ถอดคำร้อง DSI ขอให้ศาลพิจารณา เพิกถอนประกันตัว นายชัยวัฒน์ และพวก

ถอดคำร้องของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ติดกำไล EM นายชัยวัฒน์ และพวก ผู้ต้องหาฆ่าบิลลี่

นายชัยวัฒน์ และ พวก รวม 4 คนผู้ต้องหาในคดี ฆ่าบิลลี่ กลับมามีกำลังใจอีกครั้ง
หลังจากเมื่อวานนี้ (25 พ.ย. 62) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิเคราะห์ คำร้องของ DSI ขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว นายชัยวัฒน์ และพวก รวม 4 คนผู้ต้องหาคดีฆ่าบิลลี่ พอละจี
โดยศาลพิเคราะห์ รวมถึงไต่สวนข้อเท็จจริงเห็นว่ากรณีนี้ยังไม่พบพฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ว่าเข้ายุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ศาลจึงยกคำร้องขอถอนประกัน

ภาพจากอีจัน
ย้อนดูคำร้องของ DSI และคำคัดค้าน ของ นายชัยวัฒน์ และพวก ผู้ต้องหาฆ่าบิลลี่ อีกครั้ง เพราะอะไรศาลจึงยกคำร้อง ? คำร้องของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวหรือกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และพวก ผู้ต้องหาคดีฆ่าบิลลี่ ข้อ 1 ตามที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ยื่นคำร้อง ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ขอฝากขัง นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษรผู้ต้องหาที่ 1 นายบุญแทน บุษราคัม ผู้ต้องหาที่ 2 นายธนเสฏฐ์ หรือไพฑูรย์ แช่มเทศ ผู้ต้องหาที่ 3 และนายกฤษณพงศ์ จิตต์เทศ ผู้ต้องหาที่ 4 มีกำหนด 12 วัน นับแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 พร้อมกับได้ขอคัดค้านการปล่อยชั่วคราว เนื่องจากการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูงเกรงว่าหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ซึ่งหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อการสอบสวนเป็นอย่างมาก ประกอบกับภรรยาของผู้เสียชีวิตได้ขอคัดค้านการประกันตัวกรณีดังกล่าวด้วย และศาลได้พิจารณาแล้วอนุญาตให้ผู้ต้องหาที่ 1 ถึง 4 ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ข้อ 2 ภายหลังที่ผู้ต้องหาที่ 1 ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวปรากฏว่าผู้ต้องหาที่ 1 ได้เดินทางไปพบสื่อมวลชนและให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลายช่องทาง ทั้งสื่อรายการโทรทัศน์ สื่อผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ โดยให้สัมภาษณ์หลายวาระต่างเวลากัน โดยมีเนื้อหาบิดเบือนการสอบสวนและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและมีเจตนาสร้างความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ทำให้พยานรู้เห็นเหตุการณ์และต้องการให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอาจเกิดความเข้าใจผิดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และไม่ให้ความร่วมมือทำให้มีความยากลำบากในการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน การให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหาที่ 1 มิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเนื่องจากคดีนี้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้แจ้งข้อกล่าวหาและทำการสอบสวนผู้ต้องหาที่ 1 ต่อหน้าทนายความของผู้ต้องหาที่ 1 โดยในการสอบสวนพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ให้โอกาสผู้ต้องหาที่ 1 ที่จะแก้ข้อหา และแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ แต่ผู้ต้องหาที่ 1 กับพวกทั้งหมดไม่ให้การในข้อเท็จจริงใดๆทางคดี รวมทั้งการจะเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงถือเป็นการยุ่งเหยิงต่อพยานหลักฐานและเป็นอุปสรรคก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 ( 2 ) (5) ด้วยความจำเป็นดังกล่าว พนักงานสอบสวนคดีพิเศษจึงขอศาลได้โปรดพิจารณาวินิจฉัยเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวสำหรับนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษรผู้ต้องหาที่ 1 หรือขอศาลได้โปรดกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาที่ 1-4 ดังนี้ 1 ห้ามไม่ให้ผู้ต้องหาที่ 1 ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเกี่ยวกับคดีนี้และ / หรือให้ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแก่ประชาชนเกี่ยวกับคดีนี้อันส่งผลกระทบต่อการ สืบสวนสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 2 ห้ามไม่ให้ผู้ต้องหาที่ 1-4 