่นสายตาและมาหาหมอตามนัดอย่างต่อเนื่อง

โรคนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเด็กอีกต่อไป เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน เด็กถูกเลี้ยงโดยการปล่อยให้อยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน เป็นผลให้โรคที่เข้าใจว่าไกลตัว ขยับเข้ามาใกล้ลูกน้อยมากขึ้น เสียสุขภาพ เสียเวลา และที่สำคัญ ค่ารักษาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนนี้รวมๆ แล้วเกือบแสน หาเงินพาลูกเที่ยวสนุกกว่ามาจ่ายค่าหมอค่ะ

แค่อยากบอกเล่าประสบการณ์ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับหลายๆ ครอบครัวที่มีลูกในวัยไล่เลี่ยกันค่ะ จากใจคนเป็นแม่

#Chinjangnoi 5Y7M15D

อีจัน หาข้อมูลเกี่ยวกับ “โรคตาขี้เกียจ” คืออะไร มาให้อ่านกันค่ะ

โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eye มักพบในเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ซึ่งตามีอาการมองเห็นภาพไม่ชัด และหากไม่รีบรักษา เสี่ยงตาบอดถาวรในอนาคต

ตาขี้เกียจ (Amblyopia / Lazy Eye) คือ โรคทางสายตาที่ทำให้ดวงตามองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงและตาบอดถาวรในอนาคต ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับดวงตาข้างเดียว แต่บางรายอาจพบได้ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งโรคนี้มักจะปรากฏในเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางการมองเห็น

สาเหตุของโรค

ตาเขหรือตาเหล่ (Strabismus) เป็นปัญหาทางสายตาที่มักจะทำให้เกิดตาขี้เกียจในเด็กได้บ่อย เกิดจากดวงตาทั้ง 2 ข้างทำงานไม่ประสานกัน ข้างใดข้างหนึ่งอาจมองตรง ส่วนอีกข้างอาจจะเฉออกไปด้านข้าง บน หรือล่าง ทำให้มองเห็นเป็นภาพซ้อน ผู้ที่มีอาการตาเขหรือตาเหล่จึงเลือกใช้ดวงตาข้างที่มองตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการมองเห็นภาพซ้อนกัน จึงทำให้ดวงตาอีกข้างไม่พัฒนาไปตามปกติ สุดท้ายกล้ามเนื้อตาข้างนั้นจึงไม่ได้ใช้งาน การมองเห็นลดลง และสุดท้ายจึงมองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน

ภาวะสายตาผิดปกติที่ต่างกันมาก (Refractive Errors) อาจเป็นไปได้ทั้งสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียงที่เป็นผลมาจากการหักเหของแสงที่ส่องผ่านแก้วตาผิดปกติ โดยทั่วไปคนที่มีปัญหาทางด้านสายตามักจะเป็นเหมือนกันทั้ง 2 ข้างและมีค่าสายตาใกล้เคียงกัน

แต่ในบางรายอาจมีภาวะสายตาผิดปกติที่มีค่าสายตาทั้ง 2 ข้างต่างกันมาก (Anisometropia) ซึ่งมีโอกาสเกิดตาขี้เกียจได้สูง เพราะแสงที่ส่องผ่านเข้าเลนส์ตามากน้อยไม่เท่ากัน ทำให้สมองเลือกตอบสนองกับดวงตาข้างที่รับแสงได้ดีกว่า ดวงตาอีกข้างจึงไม่ค่อยถูกใช้งานและพัฒนาน้อยกว่าอีกข้าง

ความผิดปกติที่ทำให้เกิดความมัวในตา (Stimulus Deprivation Amblyopia) เป็นความผิดปกติที่เกิดได้จากมีสิ่งกีดขวางหรือบดบังการมองเห็นของดวงตา ทำให้การรวมแสงไม่ตกบนจอตา ผู้ป่วยจึงมองเห็นภาพได้ไม่ชัด เช่น เป็นต้อกระจกแต่กำเนิด จึงทำให้เลนส์แก้วตาที่มีความใสตามปกติเริ่มขุ่นมัวจนบดบังการมองเห็น บางส่วนอาจพบว่ามาจากโรคที่ทำให้หนังตาตกหรือเปลือกตาตกจนไปขัดขวางการมองเห็น

อาการของโรค

โรคนี้ค่อนข้างสังเกตได้ยาก และเด็กก็อาจแยกไม่ออกว่าเกิดอาการกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ ยกเว้นในกรณีที่มองเห็นความผิดปกติจากดวงตาได้ชัดเจน ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการ ดังนี้

การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างแย่ลง มีอาการตาเหล่ ต้องเอียงศีรษะหรือปิดตาไว้ข้างหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นได้ชัด การกะระยะหรือวัดความห่างระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่นๆ ทำได้ยาก ดวงตาเบนเข้าด้านในหรือออกด้านนอก

ทั้งนี้ พ่อแม่อาจเริ่มสังเกตอาการของเด็กได้ตั้งแต่หลังคลอดไม่กี่สัปดาห์ แต่ในเด็กบางคนอาจไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจสายตาอย่างละเอียดเป็นหลัก แพทย์มักจะแนะนำให้เด็กอายุระหว่าง 3-5 ปีเข้ารับการตรวจคัดกรองสายตาจากจักษุแพทย์ เพราะการตรวจพบโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้พัฒนาการทางด้านสายตาของเด็กเป็นไปตามวัย นอกจากนี้เด็กบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงทำให้มีโอกาสในการเป็นโรคนี้มากกว่าปกติ

ขอบคุณข้อมูล :

เฟซบุ๊ก Fai Asiwan

https://thainakarin.co.th/knowledge-lazy-eye-center/

คลิปอีจันแนะนำ
ฟังชัดๆ ธรณีกรรแสง ดังกลางดึก
ร่วมโหวตกับ Poll อีจัน
var d=document,w=”https://tally.so/widgets/embed.js”,v=function(){“undefined”!=typeof Tally?Tally.loadEmbeds():d.querySelectorAll(“iframe[data-tally-src]:not([src])”).forEach((function(e){e.src=e.dataset.tallySrc}))};if(“undefined”!=typeof Tally)v();else if(d.querySelector(‘script[src=”‘+w+'”]’)==null){var s=d.createElement(“script”);s.src=w,s.onload=v,s.onerror=v,d.body.appendChild(s);}