“สุรินทร์” ประกาศเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเป็นจังหวัดแรก ยกเทียบเท่าน้ำท่วม-แผ่นดินไหว 

จังหวัดแรกประกาศแล้ว! ผู้ว่าฯสุรินทร์ ประกาศเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ยกเทียบเท่าน้ำท่วม-แผ่นดินไหว เพื่อดูแลประชาชนได้รับผลกระทบชายแดนไทย-กัมพูชา อย่างใกล้ชิด

“สุรินทร์” ประกาศเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เป็นจังหวัดแรก  

25 ก.ค.68 นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศด่วนที่สุดถึงนายอำเภอ ทุกอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์  ด้วยสถานการณ์ชายแดนไทย – กัมพูชา มีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการปะทะตลอดแนวชายแดนอำเภอบัวเชด สังขะ กาบเชิง และพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ด้วยอาวุธหลายชนิด รวมถึงการโจมตีสถานที่สำคัญ เช่น สถานบริการสาธารณสุข สถานีบริการน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ และพื้นที่ชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนกรณีเกิดสาธารณภัยหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย หรือกรณีฉุกเฉิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ จึงขอซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ดังนี้ 

1. ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามหน้าที่และอำนาจให้ความสำคัญสูงสุดกับการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตามพื้นพื้นที่ชายแดนดังกล่าว 

2. กรณีเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองกำลังฝ่ายไทยและกองกำลังฝ่ายกัมพูชาบริเวณพื้นพื้นที่ชายแดน ที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐถือเป็นสาธารณภัย ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 4 และตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ข้อ 5 



โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถใช้จ่ายเงินงบประมาณตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ข้อ 7 ข้อ 19 (1) และข้อ 21 ประกอบกับหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 

ทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ มีหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตน โดยมีผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการจังหวัดและผู้อำนวยการอำเภอตามที่ได้รับมอบหมาย 

3. กรณีฉุกเฉินที่มีเหตุสาธารณภัยเกิดขึ้น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย ตามข้อ 18 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563  และหากงบกลางมีไม่เพียงพอให้ดำเนินการ 

‘อีจัน’ ขอเป็นกำลังใจให้ทหารไทยและพี่น้องชายแดนทุกคนค่ะ