‘บุหรี่ไฟฟ้า’ บางชนิดมีสารก่อมะเร็งสูง

ไม่ปลอดภัย! วิจัยเผย ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ บางชนิดมีสารก่อมะเร็งสูงจนน่าตกใจ

วานนี้ 17 ก.ย. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า

นักวิทยาศาสตร์พบว่าบุหรี่ไฟฟ้าชนิดมีรสชาติบางประเภทมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งในระดับสูง นับเป็นภัยอีกหนึ่งประการของบุหรี่ไฟฟ้าชนิดมีรสชาติซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนจะกำจัดออกจากตลาด
เมื่อวันที่ (16 ก.ย.) งานวิจัยซึ่งได้รับการเผยแพร่บนวารสารเจเอเอ็มเอ อินเทอร์นัล เมดิซิน (JAMA Internal Medicine) เผยว่าบุหรี่ไฟฟ้ารสมินท์และเมนทอล รวมถึงยาสูบไร้ควันมีสารเคมีพุลกอน (pulegone) และอาจมีสารเคมีคาร์ซิโนเจน (carcinogen) ในระดับที่สูงจนน่าเป็นกังวล

ภาพจากสำนักข่าวซินหัว

เป็นศาสตรจารย์ภาควิชาวิสัญญีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยดยุกกล่าวว่า เอฟดีเอควรดำเนินมาตรการบรรเทาภัยทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีพุลกอน ก่อนจะแนะนำบุหรี่ไฟฟ้ารสมินท์ เมนทอล และยาสูบไร้ควันเป็นทางเลือกให้แก่ผู้คนที่สูบบุหรี่ชนิดติดไฟ” สเวน-เอริก จอร์ดต์ ผู้เขียนวิจัยหลักซึ่ง พุลกอนเป็นส่วนประกอบของสารสะกัดน้ำมันจากพืชตระกูลมินท์ รวมถึงเปปเปอร์มินท์ สเปียร์มินท์และเพนนีรอยัล ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งตับ เซลล์ปอดเติบโตผิดปกติ (pulmonary metaplasia) และเนื้องอกช่องปากในสัตว์จำพวกหนู

ภาพจากอีจัน

เมื่อปี 2018 เอฟดีเอสหรัฐฯ (FDA) ได้สั่งระงับการใช้พุลกอนเป็นสารปรุงแต่งอาหาร หลังมีกลุ่มผู้บริโภคออกมาร้องเรียนกลุ่มนักวิจัยได้เปรียบเทียบปริมาณพุลกอนที่ได้รับรายงานจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ และข้อมูลความเสี่ยงจากเอฟดีเอ พบว่าระดับสารเคมีดังกล่าวในบุหรี่ไฟฟ้าและยาสูบไร้ควันสูงเกินเกณฑ์อย่างน่ากังวล ในขณะที่บุหรี่เมนทอลธรรมดามีระดับต่ำกว่าเกณฑ์

เมื่อสัปดาห์ก่อน รัฐบาลทรัมป์ประกาศแผนระงับการซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าชนิดมีรสชาติหลังเกิดการแพร่ระบาดของโรคปอดที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า โดยสถิติในปัจจุบันชี้ว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ 450 ราย และเสียชีวิตแล้ว 6 รายทั่วประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.xinhuathai.com