เปิดประวัติ สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 แห่ง ราชวงศ์อังกฤษ

เปิดประวัติ สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 แห่ง ราชวงศ์อังกฤษ สวรรคตด้วยพระชนมพรรษา 96 พรรษา หลังครองราชย์ครบ 70 ปี

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กษัตริย์ผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของสหราชอาณาจักรเสด็จสวรรคตแล้ว ที่ปราสาทบัลมอรัล ในสกอตแลนด์ ขณะมีพระชนมพรรษา 96 พรรษา หลังจากทรงครองราชย์มา 70 ปี

พระราชประวัติ

เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พระยศในขณะนั้น) เป็นพระราชธิดาองค์แรกในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก (ภายหลังขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6) กับเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งยอร์ก (ภายหลังเป็น สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี) พระราชบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชมารดา

เจ้าหญิงเอลิซาเบธประสูติโดยการคลอดแบบผ่าท้องเมื่อเวลา 2.40 น. (ตามเวลากรีนิช) ของวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1926 ณ บ้านเลขที่ 17 ถนนบรูตัน เมย์แฟร์ กรุงลอนดอนต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม ทรงเข้ารับ พิธีบัพติศมา นิกายคริสตจักรเเห่งอังกฤษจากคอสโม กอร์ดอน แลง อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก ณ โบสถ์ส่วนพระองค์ภายในพระราชวังบักกิงแฮม และได้รับพระนาม “เอลิซาเบธ” เมื่อทรงพระเยาว์พระประยูรญาติสนิททรงเรียกพระองค์ว่า “ลิลิเบ็ต”

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์พระองค์ประทับ ณ กรุงลอนดอน เมื่อทรงพระชนมายุได้ 6 พรรษา พระบิดาได้พระราชทานพระตำหนักในวินด์เซอร์เกรทพาร์คให้เป็นที่ประทับนอกเมือง พระองค์ทรงได้รับการศึกษาชั้นต้น ณ ที่ประทับ และเมื่อพระบิดาได้เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงต้องทรงศึกษา ทางด้านประวัติศาสตร์ และกฎหมาย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นกษัตริย์ในอนาคต นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงศึกษาทางด้านศิลปะ ดนตรี และเรียนการขี่ม้า ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกีฬาที่ทรงโปรดปราน พระองค์มีพระสหายชื่อ โรสเลเวนา มิโนลาช

เมื่อพระราชบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระปิตุลาของพระองค์ ได้ทรงสละราชสมบัติ ทำให้ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พระยศในขณะนั้น) พระองค์จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมา

ช่วงปี 2494 พระพลานามัยของพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงเสื่อมถอย และบ่อยครั้งที่ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ต้องเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ และในช่วงต้นปี 2495 “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” เตรียมเสด็จเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยเสด็จเยือนเคนยาก่อน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2495 เมื่อเพิ่งเสด็จถึงที่ประทับ ข่าวการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 หลังจาก สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาสวรรคต ในคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1952 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี เเห่งยอร์ก จึงเสด็จขึ้นครองราชย์

พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดของบริเตน เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2015 พระองค์เป็นประมุขแห่งรัฐบริเตนที่ทรงราชย์นานที่สุด แซงหน้ารัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ และเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์

แม้ว่าเจ้าหญิงเอลิซาเบธได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ แล้ว แต่ก็เป็นเวลาอีก 16 เดือนกว่าจะถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ ในขณะที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระองค์มีพระชนมายุ 25 พรรษา ทรงร่วมพระราชพิธีบรมราชินยาภิเษกจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสมินสเตอร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พระราชพิธีนี้ได้ถ่ายทอดไปทั่วโลกพระองค์พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวอังกฤษว่า

“ในพิธีบรมราชาภิเษกวันนี้ ข้าพเจ้าขอประกาศว่า ข้าพเจ้าพร้อมอุทิศชีวิตเพื่อประชาชนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตาม ให้ช่วยสวดภาวนาให้ข้าพเจ้า ในวันที่ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกษัตริย์เเห่งอังกฤษ สวดภาวนาให้พระเป็นเจ้าประทานพระปัญญาญาณเเละความเข้มเเข็งให้ข้าพเจ้าสามารถปฏิบัติราชกิจลุล่วงตามที่ข้าพเจ้าได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้ เเละข้าพเจ้าพร้อมรับใช้พระเป็นเจ้าเเละประชาชนของข้าพเจ้า ทุกคนตลอดที่ข้าพเจ้ายังมีลมหายใจ”

