สปสช.เผย ภาวะเพศกำกวม ใช้สิทธิบัตรทองรักษา ได้หรือไม่

สปสช.เผย ใช้สิทธิบัตรทองรักษาให้ตรงตามสภาพได้ ผ่าตัดแปลงเพศคนข้ามเพศไม่เข้าเกณฑ์

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ว่าด้วยเรื่อง รอบรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพ “ภาวะเพศกำกวม”  ภาวะเพศกำกวมใช้สิทธิบัตรทองรักษาให้ตรงตามสภาพได้ เว้นผ่าตัดแปลงเพศคนข้ามเพศไม่เข้าเกณฑ์

ภาวะเพศกำกวม หรือ อวัยวะเพศกำกวม

มีความหมายว่า เพศที่ปรากฏออกมาหรืออวัยวะเพศที่ปรากฏออกมานั้นไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง อาจจะมีทั้ง 2 เพศอยู่ในที่เดียวกันจึงจะเรียกว่าอวัยวะเพศกำกวม สหประชาชาติระบุว่า มีคนทั่วโลกราว 1.7% เกิดมามีภาวะเพศกำกวม ซึ่งเป็นจำนวนพอ ๆ กับคนที่เกิดมามีผมสีแดง

ภาวะเพศกำกวมตามที่แพทย์วินิจฉัย

  • มีอวัยวะเพศชายแต่มีลักษณะร่างกายอื่น ๆ เช่น มีหน้าอกแบบผู้หญิง มีฮอร์โมนเป็นเพศหญิง

  • โดยแพทย์ตรวจรับรองว่าเป็นผู้หญิงจริง จำเป็นต้องได้รับการรักษาให้ตรงกับเพศสภาพที่แท้จริง

  • ในกรณีนี้สามารถใช้สิทธิรักษาได้

  • ติดต่อเข้ารับบริการโดยยื่นบัตรประชาชนที่สถานพยาบาลตามสิทธิของตนเองก่อนเพื่อปรึกษาแพทย์

  • หากสถานพยาบาลตามสิทธิไม่มีแพทย์เฉพาะ จะพิจารณาออกหนังสือส่งตัวไปยังสถานพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาตามขั้นตอน

ดังนั้นการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อรักษาภาวะเพศกำกวม ในกรณีของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTI) จะต้องเป็นผู้ที่มีภาวะเพศกำกวม หรืออวัยวะเพศกำกวม จึงจะใช้สิทธิเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาให้ตรงกับเพศสภาพตามที่แพทย์ให้การรับรองได้ เป็นการทำให้ตรงกับหลักฐานที่ปรากฎ จัดอยู่ในประเภทและขอบเขตของการบริการสาธารณสุขที่บุคคลมีสิทธิได้รับตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่แพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะเพศกำกวม ในกรณีนี้สามารถใช้สิทธิรักษาได้ ติดต่อเข้ารับบริการโดยยื่นบัตรประชาชนที่สถานพยาบาลตามสิทธิของตนเองก่อนเพื่อปรึกษาแพทย์ โดยหากสถานพยาบาลตามสิทธิไม่มีแพทย์เฉพาะจะพิจารณาออกหนังสือส่งตัวไปยังสถานพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาตามขั้นตอน

สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso

คลิปแนะนำอีจัน
เลิกวาดรูป จะเที่ยวจนกว่าจะตาย! อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์