ข้าวดอยขายไม่ได้ โควิดก็ซ้ำทุกข์ อีจันเช่าที่ลงทุน เหมาข้าวชาวลีซอ

ข้าวดีๆ ต้องไม่ถูกลืม! ข้าวดอยขายไม่ได้ โควิดก็ไม่ใยดี อีจันลงทุนเช่าที่ เหมาข้าวชาวลีซอ ดันข้าวดีๆ ให้คนรู้จัก

เมื่อโรคระบาดอย่างโควิดเปลี่ยนชีวิตคน ไม่ว่าใครก็ต่างพลอยทุกข์กันถ้วนหน้า ไม่เว้นเเม้เเต่เกษตรกรเผ่าลีซอ ที่ทำไร่อยู่บนเขาก็ทุกข์ไม่ต่าง

ซึ่งปกติพวกเขาจะนำผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือพืชผักผลไม้มาวางขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือเเขกไปใครมา เเต่วันนี้มีผลผลิตมากมาย เเต่ไม่มีคนซื้อ

จันเห็นทุกข์หาทางออก ลงมาสัมผัสชีวิต สัมผัสความเป็นอยู่ของชาวชนเผ่าลีซอ อ.แม่เเตง จ.เชียงใหม่ ทำให้จันได้รู้ว่าผลไม้เเละผักที่นี้อร่อยมากเพราะปลูกในที่อุดมสมบูรณ์ เเละส่วนใหญ่ไม่มีสารเคมี ที่น่าสนใจคือ ข้าวของชนเผ่าลีซอแปลกเเละอร่อยมาก เเละจันก็คิดว่า มันไม่ควรอร่อยอยู่เเค่ที่นี่ ของดีๆ ต้องถูกส่งต่อ

ข้าวของชาวลีซอ หรือข้าวดอย เป็นข้าว ข้าวไร่พันธุ์เจ้าลีซอสันป่าตองเป็นข้าวเจ้าที่ไวต่อเเสงสามารถปลูกได้ในที่ราบและที่สูง ลักษณะเมล็ดข้าวจะสั้นใหญ่ ทนทานเชื้อโรคและแมลงศัตรูข้าว ต้นทุนการผลิตจึงไม่สูงเพราะไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง เเละที่สำคัญข้าวดอยมีวิตามินบี 1 มากกว่าข้าวขัดขาวถึง 371 เท่า มีแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไม่ต่ำกว่า 15 ชนิด เช่นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ใบอาหาร เกลือแร่ ช่วยบำรุงร่างกาย ฟื้นฟูกำลังได้ดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น เเละผู้สูงอายุรวมถึงคนที่ดูเเลสุขภาพ

จันตัดสินใจลงทุนเช่าที่ของคนที่บ้านเเม่มาลัย อ.แม่เเตง จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่เนินภูเขาเนินเล็ก เนื้อที่ 6 ไร่ เพื่อให้ชาวเขาแลูกเเละดูเเลด้วยวิธีออเเกนิค ตั้งเเต่ปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว โดยใช้เวลาทั้งหมด 5 เดือน ก็จะได้ข้าวดอยที่เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นข้าวที่พร้อมส่งไปให้ลูกเพจอีจัน ลิ้มรสชาติความเเตกต่าง เเละสัมผัสประโยชน์ที่เต็มเปี่ยมอย่างเเน่นอน

ซึ่งตอนนี้เราปลูกเขาเสร็จสมบูรณ์ไปเเล้ว โดยการใช้เเรงคนหยอดข้าว เพื่อให้ชาวบ้านที่นี่มีรายได้ ใช้วิธีปลูกแบบดั้งเดิม ด้วยการหยอดหลุม โดยใช้ไม้ เเทงไปในดินที่มีความชื้นเป็นหลุมลึก 2-3 ซม. ระยะห่างประมาณ 25-30 ซม. เสร็จแล้วนำข้าวที่แช่น้ำทิ้งไว้หยอดลงในหลุมละ 5-8 เมล็ด เเล้วก็กลบดินลงไป เฉลี่ยใน 1 ไร่ใช้พันธุ์ข้าวประมาณ 6-8 กก.

จากนั้นเราก็ก็ทิ้งให้ธรรมชาติดูเเลข้างของเรา ไม่ใช้ยาฆ่าเเมลง เเค่ใช้เเรงคนมาถางหญ้าใส่ปุ๋ยเป็นครั้งคราว เพื่อรอเก็บเกี่ยวอีกครั้ง เมื่อข้าวโตเต็มที่เเล้ว

มารอดูความสำเร็จของชาวไร่เเละอีจันกัน ข้าวที่เราตั้งใจ จะต้องได้ส่งไปให้ลูกเพจลิ้มรสเเละรับความสุขเเน่นอน