ลำดับเหตุการณ์สำคัญ “ประวัติศาสตร์หอศิลป์กรุงเทพฯ”

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ “ประวัติศาสตร์หอศิลป์กรุงเทพฯ”

11 ก.ค. 2538 สมัย ดร.พิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการ เฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 สร้าง “หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร” เฉลิมพระเกียรติแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็น องค์อุปถัมภ์ศิลปะทุกสาขา

ดร.พิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ
หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร

ก.ย. 2538 จัดตั้ง “มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9” เพื่อสนับสนุนการเตรียมการ โครงการหอศิลปะ ในช่วงระหว่างที่ยัง ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง 

หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร

2 มิ.ย. 2540 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ แทนพระองค์เปิดงาน Jazz In The Park ณ สวนสราญรมย์ คอนเสิร์ตเพื่อโครงการหอศิลป์ ทรงพระราชทานเงินให้เป็นเงินทุนในการก่อสร้างตั้ง “มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร”

งาน Jazz In The Park ณ สวนสราญรมย์ คอนเสิร์ตเพื่อโครงการหอศิลป์

ธ.ค. 2540 จัดตั้ง “มูลนิธิศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร” โดยมีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นเลขามูลนิธิฯ

นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นเลขามูลนิธิศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร

ปี 2541 ในสมัยผู้ว่า พิจิตต รัตตกุล มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณา ขอกำหนดการประกวดแบบหอศิลปะ ผู้ชนะการประกวดแบบอาคารหอศิลปะร่วมสมัยฯ คือ บริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิแอทส์ จำกัด

ดร.พิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ

7 พ.ค. 2543 ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างหอศิลปะ ณ บริเวณสี่แยกปทุมวัน

สี่แยกปทุมวัน

ปี 2544 สมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนนโยบาย การสร้างหอศิลปะ เป็นการให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรูปแบบอาคารพาณิชย์ ประกอบด้วยศูนย์การค้า ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงการเดิม หลายๆสมาคมจึงดำเนินกิจกรรม คัดค้านการระงับโครงการ และขอให้กรุงเทพฯ ทบทวนโครงการ จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องหอศิลปะร่วมสมัยแบบเดิม คัดค้าน และเรียกร้องให้ผู้บริหาร กทม. ในสมัยนั้นทบทวนโครงการในหัวข้อ “ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า" การสนับสนุนจาก ประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวางนำไปสู่การดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองกลางได้ประทับรับฟ้องคดีดำหมายเลขที่ 636/45 ลงวันที่ 9 เดือน กันยายน 2545 ทำให้โครงการที่ผู้ว่าฯ สมัครจะผลักดันหอศิลป์เป็นศูนย์การค้าต้องยุติลง

นายสมัคร สุนทรเวช
โครงการในหัวข้อ “ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า"
กิจกรรม คัดค้านการระงับโครงการ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

พ.ค. – มิ.ย. 2547 ระหว่างการรณรงค์เพื่อ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เครือข่ายศิลปิน ร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” หนึ่งกิจกรรมรณรงค์ที่น่าสนใจ คือ “ART VOTE” “โหวตเพื่อหอศิลป์” ให้ประชาชนลงคะแนนเสียงสนับสนุน ว่าควรจะมีหอศิลป์หรือไม่

6 ก.ย. 2547 ภายหลังนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และได้ดำเนินการจัดสร้าง “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร”

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

19 ส.ค. 2548 มีการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยเรื่องข้อตกลง ความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร และพันธมิตรด้านศิลปวัฒนธรรม ณ อุทยานเบญจศิริ

ปี 2548 สภากรุงเทพมหานคร อนุมัติงบประมาณ 509 ล้านบาท เพื่อการดำเนินการก่อสร้างอาคาร “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร”

ปี 2550 มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2550

ปี 2551 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการ เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2551 นิทรรศการแรก คือ นิทรรศการ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี “ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง”

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

19 ส.ค. 2552 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารหอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ และทรงเป็นองค์ประธานเปิดนิทรรศการ “ภาพของพ่อ บารมีแห่งแผ่นดิน” ในวันเดียวกัน

#ข่าวด่วน #อีจัน