สาวกกล่องสุ่มชะงัก บางคนคุ้ม บางคนขาดทุน แคลงใจตกลงกำไรใคร

เจาะกลยุทธ์กล่องสุ่ม ไม่ใช่กล่องสั่ง เมื่อสาวกกล่องสุ่มชะงัก บางคนคุ้ม บางคนขาดทุน แคลงใจตกลงกำไรใคร

สาย CF สายช้อปออนไลน์ คงไม่มีใครไม่รู้จักกล่องสุ่ม เพราะปี 2564 เทรนด์กล่องสุ่มมาแรงมาก มีตั้งแต่กล่องสุ่มอาหาร กล่องสุ่มของใช้, ขนม, ของแบรนด์เนม, สินค้าไอที , มีทั้งมือ 1 มือ 2 ที่ทุกร้านเคลมว่าสุดคุ้ม สุดปัง ใครไม่ซื้อถือว่าพลาด

แน่นอนกลยุทธ์นี้ จำกัด ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักแสนไปเลยยยยยยย และมักมาพร้อมกับคำว่าของมีจำนวนจำกัด ก็เอฟไปเลยสิคะจะรออะไร คนแห่ให้ความสนใจและ CF กันเพี้ยบ พรึ้บพรั้บจนลืมตัวเพราะสนุกกับมัน

แต่ก็มิวาย มีดราม่า บางคนเปิดกล่องมาได้ของโคตรคุ้ม จ่าย 10,000 บาท แต่ได้ของ ครึ่งแสน แต่กลับกัน บางคนขาดทุน ของราคาไม่เท่าเงินที่จ่าย แถมได้ของหมดอายุและของเก่าใกล้พัง

มีดราม่าทุกรูปแบบ จนกลายเป็นประเด็น โซเชียลตั้งคำถามว่า ตกลงกล่องสุ่มที่ว่าคืนกำไรลูกค้า แท้จริงแล้วมันคือกำไรใคร

และจันก็ไม่พลาดไปหาข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ใช้ในกล่องสุ่มนี้มาให้แล้ว Harvard Business Review สรุปง่ายๆคือ กลยุทธ์การขายแบบได้ ความตื่นตาตื่นใจหรือความเซอร์ไพรส์ คือเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังหรือจะพูดว่า “การไม่รู้ และอยากรู้” คือแรงกระตุ้นในตัวมนุษย์

และที่สำคัญเลยคือมี 3 ปัจจัยนี้

1.ความสนุก

กล่องสุ่ม เป็นระบบที่สำหรับคนชื่นชอบเป็นเสมือนการเสี่ยงโชคอย่างหนึ่ง ซึ่งการได้เปิดกล่องเรื่อยๆ โดยที่เราไม่รู้ว่าด้านในมีอะไรนั้น จะคล้ายกับการเล่นเกมที่ต้องทำเควสต่อไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่รู้นั้นเป็นสิ่งที่หลายคนชื่นชอบ

2.ความหวัง

กล่องสุ่ม เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่เมื่อเราไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ภายใน ทำให้ความคาดหวังในใจสูงขึ้น ซึ่งกล่องสุ่มมีความเสี่ยงของมัน บางครั้งอาจเปิดเจอของดี บางครั้งอาจเจอความผิดหวัง แต่กระนั้นการได้เปิดก็ยังคงเป็นเรื่องท้าทาย

3.การเลียนแบบ/ทำตาม

กล่องสุ่ม เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมมาจากคนดัง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเกิดจากการเสพคลิปวิดีโอการเปิดกล่องสุ่มของยูทูบเบอร์ และก็มีความคิดที่อยากลองเปิดบ้าง ซึ่งคลิปวิดีโอประเภทดังกล่าวก็นับว่าเป็นการตลาดอย่างหนึ่งเช่นกัน

แต่ถ้าเทียบว่าตกลงใครได้กำไร ก็คงสรุปเป็นตัวเลขที่แน่ชัดไม่ได้ แต่สรุปคร่าวๆก็คือ กล่องสุ่มเป็นสิ่งที่สนุก ตื่นเต้น และร้านไหนที่จะทำกล่องสุ่มต้องขออนุญาตก่อน ไม่งั้นผิดกฎหมายมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนเรื่องกำไรใคร ให้ย้อนกลับไปมอง ตั้งแต่แรกร้านค้าเคลมเบบไหน โฆษณาแบบไหน เช่น ทุกกล่องได้สินค้าราคาเกินเงินที่จ่าย แต่พอจริงๆไม่ใช่ อันนี้สามารถยื่นคืนสินค้าและรับค่าเคลมได้

แต่ถ้าร้านไหนเคลมแบบนั้นแล้วทำได้จริง ของในกล่องดีจริง เกินราคาจริง ถือว่าเราทำได้ ก็กำไรเรา แถมร้านก็กำไรเพราะของที่เขารับมาเขาคำนวนกำไรมาแล้ว

เอาเป็นว่ากล่องสุ่ม กับเรื่องของความคุ้มค่าจึงเป็นสิ่งที่พูดได้ยาก แต่ถ้าคุณรู้สึกพอใจกับการซื้อและยังคงมีความสุขที่ได้ซื้อ ก็อาจจะหมายถึงความคุ้มค่า เพราะความคุ้มค่าสำหรับแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน

อยู่ที่ตัวบุคคลว่าพอใจกับสินค้านั้นขนาดไหน ส่วนตัวแม่ค้าหรือร้านค้าเอง การทำกล่องสุ่มแน่นอนกำไรต้องได้อยู่แล้ว ถ้าทำแล้วขาดทุน เขาคงไม่ทำ แต่บางร้านก็นานๆทำทีเพื่อคืนกำไรให้ลูกค้า เอาเป็นว่าจะซื้อจะขาย ใจเขาใจเรา จะได้ซื้อขายกันนานๆ