อ.เจษฎ์ แจงชัด! “เนื้อหมูสะท้อนแสง” เกิดจากอะไร กินได้มั้ย?

อ.เจษฎ์ ตอบชัด! “เนื้อหมูสะท้อนแสง” เกิดจากอะไร กินได้มั้ย? หลังชาวเน็ตถกสนั่น หวั่นเป็นอันตราย

ใครเคยเจอเนื้อที่สะท้อนแสงได้บ้างคะ ลูกเพจเลือกที่จะปรุงอาหารต่อหรือโยนทิ้ง เป็นอีกเรื่องราวที่สังคมกำลังให้ความสนใจเลยค่ะ หลังจากมีคนพบว่าเนื้อหมูที่ซื้อมานั้นสะท้อนแสงได้ จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า กินได้มั้ย เนื้อหมูหมดอายุหรือเปล่า ‘อีจัน’ อีจันมีคำตอบค่ะ 

หลังจากวันนี้ (6 ม.ค.67) มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ถามในกลุ่ม พวกเราคือผู้บริโภค ระบุว่า “ขอโทษนะคะ พอดีเพิ่งซื้อเบค่อนมาแล้ว เห็นว่าเนื้อมันเรื่องแสง แบบนี้ถือว่าปกติของเบค่อนไหมคะ หรือว่าเสียแล้ว เพราะว่าหมดอายุวันที่ 27 ม.ค.66 ขอบคุณที่ตอบนะคะ”  

‘อีจัน’ จึงได้สอบถามไปยัง รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้คำตอบว่า จากในรูปดูเหมือนว่าเป็นการสะท้อนของแสง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เกิดจากการที่แสงไปกระทบบนเนื้อ แล้วแยกสเปกตรัมออกเป็นสีๆ กระบวนการนี้เรียกว่า การเลี้ยวเบน (diffraction) ของแสง 

จากการที่เนื้อนั้นประกอบด้วยเส้นใยของกล้ามเนื้อที่อัดกันแน่นในแนวขนานกัน เมื่อเราหั่นเนื้อ ปลายของเส้นใยที่ถูกตัดจากไม่เรียบสนิทแต่จะเป็นร่องๆ เมื่อแสงขาวตกกระทบร่องดังกล่าว แสงบางความยาวคลื่นก็จะถูกดูดกลืนลงไปในเนื้อ ขณะที่แสงส่วนอื่นสะท้อนออกมา นอกจากนี้ ยังมีอีกหลาย ตั้งแต่ทิศทางในการหั่นตัดเนื้อ ความคมของมีดที่ใช้ การหมักเนื้อ การบ่มเนื้อ ปริมาณของไขมัน 

ซึ่งเนื้อหมูจากในโพสต์ดังกล่าว สามารถนำมาปรุงอาหารกินได้ปกติค่ะ ส่วนเนื้อที่ต้องระวังคือ เห็นสีรุ้งๆ บนเนื้อดิบ เพราะอาจจะเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ได้ ซึ่งเวลามันโตบนผิวหน้าของเนื้อจะเกิดเป็นฟิล์มบางขึ้น และทำให้สะท้อนแสงเป็นสีต่างๆ  เช่นกัน วิธีทดสอบคือลองกระดาษทิชชู่มาห่อเนื้อไว้ ถ้าเวลาผ่านไปแล้วสีรุ้งหายไป เนื้อนั้นน่าจะมีเชื้อปนเปื้อน ให้ทิ้งทันทีค่ะอย่าเสียดาย 

เวลาซื้อเนื้อมา ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ อย่าลืมเช็กให้ดีนะคะ