ศิริกัญญา มองจุดวัดใจเพื่อไทย ปลดผู้ว่า ธปท.-โอนหนี้ให้แบงค์ชาติ 

ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย มองสถานการณ์วัดใจเพื่อใจ แก้กฎหมายเปิดทางปลดผู้ว่า ธปท. หรือ โอนหนี้สาธารณะให้แบงค์ชาติ

ถือเป็นอีกหนึ่งกระแสความร้อนแรงทางการเมืองอยู่ ณ ขณะนี้ เกี่ยวกับกรณีที่เมื่อวันที่3 พ.ค. 67 อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้มีการกล่าววิจารณ์ถึงธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความเป็นอิสระ ไม่เปิดรับฟังเหตุผลจากทางรัฐบาลจนทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้นั้น 

จากคำพูดดังกล่าวทำให้เกิดกระแสตีกลับไปที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยว่า กำลังแทรกแซงการทำงานของ ธปท. หรือไม่ ร้อนถึง นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน, นายภูมิธรรม เวชยชัย และทางพรรคเพื่อไทยต้องออกมาชี้แจงว่าคำพูดดังกล่าวเป็นเพียงการสะท้อนเสียงของประชาชน และเป็นเพียงการแสดงความคิดความเห็นซึ่งสามารถทำได้ 

ล่าสุด ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ได้สัมภาษณ์ ไหม ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถึงกรณีดังกล่าว รวมถึงกระแสข่าวที่จะมีการปรับแก้ พ.ร.บ. แบงค์ชาติเพื่อเปิดทางการปลดผู้ว่า ธปท. ได้ง่ายขึ้น หรือการ โอนหนี้จากกองทุน FIDF ไปไว้ในแบงค์ชาติ ว่า หากว่ากันที่เรื่องของการแก้ พ.ร.บ.แบงค์ชาติเพื่อเปิดทางให้ปลดผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ง่ายขึ้นนั้น ก็คงจะไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงตามที่รัฐบาลต้องการ เพราะอัตราดอกเบี้ยนี้ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเงินซึ่งมีทั้งหมด 7 ท่าน ซึ่งเป็นคนใน 3 ท่าน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 ท่าน  

ซึ่งการคัดเลือกตรงนี้ก็จะมีกรรมการอีก 7 คน หรือที่เรียกกันว่า 7 อรหันต์มาเป็นผู้คัดเลือก โดยมีเงื่อนไขต้องเป็นอดีตปลัดกระทรวงหรือข้าราชการต่างๆ และทางรัฐบาลเองก็สามารถที่จะเลือก 7 คณะกรรมการ หรือ 7 อรหันต์นี้ซึ่งเป็นบุคคลที่ไว้ใจได้ ซึ่งตรงนี้ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าเป็นปัญหา เพราะทางรัฐบาลก็น่าจะคัดเลือกบุคคลที่ไว้ใจได้และเอนเอียงไปทางฝั่งพิราบ ส่วนการจะปลดผู้ว่า ธปท. เลยนั้นก็อาจจะเป็นวิธีการที่สุ่มเสี่ยงเกินไป 

ส่วนการแก้กฎหมายเพื่อเปิดทางให้รัฐบาลส่งผ่านนโยบายไปทางแบงค์ชาติให้ได้มากขึ้นหรือไม่และจะส่งผลลบหรือบวกนนั่น รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ตอบว่า ก็ต้องดูที่รายละเอียดต่างๆ อีกทีว่าจะไปกระทบกับความอิสระมากแค่ไหน เช่นจะไปเขียนว่าจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับทางฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาล ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความกังวลต่อนักลงทุนได้ ซึ่งการแก้ พ.ร.บ.แบงค์ชาตินี้ เกิดขึ้นที่ประเทศฮังการี คือ ผู้ว่าแบงค์าติจะต้องผ่านการเห็นชอบจากสภาก่อนในการแต่งตั้ง ถือว่าเป็นการแทรกแซงโดยฝ่ายการเมืองผลที่ตามมา คือ ฮังการี ถูกปรับความน่าเชื่อถือให้ลดลง 

ส่วนความเป็นอิสระของทางแบงค์ชาตินั้น จากที่ผ่านมาฝ่ายการเมืองไม่มีความน่าไว้ใจ แต่ทางฝั่งแบงค์ชาติเองก็ทำให้เห็นว่ามีการตัดสินใจผิดพลาดเชิงนโยบายซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศนั้นความอิสระนี้จึงควรถูกกำหนดด้วยอะไรนั้น ศิริกัญญา เผยว่า สามารถใช้ผ้านกลไกของ รมว.คลังได้ เช่นกรณีที่แบงค์ชาติทำผิดพลาดทำให้เงินเฟ้อพลาดไปจากกรอบที่กำหนดกับทาง รมว.คลัง ทางแบงค์ชาติเองต้องเขียนจดหมายแสดงเหตุผลว่าทำไมถึงไม่สามารถทำได้ ซึ่งทาง รมว.คลังเองสามารถเห็นแย้งหรือทำให้แบงค์ชาติเห็นว่าได้ทำงานผิดพลาด ซึ่งก็เป็นเหตุผล หรือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สามารถปลดผู้ว่าแบงค์ชาติได้ด้วยกระบวนการของมันที่มีอยู่ 

ส่วนจุดสมดุลของเรื่องนี้เราต้องรับฟังทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะรัฐบาลหรือแบงค์ชาติ หน้าที่หลักของแบงค์ชาติคืออะไร เช่นถ้าแบงค์ชาติไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ ก็อาจจะต้องมีการยื่นทบทวนได้