ในช่วงหลังสงคราม เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงพบกับอุปสรรคในเรื่องที่มีพระประสงค์จะอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลิปอย่างมาก โดยหลายฝ่ายคัดค้านว่าเจ้าชายฟิลิปนั้นเป็นชาวต่างชาติ รวมทั้งมีพระอุปนิสัยโผงผางไม่เหมาะสมกับราชสำนัก แต่ในที่สุดพระเจ้าจอร์จที่หกทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสได้ โดยพระราชพิธีมีขึ้นที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ เมื่อ 20 พ.ย. 1947

ในเวลาต่อมา สมเด็จพระราชินีนาถฯ ได้ตรัสถึงพระราชสวามีว่าเป็นดั่ง “ขุมพลังแข็งแกร่งที่ช่วยให้ข้าพเจ้ายืนหยัดอยู่ได้” ตลอดระยะเวลา 74 ปีที่ทรงครองคู่กัน ก่อนที่เจ้าชายฟิลิปจะสิ้นพระชนม์ในปี 2021 ขณะมีพระชนมายุ 99 พรรษา

พระราชกรณียกิจ

พระราชินีนาถทรงเริ่มต้นปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระราชดำรัสออกอากาศ ในรายการสำหรับเด็กในประเทศอังกฤษ และเครือจักรภพตั้งแต่พระชนมายุได้ 16 พรรษา และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจครั้งแรก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ในฐานะนายทหารยศพันเอกแห่งกองทหารราบรักษาพระองค์ โดยทรงตรวจพลสวนสนามและยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก และเยาวชนอีกมากมาย หลังจากที่ครบรอบพระชนมายุ 18 พรรษาได้ไม่นาน พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐบาล และได้เริ่มปฏิบัติพระราชกรณียกิจแห่งองค์รัชทายาทเป็นครั้งแรก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารนอกประจำการ พระราชกรณียกิจของพระองค์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเสด็จประพาสภายในและนอกประเทศ พระราชกรณียกิจในระหว่างการเยือนนี้ เป็นช่วงที่ครบรอบวันประสูติปีที่ 21 ซึ่งพระองค์ได้ทรงแถลงการณ์ออกอากาศ ประกาศเจตนารมณ์ที่จะอุทิศพระองค์ เพื่อภารกิจของประเทศในเครือจักรภพ และในปีเดียวกันนี้เอง ที่พระองค์ทรงประกาศหมั้นกับ “เรือโทฟิลลิปส์ เมาท์แบทเท็น” (ต่อมาคือเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ) โดยพระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 พระองค์ทรงแถลงการณ์ซ้ำอีกครั้งถึงเจตนารมณ์ ที่จะอุทิศพระองค์เพื่อภารกิจของประเทศในวันเสด็จขึ้นครองราชย์

สมเด็จพระราชินีนาถฯ ทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรสพระองค์แรกคือ เจ้าชายชาลส์ ซึ่งปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “เจ้าชายแห่งเวลส์” ประสูติเมื่อปี 1948 พระองค์ที่สองเป็นพระราชธิดา มีพระนามว่าเจ้าหญิงแอนน์ ประสูติเมื่อปี 1950 ซึ่งปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ราชกุมารี” พระราชโอรสพระองค์ที่สามคือเจ้าชายแอนดรูว์ ประสูติเมื่อปี 1960 ปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ดยุกแห่งยอร์ก” และพระราชโอรสพระองค์เล็กคือเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ซึ่งประสูติในปี 1964 ปัจจุบันดำรงพระอิสริยยศเป็น “เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์”

ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญสมเด็จพระราชินีนาถจะทรงไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง หรือแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่พระองค์สนพระทัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับงานบริหารราชการของรัฐบาลเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2562 พระองค์ทรงแทรกแซงความขัดแย้งทางการเมืองอย่างที่ไม่ค่อยปรากฏนัก โดยทรงประกาศพักการประชุมรัฐสภาจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ตามคำร้องขอของนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันในขณะนั้น ในขณะที่เหลือเวลาเพียงไม่ถึง 3 สัปดาห์ก่อนที่สหราชอาณาจักรจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสมเด็จพระราชินีนาธเอลิซาเบธที่ 2 ทรงพยายามปกป้องภาพลักษณ์ของระบอบกษัตริย์และพระราชวงศ์อย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ก็มีมรสุมท้าทายราชวงศ์ครั้งแล้วครั้งเล่า

คลิปอีจันแนะนำ
R.I.P. น้องฟิล์ม ของ สุพรรษา