หมอห่วงจิตใจแรงงานไทย หลังเผชิญ เหตุการณ์สะเทือนขวัญที่อิสราเอล

หมอห่วงจิตใจแรงงานไทย หลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่อิสราเอล อาจมีผลกระทบกับอารมณ์และจิตใจ เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล และซึมเศร้า

ตั้งแต่ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 7 ต.ค.66 กลุ่มฮามาสในดินแดนปาเลสไตน์ ยิงขีปนาวุธ จากกาซา ประมาณ 5,000 ลูก ถล่มเข้าไปในประเทศอิสราเอล หรือประมาณช่วงเที่ยงตามเวลาประเทศไทย นับว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ทำให้ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตนับพันคน รวมถึงแรงงานไทยที่เข้าไปทำงานอยู่ในอิสราเอลด้วยนั้น

อิสราเอล ประกาศภาวะสงคราม หลังกลุ่มฮามาส โจมตีอย่างหนัก

วันนี้ (12 ต.ค.66) แรงงานไทยล๊อตแรกจำนวน 15 คนเดินทางกลับไทย แต่ยังมีแรงงานไทยที่เผชิญสถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสอีกกว่า 5,000 คน ที่รอเดินทางกลับไทย

หมอหมู รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไดโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอหมู วีระศักดิ์ ระบุว่า ห่วงแรงงานไทยในอิสราเอล เครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

สำหรับ PTSD (Post-traumatic stress disorder) หรือ “โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ” คือ สภาวะผิดปกติทางจิตใจที่เกิดจากการเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น สงคราม ภัยพิบัติ การถูกทำร้ายร่างกายหรือทางเพศ เหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว หรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เป็นต้น

อาการของ PTSD มักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง อาการที่พบบ่อย ได้แก่

1. ความทรงจำที่รบกวนจิตใจ ผู้ป่วยอาจรู้สึกราวกับว่าเหตุการณ์นั้นกำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง

2. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น

3. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือความโกรธ

4. ปัญหาด้านความคิด เช่น ความเข้มข้นลดลง การตัดสินใจลำบาก หรือความจำไม่ดี

5. ปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ปัญหาการนอนหลับ การใช้สารเสพติด หรือพฤติกรรมเสี่ยง

PTSD อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการทำงาน การเข้าสังคม หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

การรักษา PTSD มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ การรักษาอาจรวมถึง

1. จิตบำบัด เพื่อช่วยผู้ป่วยปรับความคิดและความรู้สึกให้เข้าใจและยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

2. ยา เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาต้านความวิตกกังวล หรือยานอนหลับ

หากมีอาการของ PTSD ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา การรักษาที่ทันเวลาจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับอาการและฟื้นตัวจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจได้

คลิปอีจันแนะนำ
แม้เป็นความหวังอันน้อยนิด ก็จะขอภาวนา ให้สามีมีชีวิตรอด เหตุโจมตี อิสราเอล