“รีชี ซูนัก” ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสหราชอาณาจักร คนที่ 57

ผู้นำพรรคอนุรักษนิยม “ริชี ซูนัก” เตรียมนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสหราชอาณาจักร คนที่ 57 ผู้ที่จะมาเผชิญความท้าทายวิกฤตภายในประเทศ

สำนักงานข่าวซินหัวรายงาน เมื่อวันจันทร์ (24 ต.ค.) ริชี ซูนัก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหราชอาณาจักร สามารถคว้าตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ และจะขึ้นรับตำแหน่งแทนที่ ลิซ ทรัสส์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศอังกฤษ

โดย “ริชี ซูนัก” เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งเพียงคนเดียวที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภานิติบัญญัติถึง 100 คน ก่อนเส้นตาย 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้เข้ากลายเป็นผู้ชนะโดยอัตโนมัติ ขณะเพนนี มอร์เดินท์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งอีกคนและประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพียงพอด้านบอริส จอห์นสัน อดีตนายกรัฐมนตรี ถอนตัวออกจากแข่งขันช่วงคืนวันอาทิตย์ ( 23 ต.ค.) แม้อ้างว่าตนมีเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภานิติบัญญัติของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ 102 คน

ด้าน จอห์นสันกล่าวว่าขณะนี้ “ไม่ใช่เวลาเหมาะสม” ที่จะแข่งขันชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ เพราะ “ผู้ชนะจะไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่มีพรรคที่สามัคคีกันในรัฐสภา” อนึ่ง การแข่งขันดังกล่าวเริ่มขึ้นหลังทรัสส์ประกาศลาออกในวันพฤหัสบดี (20 ต.ค.) หลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียงหกสัปดาห์กว่า โดยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัสส์ที่เรียกว่า “งบประมาณแผ่นดินฉบับย่อ” (mini-budget) ถูกกล่าวหาว่าก่อให้เกิดความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและทำให้พรรคคอนเซอร์เวทีฟเสียคะแนนนิยม

ขณะที่ก่อนหน้านี้ซูนักพ่ายแพ้ให้กับทรัสส์ในการแข่งขันชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ ครั้งแรกของเขา ซึ่งเกิดขึ้นหลังการลาออกของจอห์นสันเนื่องด้วยประเด็นข่าวอื้อฉาว โดยซูนัก วัย 42 ปี ถือเป็นบุคคลเชื้อสายอินเดียคนแรกที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ซูนักต้องรับผิดชอบจัดการเศรษฐกิจที่ใกล้เข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องด้วยปัญหาจากวิกฤตพลังงาน วิกฤตค่าครองชีพ และภาวะเงินเฟ้อแบบคุมไม่อยู่ที่ไม่อาจแก้ไขได้โดยง่าย

ทั้งนี้รายงานระบุว่าวิธีแก้ปัญหาด้วยการกู้ยืมเงินเพื่อลดภาษีของทรัสส์ประสบความล้มเหลวในการพลิกสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยกลยุทธ์เศรษฐกิจดังกล่าวทำให้ค่าเงินปอนด์ของสหราชอาณาจักรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 37 ปี พร้อมผลักดันต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านให้สูงพุ่งพรวดอีกด้วย

โดย ซูนัก แถลงข่าวครั้งแรกในฐานะหัวหน้าพรรคคอนเวอร์เซทีฟว่าสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจระดับรุนแรงอย่างไม่ต้องสงสัย และขณะนี้ประเทศต้องการเสถียรภาพและความสามัคคี ซึ่งเขาจะให้ความสำคัญสูงสุดในการรวมพรรคฯ และประเทศเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยด้านพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งรวมถึงพรรคแรงงาน พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และพรรคชาติสกอต (SNP) ต่างรีบเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่าประชาชนในประเทศควรได้เลือกผู้นำประเทศ แทนที่จะเป็นเพียงการตัดสินใจโดยสมาชิกพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

ขณะที่ ซูนัก จะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนลิซ ทรัสส์ ที่ประกาศลาออกเมื่อวันที่ 20 ต.ค. หลังดำรงตำแหน่งได้เพียงไม่ถึง 2 เดือน แต่โฆษกของทรัสส์ บอกว่า การถ่ายโอนอำนาจจะยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้ (24 ต.ค.)  โดย ซูนัก แถลงในฐานะหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมครั้งแรกที่สำนักงานของพรรคในกรุงลอนดอน โดยกล่าวยกย่องทรัสส์สำหรับความเป็นผู้นำภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากทั้งในประเทศและต่างประเทศ


นอกจากนี้ ยังระบุว่า สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ แต่ต้องเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจครั้งรุนแรง พร้อมกับเรียกร้องให้เกิดเสถียรภาพและเอกภาพภายในประเทศ และให้คำมั่นว่าจะรับใช้ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์และความนอบน้อม รวมทั้งจะทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อรับใช้ประชาชนชาวอังกฤษ

เมื่อซูนักดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 57 จะต้องเผชิญความท้าทายในการสร้างเสถียรภาพ หลังจากอังกฤษประสบกับความยุ่งเหยิงทางการเมือง และความผันผวนของตลาดเงินครั้งประวัติศาสตร์ ทั้งยังต้องบริหารเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะถดถอย ก่อนหน้านี้ ในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ซูนักหาเสียงโดยชูนโยบายช่วยเหลือครัวเรือนต่อสู้กับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น และสัญญาว่าจะลดภาษีเมื่อเงินเฟ้อลดลง

อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่าซูนักว่าจะเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในพระราชวังบัคกิงแฮม ซึ่งเขาจะได้รับเชิญให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ แม้กำหนดการเข้าเฝ้ายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ขณะโฆษกของทรัสส์กล่าวว่ายังไม่มีการส่งมอบตำแหน่งนากยกรัฐมนตรีให้ซูนักในวันจันทร์ (24 ต.ค.) ที่ผ่านมา

คลิปแนะนำอีจัน
น้ำท่วมปีนี้ยาวไปจนถึงปีหน้า