คลายข้อสงสัย ทำไมคนไทยมีปืนง่าย แต่ทำให้ถูกต้องนั้นยาก

คลายข้อสงสัย ทำไมคนไทยมี ปืน ง่าย แต่ทำให้ถูกต้องนั้นยากและรายละเอียดการ ครอบครองปืน ตาม ( พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ) เป็นอย่างไร?

สืบเนื่องจากล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 3 ส.ค. 65 มีกลุ่มคน ดวลปืนสนั่นเมืองอุบลราชธานี มีทั้งคนเจ็บและคนตาย ทำให้บางทีต้องลองหันกลับมาตั้งคำถามถึงกรณีการใช้ปืนในไทยหรือแม้แต่กระทั้งการหาซื้อปืนมาครอบครองว่ามันง่ายขนาดนั้นเลยหรือ? สำหรับปัญหาคดีทางอาชญากรรมที่เผยแพร่ในสื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นปัญหาสังคมที่หลายฝ่ายให้ความกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้อาวุธปืนเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด จนต้องเกิดคำถามในสังคมว่า เหตุใดคนไทยจึงสามารถมีปืนไว้ก่อเหตุ หรือแม้กระทั่งพกไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระมากขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นที่รู้กันดีว่าบุคคลธรรมดาคนหนึ่งจะสามารถครอบครองปืนได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไหนจะมีกฎหมายที่เข้มงวดคอยตรวจสอบในทุกขั้นตอน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ Gunpolicy.org ระบุว่า นับถึงปี 2560 ในประเทศไทยมีผู้ครอบครองปืนทั้งปืนจดทะเบียนและปืนเถื่อนรวม 10.34 ล้านกระบอก ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ครอบครองปืนทั้งปืนจดทะเบียนและปืนเถื่อนรวม 10.34 ล้านกระบอก สำหรับตัวเลขอาวุธปืนที่เป็นของเอกชนล่าสุด คือ 6,019,546 หน่วยที่จดทะเบียนโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งอัตราส่วนโดยประมาณ สำหรับประชากรไทยใน 10 คน จะมีปืน 1 กระบอก ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงปืนที่ไม่ได้ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายซึ่งคาดว่าจะมีไม่น้อย ยิ่งตอกย้ำคำถามถึงขั้นตอนการขออนุญาตครอบครองอาวุธปืนในประเทศไทยว่า แท้จริงแล้วยังคงเข้มงวดและยุ่งยากจริงไหม?

คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน

  • บรรลุนิติภาวะ

  • สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ

  • ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

  • มีรายได้และอาชีพ

  • มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

  • มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

  • ไม่เป็นบุคคลที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติชั่วอย่างรายแรงอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบของประชาชน

  • ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา

ขณะเดียวกัน ประเทศไทย มีกฎหมายว่าด้วยการครอบครองอาวุธปืน ที่มีรายละเอียดชี้ชัดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 (พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ) ระบุไว้ว่า การจะเป็นเจ้าของอาวุธปืนหนึ่งกระบอก สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมีคือใบอนุญาตให้ซื้อปืน หรือ ใบ ป.3 โดยยื่นคำร้องขออนุญาต ซื้อต่อฝ่ายเจ้าหน้าที่ปกครอง นายอำเภอ พร้อมเอกสารหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน และใบรับรองความประพฤติ ที่ผ่านการรับรองจากกำนันและผู้ใหญ่บ้าน การครอบครองปืนต้องแจ้งวัตถุประสงค์ให้ชัด ซึ่งมี 5 กรณี ได้แก่

1. เพื่อป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน

2. เพื่อการกีฬา

3. เพื่อการล่าสัตว์ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงการยิงสัตว์ขนาดเล็กที่เป็นศัตรูของเกษตรกร

4. เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก

5. เพื่อพกพาชั่วคราว (นักการทูตและผู้ติดตาม)

จากนั้นผู้ขอจะต้องนำใบ ป.3 ไปแสดงเพื่อซื้อปืนกับร้านที่ได้รับอนุญาตจัดจำหน่ายอย่างถูกต้อง เพื่อให้ทางร้านดำเนินการตัดโอนอาวุธปืนออกจากการครอบครองของร้าน ออกเป็นใบคู่ปืน และนำไปขึ้นใบทะเบียนปืนที่ระบุชื่อผู้ครอบครอง หรือ ใบ ป.4 เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนทั้งหมด ผู้ซื้อก็จะได้เป็นเจ้าของปืนอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ถือเป็นขั้นตอนตามปกติที่ผู้ต้องการมีปืนจะต้องปฏิบัติ ซึ่งจะต้องใช้เวลาและการดำเนินการพอสมควรกว่าจะเป็นเจ้าของอาวุธปืนได้ ซึ่งกรมการปกครองระบุว่า ในการกลั่นกรองอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน คนหนึ่งคนควรมีเพียง 2 กระบอกคือ ปืนสั้น 1 กระบอก และปืนยาว 1 กระบอก

