แด่ผู้พิทักษ์ป่า รำลึก 31 ปี สืบ นาคะเสถียร

บันทึกเรื่องราว ความทรงจำ แด่ผู้พิทักษ์ป่า รำลึก 31 ปี สืบ นาคะเสถียร ในวันที่ยังมีชีวิต

1 กันยายนปี ของทุกปี ครบรอบ 31 ปี การจากไปของ สืบ นาคะเสถียร ผู้พิทักษ์ป่า

ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ แต่เรื่องราวของ “สืบ นาคะเสถียร” ยังคงอยู่ในความทรงจำ ที่ใครหลายคน นำมาใช้เป็นแบบอย่าง เป็นแรงบันดาลใจ และตั้งใจเดินตามรอย รักษาป่า

หลังการเสียชีวิตของ สืบ นาคะเสถียร เพียง 18 ปี เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันก่อตั้ง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อเป็นสถานที่เพื่อทำตามความตั้งใจ ตอนที่เขา ยังมีชีวิต

1 ปี ต่อมา ผืนป่าทุ่งใหญ่ และห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย

ด้วยความตั้งใจของ เขียนรายงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกของสืบ นาคะเสถียร และเบลินดา สจ๊วต-ค๊อกซ์

นั่นเป็นจุดเริ่มต้น ทำให้กลุ่มป่าตะวันตกยังคงเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยนำเอารูปแบบการจัดการของทุ่งใหญ่และห้วยขาแข้ง ไปขยายยังป่าข้างเคียงจนครบทั้งกลุ่มป่า

ภาพความตั้งใจ ปรากฎชัด ในเรื่องการกระจายตัวของเสือโคร่ง สัตว์ผู้ล่าสูงสุดของระบบนิเวศป่าไทย และเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของผืนป่า ไปยังพื้นที่อนุรักษ์รอบๆ และมีแนวโน้มจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี

สืบ นาคะเสถียร เคยบอกว่า “ผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เป็นกระบวนการของการทำลายแหล่งพันธุกรรม ตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ป่า ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจของผืนป่าทั้งหมดที่มนุษย์มิอาจสร้างขึ้นมาใหม่ได้”

นี่คือบทเรียนที่เขาได้รับ จากการช่วยเหลือสัตว์ป่า ตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน ก่อนนำมาขยายภาพชัดให้เห็นในการคัดค้านเขื่อนน้ำโจน และได้ถูกส่งต่อถึงภาคประชาชน ที่นำบทเรียนเหล่านั้น มาใช้ในการต่อสู้คัดค้าน การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ หรือการพัฒนาที่จะส่งผลกระทบต่อผืนป่าอนุรักษ์

สืบ นาคะเสถียร เคยพูดขึ้นในเวทีสิ่งแวดล้อม ไว้ว่า “ผมขอพูดในนามของสัตว์ป่า” คำเป็นการประกาศเจตนารมย์ ที่จะปกป้องสัตว์ป่าที่ใครหลายคนในเวที ยังคงจดจำน้ำเสียงของผู้พูดได้เป็นอย่างดี

เพราะสัตว์ป่าพูดด้วยตัวเองไม่ได้ ในวันนี้ผู้คนที่รักและหวงแหน ในการดำรงอยู่อย่างสมดุลของสัตว์ป่าในระบบนิเวศ

สืบ นาคะเสถียร เคยวิ่งเต้นหาแหล่งเงินทุน เพื่อ มาเป็นสวัสดิการ และประกันชีวิตให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับล่าง ในห้วยขาแข้ง และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ บางครั้งสืบต้องกลับไปขอยืมเงินจากทางบ้าน เพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายให้เจ้าหน้าที่

สิ่งที่เขาทำมาทั้งหมด ก็เพื่อผืนป่า ยับยั้งวิกฤตการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ยอมให้ใครมาทำลาย

คลิปอีจันแนะนำ
PAPR เพื่อรอยยิ้มด่านหน้า
{“src”: “4372f9c6-0743-43ef-924e-f7d2ef4c46b2”}