อยู่เฉยๆ ก็ช้ำ จ้ำเลือด บวกกับอาการแทรกซ้อนต้องพบแพทย์!

รอยช้ำ ห้อเลือด จ้ำเลือด คืออะไร? เคยสงสัยมั้ย อยู่ดีๆ ก็เป็นจ้ำๆเลย

ความซุ่มซ่านเป็นชนวนแรก ในการเกิดรอยช้ำ จ้ำๆ แต่อันนี้มีเหตุให้ต้องเป็น แต่หลายคง คง งงๆ แล้วถ้าอยู่เฉยๆ แล้วเป็นละ เกิดอะไรขึ้น ผิดปกติมั้ย
จันเองเคยเห็นอยู่บ่อยๆ พี่ที่ออฟฟิศเป็น เดินๆ ดุมๆ ชนนิดหน่อย เอ้าเขียวช้ำซะงั้น

ภาพจากอีจัน


ทางเพจ สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย ให้ข้อมูลไว้ว่า เกิดจาก เส้นเลือดฝอยไม่แข็งแรง โรคเกล็ดเลือดต่ำไปจนลูคีเมีย แต่ทางการแพทย์เราเรียกเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือ ecchymosis ซึ่งเป็นศัพท์ทางแพทย์ที่แปลว่าเลือดออกใต้ผิวหนังจะมีสาเหตุเยอะมาก
เอาเป็นว่า เราย่อๆ แล้วกันนะ และอาการไหนถึงควรรีบพบแพทย์…

ภาพจากอีจัน


แผลจ้ำเลือดเกิดขึ้นจาก เวลาเรามีบาดแผล หรือ มีรอยจ้ำเลือดนั้น เกี่ยวพันถึงกลไกการหยุดเลือด คือ เมื่อเกิดบาดแผลภายนอก โดนมีดบาดแล้วเลือดไหล เลือดก็จะหยุดได้เอง (ถ้าไม่ถูกเส้นเลือดขนาดใหญ่)
การที่เลือดหยุดเองนั้น เกิดจากส่วนประกอบใหญ่ 3 อย่างคือ
1. ในผิวหนังของเรามีหลอดเลือดและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนังนี้จะช่วยปกป้องจากการกระทบกระแทก เมื่อมีการฉีกขาดเกิดขึ้นกับหลอดเลือด มันจะหดตัวเล็กลงทำให้เลือดหยุด
2. เกร็ดเลือดเป็นเม็ดเลือดขนาดเล็กๆ ทำหน้าที่ปล่อยสารทำให้เลือดแข็งตัวได้
3. มีโปรตีนที่อยู่ในเลือดส่วนที่เป็นน้ำเหลืองทำหน้าที่ให้เลือดหยุดได้


แล้วรอยจ้ำเขียวจากการโดนกระแทกคือ บางครั้งเราซุ่มซ่ามไปโดนอุบัติเหตุโดนโต๊ะกระแทก เก้าอี้โดยเราไม่ค่อยรู้ตัว บางครั้งอาจจะแรงบ้าง ทำให้มีจ้ำเขียวเกิดขึ้นตามบริเวณนี้ได้ โดยเฉพาะผู้หญิงมีระยะที่มีประจำเดือน อาจจะมีจ้ำเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพวกนี้เกิดระยะเดียวแล้วก็หายไป

หรืออาจเกิดจากการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามิน C และวิตามิน K ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญสำหรับหลอดเลือดและเส้นเลือด ดังนั้นหากขาดวิตามินทั้งสองชนิดนี้ไป หรือร่างกายได้รับวิตามินไม่เพียงพอ ก็อาจเป็นเหตุให้เส้นเลือดเปราะบางกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดรอยช้ำได้ง่ายขึ้น 


อีกอย่างก็เกิดจากเนื้อเยื่อของร่างกายเราไม่ดี เช่น ในคนสูงอายุ มักจะพบในคนอายุ 60-70 ปีขึ้นไป ซึ่งเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไขมันน้อยและเนื้อเยื่อยืดหดไม่ได้ดี พวกนี้ก็อาจจะเกิดจ้ำขนาดใหญ่ๆ ขึ้นได้ ส่วนมากเป็นที่แขนขา รอยกระแทกอาจทำให้เกิดจ้ำขนาดใหญ่ได้ ไม่มีอันตรายพวกนี้

ภาพจากอีจัน


เลือดออกใต้ผิวหนัง ecchymosis คืออะไร? มันมีหลายสาเหตุมาก แต่ถ้าสรุปก็ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด เช่นหลอดเลือดไม่แข็งแรงแต่สาเหตุนี้พบน้อย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการถูกกระแทกแล้วมีเลือดออก หรือเกิดจากความผิดปกติของเกล็ดเลือด ทั้งผิดปกติที่จำนวนคือเกล็ดเลือดต่ำจากสาเหตุต่างๆ มากมาย มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย (Leukemia) ก็มีเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำมักจะเป็นจุดเลือดออก (Petechiae) ในมะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น เหนื่อยเพลีย มีไข้ มีเลือดออก มีอาการปวดตามข้อ


ความผิดปกติที่ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (Coagulation factor) เกิดจากการสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือดได้น้อยกว่าปกติจากสาเหตุทางพันธุกรรม เช่นในโรคฮีโมฟิเลีย หรือเกิดตามหลังโรคหรือการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เช่นในโรคตับวาย แต่ลักษณะเลือดออกจากความผิดปกติที่ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด มักไม่ใช่เลือดออกที่ผิวหนังตื้นๆ และเป็นเพียงรอยเล็กๆ มักมีเลือดออกที่ส่วนผิวหนังลึกๆ เป็นบริเวณกว้าง หรือเลือดออกในข้อ หรือในกล้ามเนื้อ

ภาพจากอีจัน


เลือดออกเนื่องจากเนื้อเยื่อในชั้นนอกหลอดเลือดอ่อนแอหรือไม่แน่น เช่น ผิวหนังคนแก่จะมีเลือดออกที่ผิวหนังเห็นเป็นรอยสีม่วงคล้ำหรือสีน้ำตาลขึ้นกับระยะเวลาที่เลือดออก


แล้วเมื่อไหร่ควรไปพบหมอ อาการที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายใดๆ หายได้เอง แต่มีข้อเตือนใจว่า หากมีอาการจ้ำเขียวห้อเลือด ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีได้แก่
1. ไข้
2. ซีด
3. ข้อบวม
4. เลือดออกง่าย หยุดยาก (เทียบกับคนทั่วๆไป ก็คงพอบอกได้)
5. มีก้อนที่คอ รักแร้ ขาหนีบ เป็นกลุ่ม ก้อนเหล่านี้คือต่อมน้ำเหลือง
6. ตาพร่ามัวอย่างชัดเจน
7. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
8. ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน

ถือว่าเบื้องต้นสบายใจได้ ไม่มีอันตรายใดๆ แต่ๆ อย่าลืม ถ้ามีอาการร่วมแทรกมาด้วย ต้องไปหาหมอนะ อีจันเป็นห่วง