
โขนสด การแสดงพื้นบ้าน มรดกทางวัฒนธรรม…ที่ขาดผู้สืบทอด
โขนสด เป็นมหรสพของชาวบ้านที่เกิดจากการผสมผสานทางศิลปะการแสดงอย่าง โขน หนังตะลุง ลิเก ละครชาตรี เข้าด้วยกัน มีการแต่งองค์ทรงเครื่อง หรือ “ยืนเครื่อง” แบบโขน มีการขับร้อง คำพากย์ คล้ายโขน ลิเก สำเนียงคล้ายเสียงร้องของโนราและหนังตะลุง การออกท่าทางในการแสดงคล้ายหนังตะลุงผสมกับโขน
ซึ่งโขนสดมีปรากฏอยู่หลายพื้นที่ของประเทศไทย แต่เล่นกันแพร่หลายในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก อาทิ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สมุทรสาคร ระยอง จันทบุรี เป็นต้น
แต่จากการบันทึกคําบอกเลาที่ปรากฏในเอกสารทางวิชาการ ได้ระบุว่า โขนสด เป็นการแสดงเลียนแบบหนังตะลุงโดยใช้คนจริงแสดง ผู้ริเริ่มคือ นายทาน เหลาอุดม มีอาชีพเดิมคือเล่นละครแก้บน



ในส่วนการแสดง ผู้แสดงจะสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์บรรเลงประกอบ มีท่าเต้นที่ก้มๆ เงย ๆ คล้ายท่าเชิดหนังตะลุง และทำท่าเต้นแบบโขน ใช้เครื่องดนตรีหลักในการให้จังหวะเช่นเดียวกับละครชาตรี แต่จะลดแบบแผนที่ยุ่งยากลงทั้งท่ารำ เครื่องแต่งกาย และปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงแบบโขนชั้นสูงให้เรียบง่ายเป็นแบบชาวบ้าน









เรื่องที่นิยมนำมาแสดงกับโขนสดคือ รามเกียรติ์ แต่มักจะเพิ่มเติมดัดแปลงไปจากเดิม
โดยมีตัวละคร พระ นาง ยักษ์ ลิง เช่นเดียวกับ โขนหลวง มีการสวมหนากากโขน มีการฝึกพื้นฐานแบบโขน เริ่มจากการ
-ถีบเหลี่ยม
-ตบเข่า
-เต้นเสา
-ถองสะเอว
-ยักตัว
-ตบอก
-หกคะแมนตีลังกาของตัวลิง
-ขึ้นลอยแบบโขน
แต่นาฏลักษณ์โขนสด แม้การฝึกพื้นฐานจะใกล้เคียงกับโขนหลวงดังที่กล่าวข้างต้น การฝึกจะใช้เวลาไม่ยาวนานเหมือนโขนหลวง นอกจากนี้จะมีการประยุกต์ปรับเปลี่ยนโดยลดความซับซ้อนของนาฏลักษณ์ และกระบวนท่าตางๆ ในการรบลง เช่น
-วงมือยักษ์ จะใช้แบบเดียวกับวงมือพระ
-ก่อนการรบจะให้แม่ทัพพบปะเจรจาคุยกันเล็กน้อย แล้วต่อสู้กันโดยไม่มี กระบวนท่ามากมาย





ตัวอยางลักษณะของ ลิเก ที่เห็นในนาฏลักษณ์เด่นชัดในโขนสดหลายคณะคือ การคํานับคน และในการรบบางครั้งจะมีการใช้ท่าแทงแบบลิเก ทั้งนี้โขนสดอาจใช้หนังตะลุงมาเป็นท่าเต้นโยกลําตัว ไปตามจังหวะของโทน





