แฉ ผอ. ไล่บี้ ครูข้ามเพศ เป็นได้แค่ขยะที่มีชีวิต?

ส่งใบตักเตือน บังคับเซ็น MOU เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม ขึ้นเงินเดือน ให้ 1% เป็นเงิน 180 บาท ยังมีให้เห็น!

เรื่องราวสุดสะเทือนใจ ครูผู้ให้วิชาความรู้แก่เยาวชน กลับถูกจำกัดเรื่องเพศสภาพ กลายเป็นขยะที่มีชีวิต เรื่องราวนี้ถูกเผยแพร่โดยนักเครื่อนไหว สิทธิความเป็นคน ของชาวข้ามเพศ เป็นเรื่องที่น่าเศร้า ที่วันนี้ ยังคงมีเรื่องแบบนี้ให้เห็น ความเจ็บปวด ปนน้ำตา ความกดดัน ส่งใบตักเตือน ขึ้นเงินเดือน 1 % การประเมินครูผู้ช่วย ผลต่ำกว่าเกณท์ วันนี้เธอจะลุกขึ้นสู้ เพื่อสิทธิของเธอ

ภาพจากอีจัน
เรื่องราวถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้เฟสบุ๊ก Nada Chaiyajit เผยแพร่เรื่องราวสะเทือนใจนี้ว่า #ผู้อำนวยการโรงเรียนไล่บี้เพราะยี้ครูข้ามเพศ #ส่งใบตักเตือน #ขึ้นเงินเดือนแค่1เปอร์เซ็นต์ #บังคับเซ็นMOU #ประเมินครูไม่ให้ผ่าน #ดินแดนแสนล้านการเลือกปฏิบัติ #ขอความยุติธรรมให้น้องด้วย
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
เหตุเกิด ณ จังหวัดแห่งหนี่งในภาคอีสาน จังหวัดที่มีสนามฟุตบอลและสนามแข่งรถที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย! จังหวัดที่ความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมน่าจะส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเคารพความแตกต่างหลากหลายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ใครจะคิดว่า…มันจะเกิดเหตุการณ์ที่น่ารังเกียจเช่นนี้เกิดขึ้น
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
เมื่อการแต่งกายตามเพศสภาพในฐานะข้าราชการครู คือ ต้นเหตุที่ทำให้ครูข้ามเพศคนหนึ่ง ต้องตกอยู่ในสถานะที่อาจพ้นจากการเป็นข้าราชการ เพราะผลการประเมินที่มีคะแนนในระดับที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินนั้นเพียงเพราะเธอยืนยันสิทธิในการแต่งชุดข้าราชการหญิงในฐานะบุคคลข้ามเพศที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 #ขยะที่ไม่มีชีวิตยังเก็บยังเผาได้แล้วขยะที่มีชีวิตหละ แชทข้อความจากแอพลิเคชั่นไลน์ คือหนึ่งในหลักฐานชิ้นแรก ๆ ที่นาดาได้รับมาพร้อมกับเสียงสั่นครือและคราบน้ำตาของ ครูบอล คุณอุกฤษฏ์ จัดสนาม ครูสาวข้ามเพศที่ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ซึ่งเป็นตำแหน่งวิทยฐานะแรกของอาชีพข้าราชการครู จากการลงมือเก็บข้อมูลอย่างจริงจังนับตั้งแต่เริ่มมีเค้าลางว่าเธออาจจะถูกเลือกปฏิบัติอย่างรุนแรงที่จะส่งผลกระทบต่ออาชีพครูที่เธอรัก นาดาพบว่าระดับการเลือกปฏิบัติค่อยๆเพิ่มความรุนแรงจนถึงขั้นกระทบต่อสวัสดิภาพและความก้าวหน้าในหน้าที่ #หนังสือตักเตือน คือมาตรการขั้นแรกเพื่อตอบสนองความเกลียดชังของผู้บริหาร ด้วยการสร้างหลักฐานะเท็จถึงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งวันเวลาสถานที่ที่กล่าวอ้างนั้น สามารถตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้ว่าเธอนั้นไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่ถูกหยิบยกมาเป็นข้ออ้างในการตักเตือน เพื่อจะเปิดท้ายด้วย “แต่งกาย ไว้ทรงผม ไม่เหมาะสมกับเพศสภาพ ที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีกับนักเรียน”
ภาพจากอีจัน


#การประเมินครูผู้ช่วย คือมาตรการขั้นที่สอง ผลคะแนนของเธอนั้นถูกกดจนต่ำชนิดที่เรียกว่า เธอคงไม่ได้ผุดได้เกิด อีกต่อไป เพราะถ้าการประเมินผลครูผู้ช่วยไม่ผ่าน เธออาจต้องพ้นจากการเป็นข้าราชการภายในระยะเวลา 5 วัน ในระหว่างเข้ารับการประเมินมีการยกเหตุผลต่าง ๆ มากมายเพื่อจะบอกว่า เธอ คือบุคคลที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครู และทุกครั้งเหตุผลลงท้ายคือ “เพศสภาพอย่างเธอไม่มีใครยอมรับ”
ในวันที่เธอต้องเข้าไปรับทราบผลคะแนนที่ผ่านการประเมินด้วยอคติต่ออัตลักษณ์และเพศสภาพแล้ว เธอยังต้องเผชิญหน้ากับถ้อยคำที่แสดงออกถึงการเหยียดเพศจากบุคคลที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บังคับบัญชา
“ถ้าไปงานภายนอกไม่ต้องเอาไปเพราะ ผอ. ไม่รู้จะอธิบายสังคมว่ายังไง?”
“ทำไมคะ?”
“ก็รูปร่างหน้าตาแบบนี้ใครเขาจะมอง”

