“ประธานสภาผู้แทนราษฎร” มีบทบาทหน้าที่อะไร

ทำความเข้าใจ อำนาจหน้าที่ของ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ก่อนมีนายกรัฐมนตรี ต้องมีประธานสภาผู้แทนราษฎรก่อน

หลังเลือกตั้ง 2566 เมื่อวันที่ 14 พ.ค.66 เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคก้าวไกล ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1 จึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 2566

โดยไทม์ไลน์การจัดตั้งรัฐบาล 2566 คือ

– หลังจัดให้มีการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566

-ภายใน 13 กรกฎาคม 2566 กกต. ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.ครบ 500 คน

-ก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 เปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร โหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

-จากนั้นปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

-และต้นเดือนสิงหาคม 2566 จัดตั้งรัฐบาล ทูลเกล้าฯ รายชื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ตามขั้นตอนการจัดตั้งรัฐบาลต้องเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร แล้วโหวตเลือก “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” และ “รองประธานสภาผู้แทนราษฎร”

ขั้นตอน คือ

1.เสนอชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร

2.ส.ส.รับรองไม่น้อยกว่า 20 คน

3.หากมีการเสนอชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวก็สามารถรับตำแหน่งได้ทันที

4.หากมีการเสนอชื่อมากกว่า 1 คน ก็จะลงคะแนนลับ จากนั้นนับคะแนน คนที่ได้คะแนนมากสุดจะได้ตำแหน่ง

5.จากนั้นเข้าสู่การเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 ตามลำดับในวิธีเดียวกัน

เมื่อได้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วนายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก็จะลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นประธานสภาผู้แทนราษฎร จะเปิดประชุมสภาเพื่อเรื่องนายกรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่ของ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร”

ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ

ประธานสภา รองประธานสภา ไว้ในหมวด 2 ดังนี้

ประธานสภา มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. เป็นประธานของที่ประชุมสภา

2. กำกับดูแลการดำเนินกจการของสภา

3. ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภา ตลอดถึงบริเวณสภา

4. เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก

5. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา

6. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

รองประธานสภา มีอำนาจและหน้าที่ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภาหรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

ในกรณีที่มีรองประธานสภาสองคน ให้รองประธานสภาคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา ถ้ารอบประธานสภาคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาคนที่สอบเป็นผู้ปฏิบัติ หน้าที่แทนประธานสภา

อ้างอิงข้อมูล : https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=16068

คลิปอีจันแนะนำ
พรรคร่วม เห็นพ้อง โหวตพิธาเป็นนายกฯ