เข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พนักงานสอบสวนพบวัตถุพยานอันสำคัญ และยังมีพยานบุคคลตลอดจนพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องในคดีจำนวนมาก การที่ผู้ต้องหาที่ 1-4 เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้พยานเกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และผู้ต้องหาที่ 1-4 อาจเข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษอยู่ระหว่างการรวบรวมเพิ่มเติม 3 ให้ผู้ต้องหาที่ 1 ถึง 4 ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด (กำไลอิเล็กทรอนิกส์ : EM ) ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ต้องหาที่ 1-4 เพื่อป้องกันการหลบหนีและป้องกันผู้ต้องหาที่ 1-4 ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ห้ามไม่ให้ผู้ต้องหาที่ 1-4 เข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ภาพจากอีจัน
ด้านทนายความ ของ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ได้ยื่น คำร้องต่อศาลคัดค้านการขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว 3 ข้อดังนี้ ข้อที่ 1 คดีนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ศาลได้โปรดเมตตามีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้ง 4 โดยมีหลักประกันต่อมาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาที่ 1 ที่ศาลได้มีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว ข้อที่ 2 ผู้ต้องหาที่ 1 ขอกราบเรียนต่อศาลว่าการที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษจะยื่นคำร้องขอออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 4 ในคดีนี้พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 ว่าการสูญหาย หรือการหายตัวไปของ บิลลี่ ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งในขณะที่ บิลลี่ เดินทางมายังด่านเขามะเร็ว ซึ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และยังแสดงข้อเท็จจริงว่าค้นพบวัตถุพยานซึ่งเป็นกะโหลกมนุษย์บางส่วน การกระทำของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษไม่เคยให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหาทั้ง 4 ในฐานะพนักงานสอบสวน แต่กลับชี้นำสังคมและสื่อมวลชนโดยการแถลงข่าวข้างต้น ว่าผู้ต้องหาที่กระทำความผิดหรือพาตัว บิลลี่ ไปด้วยการไม่ปล่อยตัว ทำให้เสียชีวิต เป็นกลุ่มที่ควบคุมตัวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเป็นกลุ่มที่อยู่กับ บิลลี่ เป็นคนสุดท้าย และพยายามชี้นำว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ทำการฆาตกรรมด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยม ด้วยการฆ่าหั่นศพแล้วใส่ถังน้ำมันเผาเพื่อทำลายศพ และนำไปวางไว้ที่สะพานแขวนในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งในขณะเกิดเหตุนั้นผู้ต้องหาที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน การที่ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนซึ่งมีบางส่วนที่พูดถึงวัตถุพยานและสถานที่เจอวัตถุพยานดังกล่าว ย่อมเป็นการ ใช้สิทธิโดยสุจริต เพราะพนักงานสอบสวนแถลงข่าวที่ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ต้องหาทั้ง 4 เป็นผู้กระทำผิดมาโดยตลอด และผู้ต้องหาทั้ง 4 ไม่เคยตอบโต้แต่อย่างใด จนเมื่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษออกหมายจับ ยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลาง ผู้ต้องหาที่ 1 จึงชี้แจงข้อเท็จจริงบางส่วนเกี่ยวกับวัตถุพยานดังกล่าวตามสมควร ซึ่งคำชี้แจงของผู้ต้องหาที่ 1 ก็ไม่ได้ทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษเกิดอุปสรรค เนื่องจากการสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษก่อนที่จะมีคำร้องขอให้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 4 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษย่อมจะต้องมีความมั่นใจและทราบข้อเท็จจริงในคดีครบถ้วนแล้วย่อมรู้ว่ามีพยานหลักฐานที่เป็นวัตถุพยาน พยานผู้เชียวชาญ และพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีมากพอสมควรแล้ว จึงยื่นร้องขอศาลออกหมายจับ ดังนั้นลำพังคำให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหาที่ 1 ย่อมไม่อาจมีผลกระทบหรือมีอิทธิพลหรือบังคับขู่เข็ญให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้หยุดหรือระงับดำเนินการสอบสวน นอกจากนี้คำให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหาที่ 1 