ศัลยแพทย์อินเดีย เตรียมปลูกถ่ายมดลูก ให้ผู้หญิงข้ามเพศ ครั้งแรกในโลก

ศัลยแพทย์อินเดีย เตรียมปลูกถ่ายมดลูก ให้ผู้หญิงข้ามเพศ ครั้งแรกในโลก ซึ่งเชื่อว่าการผ่าตัด ปลูกถ่ายมดลูก ไปยังหญิงข้ามเพศจะสามารถทำได้จริง

ล่าสุด ศัลยแพทย์ในนิวเดลี ประเทศอินเดียเปิดเผยข้อมูล การผ่าตัดปลูกถ่ายมดลูกให้กับผู้หญิงข้ามเพศ และหวังว่าผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายจะสามารถตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกับผู้หญิงทั่วไป แม้ว่าขั้นตอนดังกล่าวอาจฟังดูอยู่เหนือขอบเขตความสามารถทางการแพทย์ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ การผ่าตัดปลูกถ่ายมดลูกไม่ใช่เทคโนโลยีแปลกใหม่แต่อย่างใด โดยเคยมีการทำการผ่าตัดจริงกับมนุษย์คนแรกของโลก ที่ได้รับการปลูกถ่ายมดลูกคือผู้หญิงทรานส์ที่ชื่อ ลิลี เอลเบ (Lili Elbe) ศิลปินข้ามเพศชาวเดนมาร์ก โดยเขาได้รับการปลูกถ่ายในปี 1931 แต่เสียชีวิตหลังจากการปลูกถ่ายเพียง 3 เดือนจากภาวะหัวใจวายและติดเชื้อ แต่หลังจากนั้นในปี 2014 วิทยาการเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าขึ้น การปลูกถ่ายมดลูก ก็เริ่มมีข่าวดีตามมาบ้างซึ่งมีการผ่าตัดใน ‘ผู้หญิงแท้’ สำเร็จมาแล้ว

โดยมีการปลูกถ่ายมดลูกให้แก่ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง ซึ่งมีภาวะการเจริญเติบโตผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ Rokitansky-Küster-Hauser (MRKH) syndrome ส่งผลให้ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีมดลูกเหมือนหญิงทั่วไป หลังจากการปลูกถ่ายแล้วเธอสามารถตั้งครรภ์จนให้กำเนิดบุตรได้ตามปกติ และยังมีผู้หญิงที่มีปัญหาด้านมดลูก และได้รับการปลูกถ่ายมดลูกใหม่ จนสามารถคลอดลูกออกมาอย่างปลอดภัยได้ในปี 2018

ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า มดลูกที่ได้รับการปลูกถ่าย นั้นสามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรออกมาได้อย่างปลอดภัย ส่วนจะหามดลูกจากไหนนั้น ก็มีด้วยกัน 2 วิธี คือจากมดลูกของผู้หญิงที่แปลงเพศเป็นผู้ชายข้ามเพศ หรือเอามดลูกจากผู้เสียชีวิตที่บริจาคอวัยวะแต่ความท้าทายยังมีอีกมาก เพราะผู้หญิงข้ามเพศที่ปลูกถ่ายมดลูกต้องมีการพักฟื้นที่นาน และต้องได้รับการดูแลและบำบัดด้วยฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้น ถ้าจะมีลูก ก็ต้องมีการเพิ่มฮอร์โมน และการดูแลอีกหลายอย่าง และสุดท้ายผู้หญิงข้ามเพศอาจคลอดลูกแบบธรรมชาติเองไม่ได้

ด้าน นพ.นเรนทรา เคาชิก (Narendra Kaushik) ผู้บริหารสถาบันศัลยกรรมแปลงเพศ (Olmec Transgender Surgery Institute) เชื่อว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายมดลูกไปยังหญิงข้ามเพศจะสามารถทำได้จริง และจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้หญิงข้ามเพศ แม้ว่าการสำรวจพบว่ากลุ่มคนข้ามเพศ จะไม่ได้มีการผลักดันการผ่าตัดมากนัก แต่การสำรวจผู้หญิงข้ามเพศในปี 2564 พบว่า 90% ของผู้หญิงข้ามเพศเชื่อว่าการปลูกถ่ายมดลูกจะช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย และเพิ่มเติมความรู้สึกเป็นผู้หญิงให้สมบูรณ์ขึ้นรวมถึงการเป็นแม่คนด้วย ส่วนการปลูกถ่ายมดลูกนั้นก็ไม่ต่างจากการปลูกถ่ายไตหรือการปลูกถ่ายอวัยวะอื่นๆ” ดร.เคาชิก กล่าว

นพ.นเรนทรา เคาชิก กล่าวอีกว่า สำหรับการผ่าตัดยังไม่ได้มีการกำหนดเวลา และการจะตั้งครรภ์ได้นั้นจะต้องใช้วิธีผสมเทียมจึงจะตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากมดลูกจะไม่ได้เชื่อมต่อผ่านท่อนำไข่ไปยังช่องคลอด และภาวะแทรกซ้อนอีกประการหนึ่งที่หญิงข้ามเพศ อาจเผชิญหลังการผ่าตัดก็คือ โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงที่เป็นสตรีจะมีกระดูกเชิงกรานที่กว้างกว่า ซึ่งช่วยในการคลอดบุตร ส่วนกระดูกเชิงกรานของผู้ชายแคบกว่าผู้หญิงโดยทั่วไป อาจต้องใช้วิธีการผ่าคลอด

สำหรับเรื่องราวนี้คงเผยให้เห็นถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่ก้าวมาไกลพอจะสร้างความมั่นใจให้กับศัลยแพทย์ในยุคนี้ก็ตาม แต่ก็ยังมีขอบเขตและข้อจำกัดอีกไม่น้อยในการจะเริ่มการปลูกถ่ายอวัยวะ ทั้งในเรื่องความขัดแย้งทางสิทธิ หรือจะแง่กฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน รวมถึงความเสี่ยงที่ยังมีอีกมากต่อผู้รับการผ่าตัด ดังนั้นถ้าความสำเร็จนี้เกิดขึ้นคงเป็นสิ่งที่ต้องจารึกในหน้าประวัติศาสตร์ที่สร้างคุณประโยชน์ไม่น้อยต่อ ผู้หญิงข้ามเพศและผู้หญิงแท้

อ้างอิง เพิ่มเติม

christian.org.uk / Pro-trans surgeon: ‘Give men wombs so they can have babies


iflscience / Surgeon Is Planning To Transplant A Uterus Into A Transgender Woman


Mirror. Doctor planning risky womb transplant to allow transgender woman to carry a baby.


smh // Why people are up in arms about The Lancet’s ‘bodies with vaginas’ cover

คลิปอีจันแนะนำ
ฝันใกล้เข้ามาเเล้ว โรงเรียนนี้เพื่อน้อง