วิธีการรับมือ #ไฟทอปธอรา ในทุเรียน

#ไฟทอปธอรา ในทุเรียน โรคร้ายที่ชาวสวนทุเรียนต้องรู้

ภัยสวนทุเรียนที่อันตราย มือใหม่ต้องรู้และเตรียมรับมือ เชื้อจุลินทรีย์ที่เรียกว่า ไฟทอปธอรา เหมือนมะเร็งร้ายของทุเรียนนะโรครากเน่า โรคโคนเน่า แต่ในความเป็นจริง เชื้อไฟทอปธอรา สามารถก่อให้เกิดอาการโรคได้ทุกส่วนของต้นโดยทั่วไปจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางรากหรือโคนต้น ลักษณะเป็นแผลตกสะเก็ดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมม่วง

ตามด้วยอาการ ใบเหลือง เมื่อโรคแพร่กระจายไปสู่ยอด ก็จะเกิดอาการใบยอดหลุดร่วง เหลือแต่กิ่ง ในช่วงทุเรียนติดผล โรคก็อาจลุกลามไปที่ผล ทำให้เปลือกของผลทุเรียนมีอาการเน่า เป็นโรคที่ป้องกันกำจัดยากที่สุด พ่นสารเคมีทางใบ ฉีดสารเคมีเข้าลำต้น และ ถากเปลือกลำต้นบริเวณแผลเน่า แล้วทาด้วยสารเคมี เเต่เเค่ยืดอายุนะ ต้นจะโทรมไปเองตามเวลา จึงควรปลูกเทนเเทนในจุดที่ใกล้เคียงไว้บ้าง

ทางรักษาจะมี 2ทางคือ เคมีกับชีวะภาพ

ทางเคมี ก็มี พ่นทางดิน กลุ่ม P 07 ฟอสอีทิล-อลูมิเนียม รึกลุ่ม 40 ไดเเมทโทมอฟ เเต่ผมไม่ค่อยเเนะนำเมทา เท่าไรเพราะดื้อยาง่าย

ทางชีวะภาพก็ ไตรโคเดอร์ม่า เชื้อฆ่าเชื้อ รึพ่นฆ่าเชื้อก็ น้ำเปลือกมังคุด

ถ้ารักษาเเผลหลังขุดเปลือก เคมีให้เลือกกลุ่ที่มีเเม็ปโคเเซปอยู่เพราะจะสร้างเนื้อเปลือกได้ดี

ชีวะภาพ ให้ใช้ไตรโครเดอร์ม่าเชื้อเป็นทาเเผล รึน้ำเปลือกมังคุดก็ได้เเต่อย่าใช้ร่วมกันครับ

โดยวิธีการรักษาเป็นคำแนะนำจากเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจริงที่ได้มีการทดลองแล้ว ว่าได้ผล ช่วงนี้เป็นช่วงเกิดโรคไฟทอปธอรา ในทุเรียนกันเยอะ เกษตรกรชาวสวนทุเรียนต้องหมั่นตรวจสอบดูแลพืชผลทางการเกษตรอย่างใกล้ ถ้าหากพบเจอการเกิดโรคจะได้เตรียมการรับมือและแก้ไขได้ทันเวลา