ศาลยุติธรรม แถลงผลงานปี 62 พิจารณาแล้วเสร็จกว่า 1.6 ล้านคดี

ศาลยุติธรรม แถลงผลการดำเนินงานปี 2562 พิจารณาแล้วเสร็จกว่า 1,693,587 คดี

วันนี้ (19 มกราคม 2563) นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้แถลงผลการดำเนินงานของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมในภาพรวม ประจำปี พ.ศ. 2562 ระหว่าง
เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562 โดยเปิดเผยผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้

ภาพจากอีจัน
สถิติคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลทั่วราชอาณาจักรดังนี้

-ศาลชั้นตันทั่วประเทศ จำนวน 1,889,080 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 1,627,752 คดี
-ศาลชั้นอุทธรณ์ จำนวน 64,225 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 57,924 คดี
-ศาลฎีกา จำนวน 10,466 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 7,911 คดี

รวมทั้ง 3 ชั้นศาล มีคดีที่ศาลรับพิจารณาไว้ทั้งสิ้น 1,963,771 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 1,693,587 คดี
(คิดป็นร้อยละ 86) โดยแบ่งป็นประเภทคดีแพ่ง 1,305,658 คดี (คิดป็นร้อยละ 66) คดีอาญา 658,113 คดี (คิดเป็นร้อยละ 34)

สถิติจำนวนข้อหาที่ขึ้นสู่การพิจารณาสูงสุด 10 อันดับ ได้แก่
1. พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ 363,125 ข้อหา
2. สินเชื่อบุคคล 293,899 ข้อหา
3. พ.ร.บ. จราจรทางบก 213,888 ข้อหา
4. บัตรเครดิต 168,347 ข้อหา
5. กู้ยืม 138,420 ข้อหา
6. ขอจัดการมรดก 103,711 ข้อหา
7. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 92,472 ข้อหา
8. เช่าซื้อ (รถยนต์) 86,406 ข้อหา
9. ละเมิด 34,426 ข้อหา
10. พ.ร.บ. การพนัน 32,936 ข้อหา

สำหรับสถิติการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไล EM สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของ
บุคคลมาใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งสิ้น 8,129 เครื่อง

แยกตามฐานความผิดสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ จำนวน 2,332 คดี
2. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จำนวน 1,609 คดี
3. พระราชบัญญัติจราจรทางบก จำนวน 769 คดี
4. ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย จำนวน 675 คดี
5. พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ จำนวน 356 คดี

สถิติศาลที่มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไล EM สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่
1. ศาลอาญา จำนวน 609 เครื่อง
2. ศาลจังหวัดนนทบุรี จำนวน 269 เครื่อง
3. ศาลจังหวัดภูเก็ต จำนวน 259 เครื่อง
4. ศาลจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 211 เครื่อง
5. ศาลอาญากรุงเทพใต้ จำนวน 207 เครื่อง

การจัดตั้งศาลใหม่
ศาลเปิดทำการใหม่ ในปี 2562 ได้แก่
1. ศาลแขวงเชียงราย (เปิดทำการ 1 เมษายน 2562)
2. ศาลแขวงบางบอน (เปิดทำการ 1 เมษายน 2562)

ภาพจากอีจัน
ยกฐานะศาลจังหวัด 3 ศาล ได้แก่ ศาลจังหวัดมีนบุรี, ศาลจังหวัดพระโขนง และศาลจังหวัดตลิ่งชัน เป็นศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาพระโขนง และศาลอาญามีนบุรี (เปิดทำการ 1 สิงหาคม 2562) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคดีให้สอดคล้องกับปริมาณคดีในแต่ละประเภทที่ถูกฟ้องเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวจำนวนมาก ด้านกฎหมายได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้จัดทำกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การรับฟังความคิดเห็นทางกฎหมายตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ และการเสนอร่างกฎหมายที่สำคัญๆ รวมทั้งสิ้น 43 เรื่อง เช่น -พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก วันที่ 16 เมษายน 2562) -พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 136 ตอนที่ 49 ก วันที่ 14 เมษายน 2562) -พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 34) พ.ศ.2562 (หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว และการใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญา) (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 136 ตอนที่ 34 ก วันที่ 20 มีนาคม 2562) -พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 33) พ.ศ. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 136 ตอนที่ 20 ก วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562) -ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการเปิดทำการศาลและพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในวันหยุดราชการ พศ. 2562 (ประกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563) -ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ…. (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการไกลเกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี) (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ ที่สำนักงานคณะกรรมกานกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ต่อมามีการประขุมรัฐสภาในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 โดยที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงต่อที่ประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) -ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ……. (อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการรับฟังและวิเคราะห์ผลกระทบช่วงเดือนมกราคม 2563) เป็นต้น
ภาพจากอีจัน
ในด้านการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมการพิจารณาพิพากษาคดี (D-Cour) ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดและขยายผลระบบให้บริการข้อมูลและอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมและผลักดันให้ศาลยุติธรรมทั่วประเทศนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการคดี และสนับสนุนการพิจารณาพากษาคดีและการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีระบบงานที่ทันสมัย ลดการใช้กระดาษและลดภาระในการจัดเอกสาร พัฒนาระบบสารสนเทศลผุติธรม บูรณาการความร่วมมือ รวมถึงขยายกรรเชื่อมโยงข้อมูลด้านต่าง ๆ กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรมและหน่วยงานที่กี่ยวข้อง ได้แก่

กรมบังคับคดี (ข้อมูลหมายบังคับคดี) กรมคุมประพฤติ (ข้อมูลผลการสืบเสาะและพินิจอำนาจ) กรมราชทัณฑ์ (ระบบข้อมูลผู้ต้องขัง) สำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ข้อมูลสารบบคดีกับระบบ NSW ของสำนักงานอัยการสูงสุด และระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ข้อมูลคำสั่งห้ามออกนอกราชอาณาจักร) สำนักงานตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิศษ ป.ป.ช. และ ป.ป.ก (ข้อมูลหมายจับระบบ AWIS)

ซึ่งจะส่งผลให้การอำนวยความยุติธรมมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี