ส่องสุราพื้นบ้านภูมิปัญญาไทย หลังปลดล็อกสุราเสรี

ทำความรู้จักสุราพื้นบ้าน แอลกอฮอล์จากภูมิปัญญาไทย

หลังผ่าน มติ ในที่ประชุม ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. …… ตามที่กระทรวงการคลังเสนอเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา รวมทั้งปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิตสุราให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตสุรา ในปัจจุบันให้มากขึ้น

ทำความรู้จัก “สุราพื้นบ้าน” คือ เครื่องดื่มที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย มีมาตั้งแต่โบราณ มีหลากหลายชนิด แต่หากแบ่งจริงๆ สุราพื้นบ้าน มีด้วยกัน 4 ชนิด

สาโท

สาโทเป็นเหล้าแช่ที่ทำจากข้าวนำมาหมักกับลูกแป้ง จนเกิดการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล หลังจากนั้นน้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์

ปริมาณแอลกอฮอล์ : 15 ดีกรี

เหล้าขาว หรือ เหล้ากลั่น

เหล้ากลั่น หรือที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่าเหล้าขาว เป็นเหล้าที่ได้จากการหมักน้ำตาลจากข้าว, ข้าวโพด หรืออ้อย โดยน้ำตาลอ้อยจะมีความหอม หวาน และมีคุณภาพกว่ากากน้ำตาลชนิดอื่น ต่อจากนั้นเติมยีสต์เข้าไปเพื่อให้ยีสต์กินน้ำตาลจนหมดแล้วคายแอลกอฮอล์ออกมา นำแอลกอฮอลก์ที่ได้ไปผ่านกระบวนการกลั่นเพื่อให้มีดีกรีสูงขึ้น โดยเหล้าขาวต้องปราศจากเครื่องย้อม

ปริมาณแอลกอฮอล์ : 40 ดีกรี

น้ำตาลเมา หรือ กระแช่

เป็นเหล้าแช่ที่ได้จากการหมักน้ำตาลสด เริ่มจากการที่ชาวบ้านจะนำกระบอกไม้มารองน้ำที่ไหลออกมาจากการปาดต้นตาล โดยชาวบ้านจะนำไม้เคี่ยม, ไม้พยอม หรือไม้ตะเคียนใส่ไว้ในกระบอกไม้ด้วย หลังจากนั้นน้ำตาลสดจะเริ่มทำปฏิกิริยาจนกลายเป็นยีสต์ตามธรรมชาติ และจะผลิตแอลกอฮอล์ออกมา ใช้เวลา 1 วัน ในการหมักน้ำตาลสดให้เป็นกะแช่

ปริมาณแอลกอฮอล์ : 6-9 %

กรณีที่ไม่ใช่การค้า อนุญาตให้ผลิตได้ ทำเอง ดื่มเอง บริโภคเองภายในครัวเรือน แต่ต้องขออนุญาตผลิตไม่ใช่การค้า ค่าใบอนุญาต 300 บาท และเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

1.การผลิตสุราที่ไม่ใช่เพื่อการค้า หรือผลิตบริโภคในครัวเรือน ต้องเพื่อใช้ในครัวเรือน บริโภคในครัวเรือน ห้ามไม่ให้แลกเปลี่ยน หรือแจกจ่ายหรือเพื่อการอื่นใด โดยได้รับประโยชน์ตอบแทน รวมถึงผลิตสุราแช่หรือสุรากลั่นรวมกันไม่เกิน 200 ลิตร/ปี/สถานที่ผลิต

2.ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

3.สถานที่ผลิตต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายเดือดร้อนหรือรำคาญแก่ผู้อื่น

4.สุราต้องมีคุณภาพและมาตรฐานที่ตามที่กรมกำหนด

ใบอนุญาตผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ไม่สามารถนำออกไปบริโภคนอกบ้านได้ หากฝ่าฝืนคงต้องปรับแต่ขั้นตอนนี้ยังไม่มีการกำหนดโทษที่ชัดเจน