พลเมืองดี โพสต์ถาม ช่วยคน รอดตาย ผิดเหรอ?

พลเมืองดี ติดใจ ช่วยคน รอดตาย แต่ เจ้าหน้าที่ตำหนิ ทำโดยพลการ

เห็นคนจะตายตรงหน้า…ไม่ช่วยได้หรือ?

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Pchd Flluqe ได้โพสต์ถามว่า “ผมผิดเหรอ ที่ช่วยคนจมน้ำ”

เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ (2 พ.ย. 64) เวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง เจ้าของโพสต์เล่าว่า

“มีผู้หญิงกระโดดน้ำอยู่หนองประจักษ์ แล้วมีน้องผู้ชายที่มาด้วยกันกระโดดลงไปช่วย เวลานั้นพวกผมนั่งอยู่ข้างๆเลยลงไปช่วย คือน้องสองคนจะจมแล้วพอดีว่าช่วยทัน ประเด็นคือมีปกครองหรืออะไรสักอย่างขี่รถมาตรวจ แล้วผมเลยแจ้งไปว่ามีคนโดดน้ำ แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าพวกผมทำผิดที่ลงไปโดยพลการ ต้องแจ้งก่อน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ จะโดดลงไปช่วยแบบนี้ไม่ได้

เเล้วพวกผมก็ไม่ได้โดดลงไป พวกผมไปดึงมือคนที่โดดน้ำกับคนที่โดดลงไปช่วยขึ้นมา เเล้วกลุ่มคนข้างต้นที่พูดถึง ที่มาว่าพวกผม ก็มายืนว่าพวกผมทั้งๆ ที่พวกผมไปดึงมือเขาขึ้นมาแท้ๆ แต่กลับมาบอกพวกผมทำโดยพลการ มาว่าพวกผมว่าไม่โทรแจ้ง เอาตามจริงจมน้ำแค่สามสิบวินาทีก็ไม่น่ารอดแล้วครับ เพราะตอนพวกผมไปดึงแขนเขากำลังจะจมลงไปทั้งสองเเล้ว ผมผิดหรือแบบนี้”

แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าของโพสต์และเพื่อนๆได้ช่วยผู้หญิงที่กระโดดลงน้ำไว้ได้ ปลอดภัยกันทุกคน

ทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวนี้

ในมุมของเจ้าหน้าที่ อาจจะตำหนิเจ้าของโพสต์ เพราะเป็นห่วง กลัวว่าหากกระโดดลงน้ำไปช่วยโดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ด้วย อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นกับเจ้าของโพสต์ด้วยก็ได้ค่ะ

ซึ่งเรื่องนี้ จันขอเพิ่มเติมข้อมูล ในด้านกฎหมาย ให้ได้ทราบกันสักนิด

ตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐาน “ละเว้น” และ “งดเว้น”

มาตรา 374

ผู้ใด เห็นผู้อื่น ตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่ง ตนอาจช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตราย แก่ตนเอง หรือ ผู้อื่น แต่ไม่ช่วย ตามความจำเป็น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 59 วรรคท้าย

การกระทำ ให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผล อันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้น การที่จักต้องกระทำ เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย

กฎหมาย 2 มาตรานี้ เหมือนจะบังคับให้เราเป็นพลเมืองดีนิดๆ หรือห้ามนิ่งเฉยกับภยันตรายตรงหน้าของบุคคลอื่น ซึ่งหากมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง แต่กลับนิ่งเฉยหรือไม่พยายามช่วยก็อาจเป็นความผิดเนื่องจาก “งดเว้น” การกระทำ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ป้องกันเหตุร้ายโดยตรง

แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง แต่สามารถเข้าไปช่วยได้ แต่ไม่ช่วย ซึ่งหากไม่ยอมเข้าไปช่วยก็อาจเป็นความผิดอาญาได้เช่นกันเนื่องจาก “ละเว้น” การกระทำ แต่ก็ใช่ว่าต้องช่วยทุกคนนะคะ หากเราพิจารณาแล้วว่าหากเราช่วย แล้วจะทำให้ภยันตรายนั้นตกแก่เรา ให้เร่งแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือแทน

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักกฎหมาย อริยะภัทรากุล ทนายความ

คลิปแนะนำอีจัน
เพื่อนสนิทคิดไม่ซื่อ