โกหกกันเหรอ! รู้ทัน 3 สัญญาณ เคล็ดลับจับโกหก

อย่ามาหลอกกันนะ! 3 สัญญาณ เคล็ดลับจับโกหก ที่บอกว่า คนที่เรากำลังคุยด้วย โกหกอยู่

วันเมษาหน้าโง่! วันที่ 1 เมษาของทุกปี วันโกหก อีเวนต์แห่งความปลิ้นปล้อน ที่หลายคนอาจจะโดนแกล้งจนคาดไม่ถึงเลยค่ะ

วันเมษาหน้าโง่ April fool’s day อีเวนท์สุดฮิตแห่งความปลิ้นปล้อน

ถ้าไม่อยากถูกหลอก ต้องจับโกหกยังไง แน่นอนค่ะ ว่าเรื่องนี้ต้องมีวิธี

อีจันได้หาเคล็ดลับจับโกหก มาบอกลูกเพจกัน

เป็นข้อมูลจาก ผศ.ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกไว้ว่า

สัญญาณจากพฤติกรรมต่างๆ ที่ใช้ในการโกหก

สัญญาณด้านอารมณ์ความรู้สึก เมื่อผู้ที่พูดโกหก มีความรู้สึกกลัวว่าจะโดนจับได้ จะสังเกตได้ง่ายๆ เลยค่ะ เป็นสัญญาณของความกลัว เช่น พูดด้วยน้ำเสียงที่สูงกว่าปกติ พูดเร็ว และดังกว่าปกติ พูดติดขัด พูดผิดบ่อยๆ

อีกสัญญาณคือ เมื่อผู้พูดโกหก แล้วรู้สึกผิด ละอายใจ ก็จะมีอาการอีกอย่าง ให้เราได้สังเกตกันค่ะ นั่นคือ พูดด้วยเสียงต่ำกว่าปกติ พูดช้า สีหน้าเศร้า และมักเหลือบตามองลงต่ำบ่อยๆ

แต่ถ้าหากเป็นการโกหกเพราะไม่อยากให้เราเสียใจ ก็จะมีอาการอีกอย่าง คือ สีหน้าแวบแรกขัดแย้งกับสีหน้า และคำพูดที่เขาแสดงต่อมา นั่นเป็น สัญญาณว่าเขากำลังปิดบังความรู้สึกที่แท้จริงของเขาไม่ให้รู้

สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางปัญญา รู้มั้ยคะว่า การพูดโกหกเนี่ย ต้องใช้ความคิดมากกว่าพูดความจริง เพราะผู้พูดจะต้องใช้สมอง ใช้ความคิด มากกว่า จึงอาจจะมีอาการ ตอบคำถามช้ากว่า มีท่าทีลังเลที่จะพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย มีอาการเกร็ง

ลักษณะของเรื่องราวและคำพูด เนื้อเรื่องที่ผู้โกหกเล่ามักจะมีแต่ข้อมูลพื้นๆ ไม่มีรายละเอียด คลุมเครือ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ไม่บอกเวลา หรือสถานที่ที่แน่ชัด

แต่ๆ สัญญาณที่กล่าวมา ไม่ได้ทำให้สรุปได้ทันทีนะว่า คนที่เราคุยอยู่กำลังโกหก สัญญาณเหล่านี้ ต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ด้วย เช่น แรงจูงใจของผู้พูด บุคลิกลักษณะโดยธรรมชาติของผู้พูดด้วยนะคะ