อุตุฯ เผยแผ่นดินไหวลาวไม่รุนแรง วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก

กรมอุตุนิยมวิทยา ย้ำแผ่นดินไหวลาวไม่รุนแรง วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก ระบุจะมีอาฟเตอร์ช็อกต่ออีก 1 เดือนแต่ไม่น่าห่วง

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 5.9 แมกนิจูด ความลึก 5 กม. พร้อมกับเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง ที่ สปป.ลาว ต่อมาเวลา 06.50 น. เกิดแผ่นดิน
ไหว 6.4 แมกนิจูด ความลึกที่ 3 กิโลเมตร ส่งผลให้พระอุโบสถเก่าแก่ อายุ 400 ปี และบ้านเรือนประชาชนแตกร้าว เสียหาย ขณะที่ประเทศไทย ได้รับ
รายงานความรู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นที่จากเหตุแผ่นดินไหวที่ลาว ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จ.น่าน จ.แพร่ จ.พะเยา จ.เชียงใหม่ จ
.เชียงราย จ.ลำปาง จ.เลย จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ตามที่นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้นั้น (ลิ้งข่าว
https://ejan.co/news/5dd5fd001a599)

เกี่ยวกับเรื่องนี้ (21 พ.ย. 62) กรมอุตุนิยมวิทยา แถลงข่าวแผ่นดินไหว สปป.ลาว โดยนาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า
เมื่อเวลา 23.49 น. ของวันที่ 20 พ.ย. 62 พบว่าเริ่มเกิดแรงสั่นสะเทือน 2.9 แมกนิจูด ต่อมาเวลา 04.00 น. วันนี้ก็เกิดแผ่นดินไหว 5.9 แมกนิจูด หลัง
จากนั้นเวลา 06.50 น. เกิดแผ่นดินไหว 6.4 แมกนิจูด ความลึกที่ 3 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเมนช็อกของแผ่นดินไหวครั้งนี้ โดยคาดว่า ศูนย์กลางอยู่ที่รัฐลอง
สปป.ลาว โดยประเทศไทยได้รับรายงานความรู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นที่จากเหตุแผ่นดินไหวที่ลาว ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพจากอีจัน
ซึ่งหลังจากนี้คาดว่าระดับความรุนแรงจะลดลงไปเรื่อยๆ เป็นอาฟเตอร์ช็อก และเมื่อเกิดการคลายตัวของเปลือกโลกก็จะทำให้เข้าสู่ภาวะปกติ คาดว่าประมาณ 1 เดือน แต่จะไม่มีผลกระทบรุนแรงใดๆ ซึ่งกรมอุตุฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง ทั้ง 16 รอยเลื่อน และโดยเฉพาะ รอยเลื่อน ปัว ใน สปป.ลาว ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ แม้ไทยมีการศึกษาไม่มาก เนื่องจาก ส่วนความเสียหายของการเกิดแผ่นดินไหวครังนี้ อาจมีบ้างในพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดน่าน เนื่องจาก มีอาคารเก่าจำนวนมาก จึงแนะนำประชาชน หากมีแผ่น ดินไหว ให้หาพื้นที่มั่นคงเช่น ใต้โต๊ะ หลบให้พ้นจากสิ่งของตกใส่ หรือ หากอยู่ในตึกสูง ไม่ควรอยู่ริมด้านนอกง่ายต่อความเสี่ยงตกลงไป และหากขับขี่รถ ทุกชนิดอยู่ ให้จอดสักพัก จนกว่าเหตุการณ์จะสงบจึงเดินทางต่อ
ภาพจากอีจัน
สำหรับการรับรู้แรงของแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลนั้น เนื่องจาก ดินภายใน กทม. เป็นดินอ่อนตัว บางพื้นที่ยังเป็นตะกอน ที่ยังไม่แข็งตัว จึงทำให้ความแรงแผ่นดินไหวขยับขึ้นเล็กน้อยได้ นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ยังประสานติดตามสถานการณ์เขื่อนต่างๆ ในพื้นที่ พบว่า สภาพยังมั่นคงแข็งแรง เป็นปกติ ซึ่งแต่ละเขื่อนสามารถรองรับแรง แผ่นดินไหวได้ระดับ 7 ริกเตอร์
ภาพจากอีจัน
ด้าน นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมกรมทรัพยากรธรณี เผยว่า ก่อนอื่นต้องเรียนก่อนว่าในประเทศไทยในเรื่องของแผ่นดินไหวเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนมี พลังคือ มีรอยแตกของแผ่นดินแล้วมีการขยับตัวเนื่องจากมีแรงบีบอัด ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลในเรื่องของแรงบีบอัดมาจากการเลื่อนตัวของรอย เลื่อนหลัก ตัวแรกมาจากพม่าหรือรอยเลื่อนสะกาย อีกตัวคือรอยเลื่อนที่เชื่อมโยงมาจากรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ซึ่งรอยเลื่อน 2 ตัวนั้นจะ ส่งแรงมาถึงประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคเหนือ ความรุนแรงในตอนนี้จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องปกติและยังไม่น่ากังวลจนเกินไป เมื่อ เทียบกับรอยเลื่อนในจีนและ เมียนมาร์ ซึ่งจากประวัติการเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.4 เช่นครั้งนี้ ได้เคยเกิดมาแล้วเมื่อ 3,000 ปีที่ผ่านมา