Extreme Weather ไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณเตือนอีกต่อไป

สภาพอากาศแบบสุดขั้ว ( Extreme Weather ) เมื่อสัญญาณเตือนจากโลกผ่านไปแล้ว

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) คือการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของรูปแบบสภาพอากาศในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งคงอยู่เป็นเวลานับทศวรรษหรือยาวนานกว่านั้น โดยอาจมีสาเหตุหลายประการสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเกิดจาก ภาวะโลกร้อน (Global Warming) จากการเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) ในบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์

เมื่อการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ extreme weather สภาพอากาศแบบสุดขั้วและภัยธรรมชาติต่างๆ กำลังส่งผลกระทบต่อการเกษตร ความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่แย่ลง และทำให้เกิดการพลัดถิ่นของผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่มีความเปราะบางจำนวนมหาศาล โดยความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตลอดจนระบบนิเวศที่สูญเสีย

ล่าสุดอีจันได้มีโอกาสสอบถาม ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลว่า เมื่อปี 2021 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ซึ่งอุณหภูมิฐานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.1-1.2 องศาเซลเซียสเหนือกว่าระดับในปี 1850 -1900 ก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม

โดยการที่โลกร้อนถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าสังเกตุไม่ได้อยู่ที่ว่าโลกร้อนมากแค่ไหน แต่อยู่ที่โลกร้อนเร็วแค่ไหน แต่สาเหตุนั้นเกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งในอดีตโลกไม่ได้ร้อนขึ้นเร็วขนาดนี้ ช่วงของการที่ร้อนเร็วมันคือการเปลี่ยนแปลง แต่ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า extreme weather หรือ สภาพอากาศสุดขั่ว ส่วนรูปแบบที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น Heat wave ความแห้งแล้งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ฝนที่ตกหนักขึ้นเยอะมากในเวลาสั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

สำหรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเมื่อโลกร้อนขึ้นทำให้น้ำทะเลก็ร้อนขึ้น การระเหยของน้ำในทะเลก็มีมากขึ้น เมื่อไอน้ำลอยขึ้นในอากาศร้อนที่เก็บไอน้ำได้มากกว่าอากาศเย็น ฉะนั้นถ้าเทียบเมฆในยุค100 กว่าปีก่อนที่เก็บไอน้ำได้น้อยกว่าในยุคนี้ ดังนั้นเมื่อเมฆจุไอน้ำไว้มากขึ้น จึงทำให้เวลาตกจะมีปริมาณน้ำที่มากปัญหาที่ตามมา เมื่อกตกในพื้นที่เล็กๆในช่วงเวลาสั้นๆส่งผลให้มีปริมาณน้ำมหาศาล จึงทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่ายขึ้น อาจจะเห็นได้จากเหตุการณ์ ทั้งอเมริกา หรือ เกาหลีใต้ที่กรุงโซล ที่เกิดอุทกภัยหนักอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือประเทศไทยที่ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นร้อยกว่ามิลลิตรในเวลาเพียงสั้นๆ

กลายเป็นภัยพิบัติที่จะสร้างผลกระทบสาหัส โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเห็นชัด ปากีสถาน เจอมหาอุทกภัย จากสภาพอากาศเช่นนี้ ไม่ใช่เพียงฝนตกหนัก 8 สัปดาห์รวด ปริมาณน้ำจากฟ้ามากกว่าค่าเฉลี่ยเป็นเท่าๆ ยังรวมถึงธารน้ำแข็งบนหิมาลัยที่ละลายแบบไม่เคยเกิดมาก่อน ปากีสถานเป็นประเทศที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลก (ไม่นับแถบขั้วโลก) น้ำจากยอดเขาไหลทะลักมารวมน้ำฝน เกิดเป็นอุทกภัยทำให้ผู้เสียชีวิตนับพัน คน 33 ล้านคนเดือดร้อน แหล่งเกษตรเสียหายยับเยิน ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเกินความสามารถประเทศที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ทางการเงินไม่ดี

ทั้งนี้เมื่อธรรมชาติไม่ได้เพียงแค่ส่งสัญญาณเตือนอีกต่อไป เรื่องที่ใกล้ตัวที่ถูกละเลยต้องเริ่มได้รับการแก้ไข แต่จะมากจะน้อยแค่เริ่มจากตัวเราสิ่งเล็กๆบางทีก็อาจจะเปลี่ยนโลกให้ดีกว่าได้ เพียงแค่เทียบกับสิ่งที่รอเราอยู่ จงตระหนักรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ให้มากขึ้น จะเลือกที่จะเปลี่ยนหรือเลือกที่จะทนอยู่ สุดแล้วแต่ตัวคุณตัดสินใจ

ขอบคุณข้อมูล : greenpeace.org , เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat , ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ , greennetwork , การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของประเทศไทย

คลิปอีจันแนะนำ
ลืม จน ตาย ลืมนักเรียนไว้บนรถ