ก็ไม่เคยกล่าวอ้างหรือพูดถึงพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีแม้แต่น้อย ข้อ 3 ผู้ต้องหาที่ 1 ขอกราบเรียนต่อศาลว่าในคำร้องฝากขังครั้งที่ 1 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาทั้ง 4 โดยได้นำข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับคดีที่ผู้ต้องหาที่ 1 ถูกดำเนินคดีในคดีฆาตกรรม นายทัศน์กมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตโดยกล่าวหาว่าผู้ต้องหาที่ 1 ได้เข้าไปพัวพันและเกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวซึ่ง ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษาไว้แล้วว่าผู้ต้องหาที่ 1 เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้กระทำความผิดในคดีดังกล่าว แต่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษกลับนำมากล่าวอ้างเพื่อคัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาที่ 1 นอกจากนี้ มึนอ ที่อ้างว่าเป็นภรรยาของ บิลลี่ เกรงว่าจะถูกข่มขู่จากผู้ต้องหาทั้งหมดนั้น ผู้ต้องหาที่ 1 ขอเรียนต่อศาลว่า มึนอ ไม่ได้เป็นพยานผู้เห็นเหตุการณ์ หรือทราบ หรือรับรู้ข้อเท็จจริงใดๆในขณะที่ บิลลี่ สูญหาย จึงไม่ใช่ประจักษ์พยานในคดีที่สำคัญ ในลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่เป็นธรรมกับผู้ต้องหาทั้ง 4 ข้อ 4 สำหรับประเด็นที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวอ้างในคำร้องว่าผู้ต้องหาทั้ง 4 ให้การปฏิเสธ ที่จะให้การในชั้นสอบสวนแต่ขอให้การในชั้นศาลเท่านั้น แต่ผู้ต้องหาทั้ง 4 กลับให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคดีบางส่วน ผู้ต้องหาที่ 1 ขอเรียนต่อศาลว่าตลอดเวลาตั้งแต่ปี 2557 หลังจากเกิดเหตุผู้ต้องหาทั้ง 4 ได้เคยให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนไว้หลายครั้งแล้วไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 7 จังหวัดเพชรบุรี และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งขณะที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สอบปากคำผู้ต้องหาทั้ง 4 ในคดีนี้ก็ได้นำคำให้การที่เคยให้ไว้มาประกอบสำนวนการสอบสวนในครั้งนี้ด้วย
ภาพจากอีจัน
ที่ผ่านมาผู้ต้องหาทั้ง 4 ถูกสอบปากคำโดยเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆอย่างเคร่งเครียดและใช้เวลาสอบปากคำนานเกินสมควรและผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาสอบปากคำจนทำให้ผู้ต้องหาทั้ง 4 เกิดความเหนื่อยล้าผู้ต้องหาทั้งสี่จึงเห็นว่าการให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษคงไม่เกิดประโยชน์ใดๆเพราะเคยให้การไว้หมดแล้วและในวันที่มามอบตัวและรับ ทราบข้อกล่าวหา ได้แจ้งแก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษพร้อมใบประสงค์จะไม่ให้การต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษอีกแล้วและขอให้การในชั้นศาลเท่านั้น เพราะว่าไม่เชื่อมั่นในความเป็นกลางและความเป็นธรรมของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเห็นได้จากพฤติกรรมต่างๆที่ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาข้างต้นเป็นลำดับแล้ว การให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหาที่ 1 นั้นย่อมมีสิทธิที่จะปกป้องเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างชอบทำ แต่หากการให้สัมภาษณ์บางถ้อยคำนั้นศาลเห็นว่าควรนำไปแสดงความคิดเห็นหรือต่อสู้ในการพิจารณาคดี ผู้ต้องหาที่ 1 ผู้ต้องหาที่ 2 ผู้ต้องหาที่ 3 และผู้ต้องหาที่ 4 ก็ขอน้อมรับและขอให้สัญญาต่อศาลว่า 1. จะไม่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนใดๆที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในคดีนี้อีกต่อไป และ/หรือ ให้ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจากประชาชนที่เกี่ยวกับคดีนี้ 2. ผู้ต้องหาทั้ง 4 จะไม่เข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและไม่กระทำการใด อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อพยานหลักฐาน 3. สำหรับประเด็นที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษขอให้ศาลกำหนดเงื่อนไขโดยการใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ต้องหาทั้ง 4 นั้น ผู้ต้องหาที่ 1 ขอประทานกราบเรียนต่อศาลว่าการใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ต้องหาทั้ง 4 เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล ผู้ต้องหาทั้ง 4 ไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนีเมื่อทราบว่า