ดูเหมือนว่าผู้ละเมิดอาจยังหลงระเริงกับอำนาจบังคับบัญชาที่ตนมี จึงได้ออก #มาตราขั้นที่สาม กดดันให้ครูบอลต้องเซ็น MoU เพื่อปรับปรุงพฤติกรรม ซึ่งเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวอ้างมานั้นยังจบปิดท้ายด้วย “ข้อ 1.9 ให้ไว้ผมและแต่งกาย เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการครู ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการไว้ผมและการแต่งกายของข้าราชการลูกจ้างและผู้ที่ทำทำงานในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2516 และพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา…” โดยมีการอ้างหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๖/๑๗๓๔ เรื่องขอหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งกายของข้าราชการครู #หากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ให้ผู้บังคับบัญชาถือว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง #ให้ลงโทษทางวินัยตามควรแก่กรณี

#มาตรการใช้ความรุนแรงเชิงโครงสร้างลำดับสุดท้าย คือ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูฯ บุคคากรครูในสังกัดทั้งหมด 28 คน เธอคือคนเดียวที่ได้รับเงินเดือนขึ้นเพียง 1% เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 180 บาท

#การแสดงออกถึงความเกลียดชังต่อคนข้ามเพศนั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่มันมีสารตั้งต้นที่เกิดจากอคติ การตีตรา และเมื่อมันมีปริมาณสูงขึ้นจนถึงระดับที่บุคคลที่หัวใจเต็มไปด้วยความเกลียดชังต่อคนข้ามเพศจะรับไหว มักจะสำรอกออกมาผ่านการกระทำที่เรียกว่า “การเลือกปฏิบัติ กีดกัน และ ความรุนแรง” โดยที่เครื่องมือสำคัญที่ทำให้บุคคลเหล่านี้กระทำโดยปราศจากสำนึกคือ การใช้อำนาจบริหารในฐานะผู้บังคับบัญชาบวกกับการอ้างกฎ ระเบียบ เพื่อลงโทษทางวินัยตั้งแต่ระดับการออกหนังสือตักเตือน ไปจนถึงการประเมินว่ามีความประพฤติบกพร่อง ผิดวินัย บีบบังคับทุกวิถีทาง ถ้าไม่ลาออกไปเอง ก็จะถูกบีบบังคับทุกวิถีทางจนอยู่ไม่ได้และต้องลาออกจากหน้าที่การงานไปในที่สุด

เรายังจะยอมให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ที่พร้อมต่อยอดความรู้ ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อไปกระนั้นหรือ หรือเธอมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ต่ำกว่าบุคคลทั่วไป เธอถึงถูกทีมผู้บริหารของโรงเรียนใช้วาจากับเธอว่า “ขยะที่ไม่มีชีวิตยังเก็บยังเผาได้ แล้วขยะที่มีชีวิตหละ…”

ป.ล. รูปภาพและชื่อของครูบอล ได้รับอนุญาตให้นาดาลงด้วยความยินยอมเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ เพราะเธอพร้อมที่จะลุกขึ้นสู้เพื่อความยุติธรรมของเธอ

โดยผู้ใช้เฟสบุ๊ก Nada Chaiyajit อธิบายเรื่องราว การรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิเพื่อตนเอง และกลุ่มชาวข้ามเพศ อย่างจริงจัง โดยระบุว่า

พรุ่งนี้แล้วที่ชุมชนข้ามเพศชุมชนหนึ่งที่นำโดย คุณแอน สตรีข้ามเพศพันล้าน และ คุณนก ยลลดา Nok Yollada ผู้สร้างตำนาน “สตรีข้ามเพศ”ให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทย จะเปิดตัวโครงการรณรงค์เพื่อให้มีกฎหมายรับรองสิทธิของบุคคลที่ผ่านกระบวนการผ่าตัดแปลงเพศ ในขณะเดียวกันเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานประเด็นสิทธิของคนข้ามเพศ เช่น มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย Thai Transgender Alliance-ThaiTGA ก็ผลักดันโครงการรณรงค์กฎหมาย “ร่าง พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพศในข้อมูลทะเบียนราษฎร” อย่างเข้มข้น และ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย Rainbow Sky Association of Thailandนำทัพโดยนายกสมาคมฟ้าสีรุ้งฯ คุณกิตตินันท์ ธรมธัช แดนนี่ เดอะบีช (Kittinun Daramadhaj) ผู้สร้างปรากฎการณ์ปฏิวัติหลักสูตรการสอนเพศศึกษาในแบบเรียนวิชาสุขศึกษาของประเทศไทย ที่กำลังผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.รับรองเพศศภาพ พ.ศ… สร้างกระแสให้เกิดการถกเถียงในสังคมวงกว้างตลอดระยะเวลาสามสี่วันที่ผ่านมา

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งบวกและลบ ทั้งต่อต้านและสนับสนุน ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในบุคคลที่ทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ขอใช้โอกาสนี้แบ่งปันเรื่องราวที่จะนำไปสู่การร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และที่สำคัญ เราจะได้ใช้กลไกลการตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่านผู้แทนฯ ส.ส. ผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นครั้งแรก!