อัยการสั่งฟ้องกำนันนกและพวก – ตร. เอี่ยวคดีสารวัตรศิวกร

อัยการสั่งฟ้อง กำนันนก จ้างวานฆ่า สารวัตรศิวกร และตำรวจอีก 23 นาย ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

อัยการสั่งฟ้อง กำนันนก จ้างวานฆ่าสารวัตรสิว ไม่ฟ้อง อดีต ผกก.สน.พญาไทและตำรวจอีก 5 นาย

นายประยุทธ เพชรชคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยนายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และ นายนาเคนทร์ ทองไพรวัลย์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกันเปิดเผยผลการพิจารณาคดีสั่งฟ้องนายปวีณ จันทร์ทร์คล้าย หรือ กำนันนก โดยแบ่งเป็น 2 สำนวน ได้แก่ คดีฆาตกรรม พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว ในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและจ้างวานฆ่าผู้ อื่นโดยเจตนา  

  ซึ่งมีผู้ต้องหาคือนายหน่อง หรือธนันชัย หมั่นมาก ผู้ต้องหาที่ถูกตำรวจวิสามัญ และกำนันนก โดยอัยการสำนักงานคดีอาญา มีความเห็นให้สั่งฟ้องกำนันนก ตามที่พนักงานสอบสวนเสนอมาส่วนนายหน่อง เนื่องจากถูกวิสามัญจึงมีคำสั่งยุติคดี 

ส่วนสำนวนที่ 2 ซึ่งเป็นสำนวนกล่าวหาตำรวจและพลเรือน รวม 28 คน ที่อยู่ในเหตุการณ์ ขณะที่มีการยิง พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว ในความเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต มีความเห็นสั่งฟ้อง 

1. พ.ต.ต. เกียรติศักดิ์  ผู้ต้องหาที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200 และมาตรา 184 ประกอบมาตรา 84  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 

2. ร.ต.ต. ประสาร  ผู้ต้องหาที่ 2 

3. ร.ต.ท. สรรเสริญ  ผู้ต้องหาที่ 6  

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 189, 200 และมาตรา 184 ประกอบมาตรา 84  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 

4. สั่งฟ้อง ร.ต.ท. นิมิต ผู้ต้องหาที่ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157, 189, 200 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 

5. สั่งฟ้อง ร.ต.ท. ณรงศักดผู้ต้องหาที่ 4 

6.  จ.ส.ต. พิสิฐ  ผู้ต้องหาที่ 8 

7.  ร.ต.อ. จตุรวิทย์  ผู้ต้องหาที่ 9 

8. ร.ต.อ. ประสมมาศ ี ผู้ต้องหาที่ 11 

9. ส.ต.ต. สุทธิกานต์ ผู้ต้องหาที่ 12  

10.  ส.ต.ต. สรรเสริญ  ผู้ต้องหาที่ 13 

11. ส.ต.ต. ธนทัต  ผู้ต้องหาที่ 14 

12. ร.ต.อ. นุชิต  ผู้ต้องหาที่ 16 

13. ด.ต. ถนอมศักดิ์ ผู้ต้องหาที่ 17 

14. จ.ส.ต. อภิรักษ์  ผู้ต้องหาที่ 18 

15. ร.ต.อ. ศิริชัย  ผู้ต้องหาที่ 19 

16. ร.ต.ท. สมโชค  ผู้ต้องหาที่ 21  

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 

  สั่งฟ้อง  

1. นายสนธยา สุดแน่น ผู้ต้องหาที่ 22 

2. นายฐิตินนท์ ผู้ต้องหาที่ 23 

3. นายนิวัฒน์ชัย  ผู้ต้องหาที่ 24 

4. นายกฤษฎา  ผู้ต้องหาที่ 25 

5. นายชาตรี  ผู้ต้องหาที่ 26  

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 184 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 

  สั่งฟ้อง  

–  นายประวีณ ผู้ต้องหาที่ 27  

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 

– นายอาทิตย์  ผู้ต้องหาที่ 28  

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184 ประกอบมาตรา 84 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 

สั่งไม่ฟ้อง 

1. ร.ต.ท. นิมิต  ผู้ต้องหาที่ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184 

2. ร.ต.ท. ณรงศักดิ์  ผู้ต้องหาที่ 4 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 184, 189, 200 

3. ร.ต.อ. ณัฏฐพล  ผู้ต้องหาที่ 5 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157, 184, 189, 200 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 

4. พ.ต.อ. กฤษฎาพร  ผู้ต้องหาที่ 7 

5. พ.ต.ท. ภทร ิ์ ผู้ต้องหาที่ 10 

6. พ.ต.อ. ภาณุทัต ผู้ต้องหาที่ 15  

7. ร.ต.ท. มนัต  ผู้ต้องหาที่ 20  

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 

นอกจากนี้ ท้ายเอกสารการพิจารณาคดียังกำกับข้อความว่าขอศาลเพิ่มโทษผู้ต้องหาที่ 26 หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 และขอศาลนับโทษผู้ต้องหาที่ 27 ในคดีนี้ติดต่อกับโทษในคดีอาญากองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามที่ 24/2566 

  แต่อย่างไรก็ตามความเห็นนี้ยังถือว่ายังไม่เด็ดขาด เนื่องจากต้องนำตัวผู้ต้องหาและสำนวนสั่งฟ้องในวันนี้เพราะว่าเป็นวันสุดท้ายในการฝากขัง แต่หากพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาบางรายก็จะต้องเสนอเรื่องไปที่ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้มีควา มเห็นทางคดี  

โดยหากเห็นแย้งความเห็นของอัยการ ก็จะถูกส่งต่อให้อัยการสูงสุดวินิจฉัยชี้ขาด จึงจะถือว่า เป็นคำสั่งเด็ดขาด  

ซึ่งถ้าอัยการสูงสุด มีความเห็นให้สั่งฟ้องตำรวจที่ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ในครั้งนี้ก็สามารถนำตัวผุ้ต้องหาคนดังกล่าวกลับมาดำเนินคดีได้ภายในอายุความ 20 ปี