ประกันสังคมปรับเกณฑ์ใหม่ “เงินชราภาพ” ผู้ประกันตน ม.33 ไม่ควรพลาด !

ประกันสังคมปรับเกณฑ์ใหม่ “เงินชราภาพ” ผู้ประกันตน ม.33 ควรทำความเข้าใจ ข้อดีขอเสียก่อนตัดสินใจ

ประกันสังคมปรับเกณฑ์ใหม่ (ร่าง) พ.ร.บ.ประกันสังคม ก่อนขอเบิก “เงินชราภาพ” ที่ผู้ประกันตน ประกันสังคม ม.33 เปิดช่องทางเลือกวางแผนได้ตามต้องการ มาทำความเข้าใจ หลักการ เหตุผล และข้อดี ข้อสังเกต

วิธีเช็ก “เงินชราภาพ” สะสมไว้เท่าไรแล้ว ? 

ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะถูกหักเงินเดือนเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม 5% ของรายได้ทุกๆ เดือน ซึ่งเงินส่วนที่ถูกหักออกไปนั้นจะถูกแบ่งออกไปสมทบ 3 ส่วน เพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตของผู้ประกันตนในมิติต่างๆ คือประกันเจ็บป่วย หรือตาย, ประกันการว่างงาน และประกันชราภาพ

เช่น มีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม เดือนละ 750 บาท (อัตราสูงสุด) โดยเงินจะถูกแบ่งออกไปตามสัดส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 : 1.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 225 บาท จะใช้ในส่วนประกันเจ็บป่วย หรือตาย 

ส่วนที่ 2 : 0.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 75 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันการว่างงาน 

ส่วนที่ 3 : 3% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 450 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันชราภาพ 

ซึ่งเงินที่ถูกสมทบในกลุ่มสุดท้ายที่เรียกว่า “เงินชราภาพ” นี้ จะถูกสะสมไปเรื่อยๆ โดยมีนายจ้างสมทบเพิ่มเท่ากับลูกจ้าง และรัฐบาลช่วยสมทบให้อีก 2.75%

ถือเป็นโอกาสของ ผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม ม.33 หลังที่ประชุม ครม. เมื่อ 10 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบ (ร่าง) พ.ร.บ.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน โดยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ใน ร่าง พ.ร.บ. ชุดนี้ คือ การมีโอกาสเลือกว่าจะรับเงินที่สมทบในส่วน “เงินชราภาพ” เป็นเงิน “บำเหน็จ” ที่หมายถึงการรับเงินก้อนเดียว หรือ “บำนาญ” แบบทยอยจ่ายไปตลอดชีวิต

เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตน นำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันการกู้เงินรวมถึงปรับเกณฑ์ให้สามารถขอนำเงินบางส่วนออกมาใช้ก่อนได้ ถึงแม้ผู้ประกันตนจะสามารถเลือกรับเงินสะสมของตัวเองได้ สำหรับสิ่งที่ผู้ประกันตนควรจะคำนึงถึงในการตัดสินใจเลือก “บำเหน็จชราภาพ” กับ “บำนาญชราภาพ” มีข้อดีข้อด้อยที่ต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจเลือก ให้สอดคล้องกับแผนชีวิตของตัวเอง เพื่อให้มั่นใจว่าการเลือกรับเงินจะไม่ส่งผลกระทบในอนาคตได้

โดยกำหนดให้ผู้ประกันตนมีโอกาสเลือกบริหารจัดการเงินที่สะสมไว้เพื่อโอกาสต่างๆ มากขึ้น กับเกณฑ์ใหม่ “3 ขอ”

  1. เลือกรับเงินบำนาญชราภาพ หรือเงินบำเหน็จชราภาพ เมื่อนำส่งเงินสมทบครบเงื่อนไขการได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน (ณ เดือนพ.ค.65) การรับเงินชราภาพ ของผู้ประกันตนประกันสังคมนั้นจะเน้นการให้เงินแบบ บำนาญชราภาพ โดยจะได้สิทธินี้ก็ต่อเมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ส่วนเงินบำเหน็จชราภาพนั้นจะได้สิทธิเฉพาะกรณี คือ คนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือกรณีเป็นผู้ทุพพลภาพหรือตายก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์จะได้รับเงินเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ 

  2. การขอกู้ ผู้ประกันตนนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ เช่น หากตรวจสอบดูว่าเรามีเงินชราภาพอยู่ในระบบ แต่ไม่มีเงินสด ไม่มีเครดิตจะไปกู้สถาบันการเงิน ถ้าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่าน ผู้ประกันตนสามารถไปกู้สถาบันการเงิน โดยกระทรวงแรงงานจะใช้สิทธิในเงินชราภาพไปค้ำประกันได้ เปรียบเทียบกับผู้ประกันตนมีหลักทรัพย์ใช้ค้ำประกันได้ชัวร์ยิ่งกว่าที่ดิน ก็คือ เงินที่หักไปให้ประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์เพราะเมื่อถึงเวลาที่เราจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่ต้องอาศัยกู้เงินนอกระบบ

  3. การขอคืน สามารถนำเงินกรณีชราภาพที่ตนสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วน ในส่วนของการ ขอคืน สามารถนำเงินกรณีชราภาพที่สมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วน พร้อมชี้แจงว่าการนำเงินออกมาใช้ก่อนจะไม่กระทบเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม เพราะการขอคืนก็ต้องมีเหตุจึงขอคืนได้เลย เพราะต้องเกิดวิกฤติ เช่น สถานการณ์โควิด ถูกล็อกดาวน์ และเป็นวิกฤติของโลก จึงออกเป็นกฎหมายนี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตาม ยังต้องคอยติดตามรายละเอียดต่อไปว่าการขอนำเงินประกันชราภาพออกมาใช้ในวิกฤติครั้งนี้จะมีเงื่อนไขอะไรอย่างไรอีกบ้าง โดยเงินสะสมประกันชราภาพนี้สามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เข้าสู่เว็บไซต์ “ประกันสังคม” www.sso.go.th 

2. เลือกเมนู เข้าสู่ระบบ (กรณีไม่เคยลงทะเบียนสามารถกด สมัครสมาชิก ก่อนให้เรียบร้อย)

คลิปแนะอีจัน
เงินชราภาพ