เตือนประชาชน ระวัง! 5 โรค 3 ภัยสุขภาพ ฤดูร้อน

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชน ระวัง! 5 โรค 3 ภัยสุขภาพ ฤดูร้อน

แม้ในปัจจุบัน โควิด 19 จะเป็นโรคระบาด ที่น่าเป็นห่วงที่สุด แต่อย่าลืมนะคะ ว่ายังมีโรคระบาดอื่นๆอยู่ ยิ่งในช่วงฤดูร้อน ที่อากาศร้อนกว่าปกติยิ่งทำให้มีโรคระบาดเพิ่มมากขึ้น

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกประกาศเตือนประชาชนให้ป้องกันโรค และภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน ประกอบด้วย 5 โรค และ 3 ภัยสุขภาพ ที่ประชาชนควรระมัดระวัง พร้อมวิธีดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวอย่างเคร่งครัด

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ซึ่งประชาชนอาจเจ็บป่วยจากอากาศร้อนได้ กรมควบคุมโรค จึงออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรค และภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ลงวันที่ 1 มีนาคม 2565 เพื่อให้ประชาชนดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้อย่างถูกต้อง

โดยโรค และภัยสุขภาพ ที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในฤดูร้อน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ และกลุ่มที่ 2 ภัยสุขภาพ

กลุ่มที่ 1 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ แบ่งเป็น 6 โรค ได้แก่

1.โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค พบได้ในทุกกลุ่มวัย ผู้ป่วยจะถ่ายเหลว อาเจียน ส่วนใหญ่มักหายได้เอง

2.ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก หรือมีผื่นขึ้นตามลำตัว

3.โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษหรือสารเคมี มักพบในพืชและสัตว์ เช่น เห็ด และอาหารทะเลต่างๆ อาการป่วยจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารพิษที่ได้รับ ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจอาเจียนและท้องเสียจนร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงได้

คลิปอีจันแนะนำ
จับโป๊ะสกิลใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์!