แค่เหงื่อออกมือ อาจเสี่ยงต่อโรคร้าย

ภาวะเหงื่อออกมือ อย่ามองข้าม เพราะอาจเสี่ยงต่อโรคร้าย

ไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อ แค่เหงื่อออกมือก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้
นพ.วารินทร์ วชิรปัญญานุกูล เปิดเผย ในรายการสายตรงสุขภาพ เกี่ยวกับภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ว่า
ร่างกายถึงมีเหงื่อ เมื่อมีกิจวัตรประจำวัน โดยจะเกิดกระบวนการเมตาโบลิซึม ผลคือจะเกิดความร้อนในร่างกาย การหลั่งเหงื่อจะช่วยทำให้ความร้อนในเซลล์ระดับร่างกายถูกถ่ายเทออกไป เป็นการควบคุมความร้อนในร่างกายอยู่ในระดับเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


วิธีสังเกตเหงื่อออกมากผิดปกติ คือ ร่างกายจะขับเหงื่อเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมในร่างกาย เหงื่อออกปกติจะไม่ได้ออกมาท่วมตัว ยกเว้นแต่กรณีที่มีการผลิตความร้อนในร่างกายมากๆ เช่น การออกกำลังกายความร้อนในร่างกายมากกว่ากิจวัตรประจำวันที่ใช้ทั่วไป เหงื่อจะออกเยอะมาก เพื่อให้ความร้อนในร่างกายควบคุมได้
อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ภาวะที่เหงื่อออกมาเหมือนออกกำลังกายเยอะๆ ในขณะที่เราอยู่ในกิจวัตรประจำวันที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายแต่มากกว่าปกติ

ภาพจากอีจัน


คนไข้แบ่งเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มปฐมภูมิ พวกที่ไม่ได้มีโรคภัยไข้เจ็บแต่ว่ามีเหงื่อมากกว่าปกติ เหงื่อจะออกเฉพาะจุด เช่น ที่มือ รักแร้ ศีรษะ ใบหน้า ออกหยดติ๋งๆ ไม่เป็นเวลา ที่เท้าก็เป็นได้ คนไข้ส่วนใหญ่จะมีเหงื่อทั้งมือและเท้า ไม่ได้มีสาเหตุชัดเจนจากโรคภัยไข้เจ็บหรือยาที่กิน เกิดในคนที่มีอายุน้อย อายุต่ำกว่า 25 หรือเป็นตั้งแต่เด็ก
กลุ่มนี้พอเป็นจะหายไปเองหรือไม่หรือจะอยู่ติดตัวไปตลอด
กลุ่มทุติยภูมิเหงื่อจะออกทั่วตัว ไม่เหมือนกลุ่มแรกที่จะออกแค่มือเท้ารักแร้ และจะเป็นสองข้าง กลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ จะมีเมตาโบลิซึมที่สูง ทำให้ความร้อนในร่างกายมีมาก มีโอกาสหลั่งเหงื่อออกมามาก หรือโรคอ้วน ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน โรคบางโรคเช่น เบาหวาน มีรายงานว่ามีเหงื่อเพิ่มขึ้นได้ วัณโรคปอด มะเร็งจากต่อมน้ำเหลือง เหงื่อจะออกทั่วตัว และตอนนอนเหงื่อจะออกได้โดยที่ไม่รู้ตัว กลุ่มแรกในช่วงนอนมักจะไม่เกิด

ภาพจากอีจัน


ภาวะนี้ เกิดจากพันธุกรรมได้ เพราะ จากรายงานประมาณ 30-40% จากการศึกษาคนไข้ 130-150 ราย คุณพ่อหรือคุณแม่เป็น 40%
หากรู้สึกว่าเหงื่อออกเยอะกว่าปกติ ถ้าเป็นคนไข้กลุ่มปฐมภูมิ เหงื่อจะออกตามมือ เท้า รักแร้ และจะออกสองข้าง ขณะที่อีกกลุ่ม เหงื่อจะออกทั่วตัว เป็นคนขี้ร้อนเหงื่อออกง่าย ตอนนอนเหงื่อออกได้ คนไข้ที่ออกมาก้ำกึ่งระหว่างทั้งสองกลุ่ม แพทย์จะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุด้วยหลายๆ วิธี ตามแต่ฐานของโรคที่คุยกับคนไข้แล้วคิดว่าเป็นอะไร จะต้องหาว่าเป็นกลุ่มปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามาหาจะตรวจเช่นไทรอยด์เป็นยังไง ไทรอยด์โต ลักษณะออกทั่วตัว จะต้องเจาะเลือดดูว่าเป็นไทรอยด์เป็นพิษไหม หรือผู้หญิงที่น้ำหนักเยอะมากๆ มีความรู้สึกว่าเหงื่อออกเยอะ แต่เป็นในวัยที่อายุมากแล้ว ก็จะต้องส่งไปให้หมอตรวจเรื่องต่อมไร้ท่อ เพื่อจะดูเรื่องน้ำหนัก

โรคนี้ มีชื่อว่า Hyperhidrosis ภาษาไทย จะแปลตามภาษาอังกฤษ คือ ภาวะมีเหงื่อมากผิดปกติ กลุ่มปฐมภูมิ เรียกว่า Primary และกลุ่มทุติยภูมิ เรียกว่า Secondary


