ศาลยุติธรรมร่วมมือกับภาคี บันทึกข้อตกลง ให้คำปรึกษาผู้ต้องหายาเสพติด .

สํานักงานศาลยุติธรรมร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทำบันทึกข้อตกลง ดําเนินงานให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม แก่ผู้ต้องหาคดียาเสพติด

วันนี้ (30 ม.ค. 63) สํานักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับ ปลัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามยาเสพติด ร่วมลงนามร่วมมือเพื่อดําเนินงานให้คําปรึกษา ด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาและจําเลยคดียาเสพติดในระบบศาล เพื่อลดการกระทําผิดซํ้า บําบัด และฟื้นฟู คืนคนดีกลับสู่สังคม ที่ห้องประชุมใหญ่ชั้น 12 อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม นายดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนได้สร้างเสริมสุขภาพ นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการป้องกันปราบปรามยาเสพติด ร่วมลงนามโดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติเป็นพยาน

ภาพจากอีจัน

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสํานักงานยุติธรรม เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลกําหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งยึดหลักนิติธรรมในการปราบปราม ลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า และยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วย ให้ได้รับการบําบัดให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม เข้าใจถึงความสําคัญเรื่องดังกล่าว จึงนําคลินิกให้คําปรึกษาด้านจิตสังคมมาใช้ในศาลยุติธรรม เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู บําบัด ผู้ต้องหาหรือจําเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนหรือชั้นการพิจารณา ของศาล ให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรม ความประพฤติสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ และไม่กลับไปทําความผิดซ้ำ ซึ่งเริ่มใช้ในศาลอาญาธนบุรีเป็นศาลแรก เมื่อปี 2552 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

หลังจากวุฒิสภาไปชมคลินิกให้คําปรึกษาด้านจิตสังคมในศาลอาญาธนบุรี มีความต้องการให้ ขยายไปยังศาลต่างๆ จึงเป็นการเริ่มให้รัฐบาลสํานักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ให้เงินสนับสนุนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ภาพจากอีจัน

โดยสํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสํานักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามยาเสพติด ได้พัฒนาความร่วมมือในการทํางานของทุกภาคส่วน ลดระดับปัญหายาเสพติด ร่วมพัฒนาระบบให้คําปรึกษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาคดียาเสพติด และคดีความรุนแรงในครอบครัวในระบบศาล เพื่อดําเนินงานคลินิกให้คําปรึกษาด้านจิตสังคม แก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยในคดียาเสพติด ลดโอกาสเสี่ยงสําหรับผู้กระทําผิดไม่ร้ายแรงที่อาจจะแปรสภาพเป็นอาชญากรลดการกระทําผิดซ้ำ และฟื้นฟูสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจให้ ผู้ติดยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ภาพจากอีจัน

นอกจากนี้ ความรับผิดชอบของศาลเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ต้องหา หรือจําเลยที่เข้าร่วมให้อยู่ในกระบวนการให้คําปรึกษาต่อเนื่อง โดยการให้คําปรึกษาด้านจิตสังคม ซึ่งเป็นผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือคดีที่ไม่ร้ายแรง และคดีอื่นตามที่อธิบดี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เห็นสมควร

ภาพจากอีจัน

ทั้งนี้ เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สํานักงานศาลยุติธรรม จะเป็นศูนย์กลางในการดําเนินงานคลินิกให้คําปรึกษาด้านจิตสังคมไปยังศาลที่มีอํานาจในการพิจารณาคดีอาญา ปรับปรุงพัฒนาข้อกฎหมายเพื่อให้ศาลมีอํานาจในการบริการคลินิกให้คําปรึกษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยคดียาเสพติดในระบบศาล ให้คําแนะนํา ส่งเสริม และสนับสนุนการดําเนินงาน พัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ และความรู้แก่ศาล ที่ประสงค์จะดําเนินงานให้คําปรึกษาด้านจิตสังคม รวมทั้ง พัฒนข้อมูลเพื่อใช้ประเมินผลการทำงาน โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อตรวจสอบผลการทําผิดซ้ำ เป็นหน่วยงานหลักในการประชาสัมพันธ์การดําเนินงานคลินิกให้คําปรึกษาด้านจิตสังคม สู่สาธารณชน

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

โดยสํานักงานยุติธรรมมีเป้าหมายในดําเนินงานคลินิกให้คําปรึกษา ด้านจิตสังคมให้ครอบคลุมการทํางานทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดําเนินงานภายใน 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2565) โดยให้คําปรึกษาแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยในช่วงวิกฤติของชีวิต ซึ่งส่งผลต่อ การแก้ไขปัญหาการกระทําผิดซ้ำให้มีประสิทธิภาพ