ปัจจุบันขั้นตอนการซื้ออาวุธปืนไม่ได้ยุ่งยากเหมือนที่ระบุไว้ในพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ อีกต่อไปเพราะในความเป็นจริง ผู้ที่อยากจะมีปืนเป็นของตัวเอง เพียงแค่มีเงินและเส้นสายในระบบราชการก็สามารถมีใบอนุญาตซื้อและครอบครองอาวุธปืนได้ไม่ยาก โดยร้านปืนส่วนใหญ่เขาจะให้เลือกว่า จะให้เขาเดินเรื่องใบอนุญาตให้ด้วยหรือไม่ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ที่ทำเรื่องขออนุญาตเอง จะใช้เวลารอนานกว่า 6 เดือน ยิ่งบางคนที่ไม่มีเส้นสายในวงราชการอาจรอนานเป็นปี แต่หากให้ร้านที่จำหน่ายอาวุธปืนเดินเรื่องให้ จะใช้เวลาอย่างมากไม่เกิน 2 เดือน

อีกทั้งการโอนอาวุธปืน กฎหมายห้ามมิให้โอนอาวุธปืนให้แก่บุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มี และใช้อาวุธปืน แม้ผู้โอนจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนได้ แต่ถ้า โอนอาวุธปืนให้แก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตผู้โอนจะมีความผิด “การโอน” หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์อาวุธปืนของตนให้ผู้อื่นเป็น เจ้าของ การรับโอนอาวุธปืนทางมรดก ในกรณีที่เจ้าของอาวุธปืนซึ่งมีใบอนุญาตอยู่แล้ว ถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้ทายาทของผู้ตาย หรือ บุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน หรือใบอนุญาตให้มี หรือใช้อาวุธปืนของผู้ตาย ไปแจ้งการตาย ของเจ้าของปืนให้นายทะเบียนทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รู้ถึงการตาย ของผู้ตาย ถ้าไม่มาแจ้งถือว่ามีความผิด ต้องโทษปรับไม่เกิน

5 ชนิด ปืน ที่คนทั่วไปจะมีได้

ปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีได้มี 5 ชนิดตามกฎกระทรวง ฉบับ 11 ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ

  1. ปืนชนิดลำกล้องมีเกลียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม.

  2. ปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 20 มม., ปืนบรรจุปาก, ปืนลูกซอง และปืนพลุสัญญาณ

  3. ปืนชนิดที่เครื่องกลไก ขนาดความยาวลำกล้องไม่เกิน 160 มม., ปืนลูกซอง, ปืนลูกกรด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 5.6 มม.

  4. ปืนชนิดไม่มีเครื่องบังคับเสียงให้เบาผิดปกติ

  5. ปืนชนิดไม่ใช้กระสุนเป็นที่บรรจุวัตถุเคมีที่ทำให้เกิดอันตรายหรือเป็นพิษ

ทั้งนี้กว่าพลเรือนคนหนึ่งจะมีปืนในครอบครองอย่างถูกกฎหมายอาจค่อนข้างเป็นเรื่องที่วุ่นวาย แต่จำนวนปืนที่ถูกขึ้นทะเบียนกว่าหกล้านกระบอกอาจเป็นภาพสะท้อนระบบการออกใบอนุญาตถือครองอาวุธ ที่เพียงแค่มีเงินและเส้นสายก็ไม่ยากเกินการครอบครอง ไม่นับรวมถึงปืนเถือนที่ทุกวันนี้มีขายกันกลาดเกลื่อนทางช่องทางออนไลน์

โทษของการพกปืนเถื่อน

การพกปืนเถื่อนเป็นเรื่องผิดกฎหมาย สำหรับโทษนั้นรุนแรงมาก เพราะคนที่พกปืนเถื่อนคงส่อเจตนาและจุดประสงค์ไม่ดีแน่ๆ หากผู้ใดมีอาวุธปืนโดยไม่ได้ขออนุญาต อาจต้องระวางโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งการครอบครองปืนเถื่อนก็เป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีการขออนุญาตแน่ๆ ดังนั้นมันจึงเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

มาตรา 4 (1) หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกําลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอํานาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสําคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง

มาตรา 7 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีอาวุธปืน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

มาตรา 72 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 2000 – 20000 บาท

ข้อมูล เพจ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรม , parliament , คู่มือประชาชน งานอวุธปืน , tcijthai , banglamungdistrict , thaihunter , www.gunpolicy

คลิปอีจันแนะนำ
นาทีหนีตาย ดวลปืนกลางเมืองอุบล