ย้อนสำรวจข้อมูล แผนการดำเนินการ แก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ปฏิบัติได้จริงหรือไม่?

ย้อนสำรวจข้อมูล แผนการดำเนินการ แก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 พบมีถึง 3 แผนงาน เป็นถึงวาระแห่งชาติ แล้วปฏิบัติได้จริงหรือไม่?

บวัน ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญของการใช้ชีวิต โดยเฉพาะ คนเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ และดูเหมือนว่า การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจน ไม่ว่าจะแนวทาง หรือ การดำเนินการอย่างเป็นระบบ ความชัดเจนเดียวที่ประชาชนรับรู้ คือ การออกมาขอโทษชาวกรุงเทพ ที่ได้รับผลกระทบนี้ ของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา

คำถามคือ ที่ผ่านมานั้น ภาครัฐ เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหา PM 2.5 มากน้อยแค่ไหน

แผนเฉพาะกิจ ครม.เห็นชอบ อำนาจจัดการเพียบ!มื่อตรวจสอบการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขปัญหานี้ พบว่า ไม่ใช่ ภาครัฐ ไม่มีทีท่าในการดำเนินการ แต่มีกระทั่งแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ โดยแผนงานดังกล่าวนั้น เป็นแผนเฉพาะกิจ ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา
สำหรับแผนเฉพาะกิจนี้ มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น แผนงานที่ลงรายละเอียดต่างๆอย่างครบถ้วน เช่น ใช้การสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ระบุให้มีการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ ให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง ภายใต้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกหลักในการกำกับดูแลและรับมือสถานการณ์
บริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า โดยการเก็บขน และใช้ประโยชน์เศษวัสดุใน ป่า และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงใน 17 จังหวัดภาคเหนือ สร้างเครือข่าย อาสาสมัคร และจิตอาสา เป็นกลไกหลักเข้าถึงพื้นที่ ทั้งสื่อสาร ติดตาม เฝ้าระวัง และดับไฟ
เร่งขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ภายใต้ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน โดยกำหนดเป้าหมาย 12 จังหวัดภายในปี 2563 และครบ 76 จังหวัด ภายในปี 2570 รวมทั้ง มีการระบุให้เพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ดำเนินการให้มีการพยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 3 วัน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ผนวกกับประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการรายงานปริมาณฝุ่นละอองเชิงพื้นที่ โดยเริ่มใช้วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา และสั่งการให้พัฒนาระบบคาดการณ์ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาและใช้งานแอปพลิเคชันบัญชาการการดับไฟป่า
สร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลป่าไม้ และลดการเผาป่าผ่านการจัดที่ดินทำกิน และ เจรจาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งระดับอาเซียน ระดับทวิภาคี และระดับพื้นที่ชายแดน

แผนใหญ่ ยกเป็นวาระแห่งชาติ!!
นอกเหนือจากแผนเฉพาะกิจ ที่ครม. เห็นชอบให้ดำเนินการ ด้าน กรมควบคุมมลพิษ ยังร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ สำหรับแก้ปัญหา PM 2.5 โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 ในเรื่องให้มีการการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง
ซึ่งระบุชัดถึงขนาด ให้อำนาจ ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการแก้ปัญหาและใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ มีขั้นตอนงานในการดำเนินการถึง 3 ขั้นตอน ตามลำดับสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำงานในช่วงเวลาวิกฤต การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง และ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการ รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและกํา หนดแนวทางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคต ประกอบด้วย มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 – 2564) และมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2567)
รวมทั้งยังแยกย่อยแผนงานออกเป็น ระดับต่างๆ ตั้งแต่ ระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ระดับที่ 2 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 51 – 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระบุถึงวิธีการทำงาน ในการยกระดับแก้ไข
ระดับที่ 3 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 76 – 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้อํานาจและหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัด ใช้กฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ. 2550 แก้ปัญาได้
ระดับที่ 4 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่ามากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรแนวทางปฏิบัติกําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วนแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา กทม. ก็มี!!
และไม่ใช่ว่าจะมีเพียงแผนงานระดับใหญ่ของรัฐบาล หรือ กระทรวง กรม เท่านั้น ในส่วนของ กรุงเทพมหานคร เอง ก็ยังมีการออกแผนรับมือปัญหาฝุ่นจิ๋ว โดยเรียกว่า แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการเน้นไปในเรื่องการตัดวงจรปัญหา ในจุดของเชื้อเพลิง เนื่องจาก พบว่าสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ที่มีแหล่งกำเนิดหลักมาจากภาคการขนส่งทางถนนที่มีการระบายฝุ่นละออง PM 2.5 มากที่สุดร้อยละ 72.5 (รถบรรทุก ร้อยละ 28 รถปิกอัพ ร้อยละ 21 รถยนต์นั่ง ร้อยละ 10 รถบัส ร้อยละ 7 รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 5 และรถตู้ ร้อยละ 1.5) รองลงมาได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 17 การเผาในที่โล่ง ร้อยละ 5 และอื่นๆ ร้อยละ 5.5

มีการร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรกำหนดเวลาห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เดินรถในเขตพื้นที่ภายในของถนนวงรอบพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร (ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก) โดยขอให้พิจารณาเพิ่มเติมห้ามเดินรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปในข้อบังคับดังกล่าวด้วย รวมทั้งขอให้พิจารณาเพิ่มเติมข้อบังคับ โดยขอให้พิจารณาขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เข้ากรุงเทพมหานครจากถนนวงแหวนรัชดาภิเษกเป็นถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก
แผนงานดังกล่าว ละเอียดไปถึง การบูรณาการความร่วมมือกับกองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อควบคุมฝุ่นละอองที่แหล่งกำเนิด ด้วยการเข้มงวดการตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำทุกประเภท
จะเห็นได้ว่า เมื่อเราติดตาม และเช็กข้อมูลรายละเอียดกันอย่างถี่ถ้วน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภาครัฐ ไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกแผนการดำเนินการออกมารองรับ อย่างครบถ้วนในการแก้ปัญหาทุกมิติ

คำถามคือ แล้วเมื่อไหร่ แผนงานเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เสียที?
หรือจะเป็นเพียงเสียงที่เปรยไปตามสายลม…สุดท้ายก็จางหายไป…..