วิธีการรักษา


กลุ่มทุติยภูมิ วิธีการรักษา คือ หาสาเหตุ การรักษาตามสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ การรักษาคือรักษาไทรอยด์ คนไข้ที่อ้วนผิดปกติ เหงื่อออกเยอะ รักษาเรื่องน้ำหนัก ผู้หญิงที่อยู่ในวัยทองก็รักษาตามเกณฑ์ของวัยทอง
กลุ่มปฐมภูมิ คือกลุ่มที่ออกมือ เท้า และรักแร้ เป็นตั้งแต่วัยเด็ก และไม่มีสาเหตุ หลักการรักษาแบ่งเป็นใหญ่ๆ 2 วิธี กลุ่มที่ไม่ได้รักษาด้วยการผ่าตัด และ กลุ่มที่รักษาด้วยการผ่าตัด
กลุ่มที่ไม่ได้รักษาด้วยการผ่าตัด มีได้ตั้งแต่ การใช้ยาทาที่วงแขน ยาที่ทารักแร้ ระงับเหงื่อ ทั้งหลาย ส่วนที่มือก็ใช้ อลูมิเนียมคลอไรด์ นอกจากยาชนิดนี้ก็มีสารบางตัว เช่น โบท็อกซ์ ที่ใช้ฉีด ที่บริเวณวงแขนที่เหงื่อออกเยอะ ยากินก็มีส่วนอยู่บ้าง แต่อาจจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่ เนื่องจากมีผลต่อสภาพร่างกายทั่วตัว ทำให้ปากแห้ง ตาแห้ง ตาพร่าได้ ยากินเป็นเหมือนการลดเหงื่อทั้งตัว ซึ่งมีผลข้างเคียงค่อนข้างเยอะ ถ้าใช้โบท็อกซ์จะอยู่ได้ 4-6 เดือน แต่มีราคาแพงมาก ถ้าฉีดตามตัวต่างๆ จะจุดละ 2 หมื่น ซึ่งราคาเท่าๆ กันกับผ่าตัด จะอยู่ได้ระยะหนึ่ง ต้องไปเติมบ่อยๆ และค่าใช้จ่ายสูง

ภาพจากอีจัน


ส่วนโรลออนบางคนบอกเอาไม่อยู่ มีชนิดพิเศษหรือไม่ กลุ่มที่ใช้อยู่คือ อลูมิเนียมคลอไรด์ ใน เปอร์เซ็นต์ที่ต่างกันไปแล้วแต่คนไข้ ความรุนแรง ถามว่าใช้ได้ผลไหม ในคนที่เป็นไม่เยอะก็จะได้ผล ในการรักษาทั้งหมดที่พูดเป็นการรักษาแบบชั่วคราว หมายความว่า ทำแล้วจะดีขึ้น อย่างเช่น อลูมิเนียมคลอไรด์ ทาที่มือก่อนนอน บางทีก็อยู่ได้สักวันสองวันหรือสามวัน แล้วก็ต้องมาทาใหม่ ปัญหาคือไม่หายขาด และค่าใช้จ่าย โบท็อกซ์ก็เป็นอีกตัวหนึ่ง ไม่ได้ฉีดได้ทั่วร่างกาย จริงๆ แล้วที่ใช้เยอะคือ แถวที่ออกเยอะตามรักแร้ ก็จะเหมาะกับใช้โบท็อกซ์ ถ้าเป็นหน้า เป็นมือก็ไม่เหมาะ ลองคิดดูว่าต้องฉีดพื้นที่ ทั้งหมดของผิวหนัง เพื่อให้ไประงับที่ต่อมเหงื่อ มันเจ็บมาก และใช้เวลาเยอะ อยู่ได้ 4-6 เดือน ข้อดีคือ เป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด ข้อด้อยคือการไม่หายขาด ไปจนถึงการผ่าตัด

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


ซึ่งผลการรักษา ถ้าเป็นมือ 95-97% รักแร้ประมาณ 85-90% ที่ใบหน้าก็ประมาณ 85-90% ถามว่าแห้งขนาดไหน คนไข้ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ก็มือจะแห้งอย่างน้อยระดับ 90% ขึ้นไป สมัยก่อนการผ่าตัดอยู่ในตำแหน่งที่เราจี้ปมประสาท สมัยแรกๆ เราจี้ปมประสาทระดับตำแหน่งที่ 2 ของช่องอกเป็นตำแหน่งเริ่มต้นที่ทำแบบนี้ ผลดีคือทำให้มือแห้งมาก แต่มีผลข้างเคียงซึ่งคือเหงื่อชดเชย ซึ่งจะพูดต่ออีกที พอเป็นแบบนี้ทุกวันนี้การผ่าตัดหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะทำให้มือแฉะน้อยลง เยอะๆ

ภาพจากอีจัน


ขณะเดียวกันก็ไม่มีเหงื่อชดเชยเยอะ ทุกวันนี้การทำผ่าตัดจะทำที่ปมประสาทที่ 4 ในช่องอก ซึ่งต่ำกว่าแต่เดิม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ 2 ผลที่ได้พบว่า มือไม่ได้แห้งผากทีเดียว อาจจะแห้งไปสัก 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ผลที่ได้คือ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้หมดทุกอย่าง และก็ขณะเดียวกันเหงื่อออกชดเชยที่ตัวจะน้อยลง คือหลายคนที่ทำในระดับที่ 2 หลายคนบ่นว่าแห้งไป เช่น พนักงานแบงค์ นับแบงค์ไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะใช้โลชั่นช่วยได้

อย่าลืมคอยสังเกตตัวเองกันนะคะ