ซึ่งการโยกตัว การเต้นของกองทัพลิง การย่ําเท้าและใช้ตัวของยักษ์ เหมือนการเชิดหนังแบบ หนังตะลุง นอกจากนั้นยังมีแม่ท่าเฉพาะตัวที่ถือว่าเป็นเอกลักษณของโขนสด คือ แม่ท่าเสี้ยววงเดือน ท่ามือเดี่ยวตีนเดี่ยว มีการเต้นชี้นิ้ว โยกแขนโยกไหล่ ซึ่งผูท
ส่วนพาทย์ที่ใช้ในการแสดงโขนโขนสดมีการใชเพลงหน้าพาทย์ แต่เป็นเพลงพื้นฐาน (เสมอ เชิด รัว เป็นต้น) ไมมีเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเท่าใดนัก ซึ่งเปนสิ่งที่ประยุก์ตปรับเปลี่ยน จากโขนหลวงให้มีความง่ายขึ้น เครื่องดนตรีของโขนสดเป็นวงปี่พาทย์ที่มีการผสมผสานวงดนตรี จากอิทธิพลของการแสดงอื่นๆ เช่น ลิเก หนังตะลุง จึงมีเครื่องดนตรีแตกต่างจากปี่ พาทย์ที่ใช้ในการแสดงโขน ซึ่งเครื่องดนตรีหลักนั้น มีความแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่พบว่าจะใช้
-ปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือเครื่องห้า
-กลองตุ๊ก 1 คู่
-โทน หรือทับ 1 คู่
-ฉิ่ง
-ฉาบ
-กรับ
-โหม่ง





แม้ว่าโขนสด จะเกิดมานาน ผสมผสานศิลปะการแสดงอื่นๆ ร่วมได้อย่างลงตัว แต่…ในปัจจุบัน มันกำลังจะเลือดหายไป เนื่องจาก ขาดผู้สืบทอด โดยในปัจจุบันเหลือ คณะโขนสด ราว 5 คณะเท่านั้นในถิ่นภาคกลาง
ซึ่งปัจจัยที่มีผลตอโขนสดมีหลายด้าน แต่ปัจจัยที่สําคัญที่สุด มี 3 ด้านดังนี้
1. ผู้ชม ได้แก่ ผู้ว่าจ้างและคนดู ซึ่งมีอิทธิพลต่อการแสดงสูง เนื่องจากการแสดงโขนสดมิได้มีผู้อุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง ทําให้ต้องพึ่งพารายได้จากผู้ว่าจ้าง และเป็นการพิสูจน์ความสามารถของคณะแสดง การแสดงโขนสดจึงปรับเปลี่ยนพลิกแพลงให้มีเรื่องราวที่ตอบสนองความต้องการของคนดู
2. ผู้ผลิต ทั้งหัวหน้าคณะและผู้แสดง โดยเฉพาะทุนและทรัพยากรที่ผู้ผลิตเหล่านั้นมีอยู่ จะนํามาใช้สร้างสรรค์ หรือผสมผสาน ดัดแปลงการแสดงที่แตกต่างกันไปในแต่ละคณะ ในบางกรณี ตัวแสดงที่มีอยู่อาจเป็นข้อจํากัด มีผลต่อการเลือกตอนที่จะแสดง หรือต้องปรับ บทให้เหมาะสมกับสิ่งที่มี
3. ผู้อุปถัมภ์ โขนสดได้รับการอุปถัมภ์ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะเพื่อเทียบกับโขนหลวง แม้ว่าในระยะหลัง โขนสดอาจ มีหน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความสําคัญในด้านการอนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น หรือด้านของการชวยเหลือสังคม มาเป็นผูเอุปถัมภ์ แต่จะมีเป็นครั้งคราว ไม่แน่นอน จึงไม่สามารถที่จะสร้างอิทธิพลต่อโขนสดได้มากนัก









อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโขนสดจะมีการปรับตัว สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ดํารงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ แต่โขนสดในปัจจุบัน ก็เสื่อมความนิยมลงอย่างมาก มีคณะน้อยลง โดยปรากฏการณนี้เกิดจากทั้งปัจจัย การผลิตและการบริโภค เนื่องจากผู้ชมรุ่นใหม่จะสนใจการแสดงประเภทอื่นมากกวา อีกทั้งโขนสดมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้ยากกว่า เนื่องจากข้อจํากัดของเรื่องราวและรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้พละกําลัง การฝึกฝนที่ยากกว่าคู่แข่ง มีตัวแสดงและเทคนิคจํานวนมาก จึงมีต้นทุนสูง นักแสดงรุ่นใหม่จึงไม่ต้องการที่จะมาแสดงโขนสดเป็นอาชีพ แต่มาแสดงเป็นครั้งคราว จึงทําให้การแสดงโขนสดนั้นลดลงเรื่อยๆ ทั้งในด้านของคณะแสดง และความถี่ในการออกงาน
ขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ขอบคุณข้อมูลจาก: วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 12 เล่ม 1 (2559)
เรื่อง โขนสด : การประยุกต์ดัดแปลงจากโขน สู่การแสดงระดับชาวบ้าน
Khon Sod : Adapting of Traditional Khon to RuralPerformance