6 โรคช่องท้อง ยอดฮิตของคนทำงาน เช็กให้ดีก่อนลุกลามถึงชีวิต

6 โรคช่องท้อง ที่คนทำงานมักเป็นกันส่วนใหญ่ ลองสำรวจตัวเองดูว่า มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงหรือเปล่า ก่อนจะป่วย แล้วลุกลามถึงชีวิต

1. โรคแผลในกระเพาะอาหาร

มักเกิดกับผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา คนที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ที่มักมีความเครียดสูง รวมถึงรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด มีเชื้อแบคทีเรีย คนที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารจะมีอาการปวดท้องบริเวณยอดอก หรือ ใต้ลิ้นปี่ บางครั้งถ้าอาการกำเริบอาจคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หลายคนพอมีอาการมักจะซื้อยาลดกรด หรือ ยาปฏิชีวนะมากินเอง แต่หากไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อาจส่งผลให้เกิดแผลขนาดใหญ่ขึ้น และถึงขั้นกระเพาะอาหารทะลุได้

2. โรคกรดไหลย้อน

เปิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารขึ้นกลับไปที่หลอดอาหาร เช่น แก๊ส หรือ กรด ผู้ที่เป็นมักมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก หรือบริเวณลิ้นปี่ รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ จุกเสียด แน่นท้อง บางคนยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการเจ็บหน้าอก เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยนไอเรื้อรัง มีกลิ่นปาก มักเกิดอาหารหลังรับประทานอาหารเสร็จ

3. โรคนิ่วในถุงน้ำดี

โดยปกติถุงน้ำดีจะทำหน้าที่เหมือนเป็นแหล่งสะสมน้ำดีที่ผลิตมาจากตับ อาทิ น้ำ คอเลสเตอรอล บิลิรูบิน เลซิติน และเกลือน้ำดี เป็นต้น ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย โดยจะตกตะกอนผลึกเป็นก้อนมีขนาดเท่าเม็ดทราย หรืออาจจะใหญ่กว่านั้น ไปอุดตันทางเดินของท่อน้ำดี

• จากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลมากเกินไป ไม่สามารถขับออกมาจากถุงน้ำดีได้หมด จึงตกตะกอนกลายเป็นก้อนนิ่ว

• จากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน (pigment stones) มักพบในผู้ป่วยโรคตับหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย

โรคนิ่วในถุงน้ำดี มักพบในพฤติกรรมของผู้ที่ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูง โดยจะมีอาการ ปวดท้องรุนแรง บางทีอาจร้าวไปถึงหลังก็ได้ มีอาการท้องอืดแน่นท้องเหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม และอาจมีไข้ เพราะการอักเสบของถุงน้ำดี การแก้ไขที่ได้ผลดีที่สุด คือ “การผ่าตัดเอานิ่วออกจากถุงน้ำดี”

4. โรคภาวะไส้เลื่อน

เกิดจากการเคลื่อนตัวออกมาจากตำแหน่งปกติ โดยจะสังเกตอาการไส้เลื่อนได้จากก้อนที่นูนออกมาจากผิวหนัง ที่อยู่บริเวณท้องช่วงล่าง หรือขาหนีบ อย่างไรก็ตามบริเวณที่ไส้เลื่อนอาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งอื่น ก็ได้ทั้งบริเวณสะดือ กระบังลม เหนือสะดือ ต่ำกว่าขาหนีบ กล้ามเนื้อหน้าท้อง ในช่องเชิงกราน เป็นต้น โดยภาวะไส้เลื่อน เกิดได้หลายกรณี อาทิ ความผิดปกติของผนังช่องท้องที่อ่อนแรงมาตั้งแต่เกิด หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดจนทำให้ผนังช่องท้องบริเวณนั้นอ่อนแอ ในบางกรณีสามารถเกิดขึ้นจากแรงดันที่มากผิดปกติในช่องท้อง เช่น ไอ-จาม ยกของหนัก ด้วยโดยจะมีอาการ ผิวหนังนูนออกมาตลอดเวลา อาจทำให้ลำไส้อุดตัน ปวดท้อง และอาเจียนรุนแรง หากปล่อยไว้นานๆ ไส้จะขาดเลือดทำให้ลำไส้เน่าได้ ดังนั้นหากพบอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดแก้ไข

5. โรคไส้ติ่งอักเสบ

ภาวะดังกล่าวเกิดจากการติดเชื้อเพราะมีสิ่งแปลกปลอมอย่างก้อนเนื้องอกเข้าไปอุดตัน เพราะไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่สร้างเชื้อจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร และกระตุ้น ระบบย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการไม่กิน ผัก ผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำน้อยด้วย เพราะสารอาหารเหล่านี้มีหน้าที่ช่วงส่งเสริมการย่อยอาหารลดภาวะการเกิดไส้ติ่งอักเสบเมื่อเกิดการอักเสบจะมี อาการปวดท้องแต่บอกไม่ได้ว่าปวดตรงไหน ปวดไปเรื่อย ๆ นานมากกว่า 6 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายลงไปอยู่ที่ท้องด้านขวาล่าง จะปวดเสียดตลอดเวลา มีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งปวดถึงขนาดไม่สามารถเดินได้ ปวดจนตัวงอ ถ้าหากปล่อยไว้ไม่รีบไปพบแพทย์ ไส้ติ่งอาจติดเชื้อ ไปจนถึงการเน่าและแตกที่จะส่งผลถึงชีวิตได้ โดยวิธีการรักษาให้หายขาดคือการเข้าสู่กระบวนการผ่าตัด

6. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แน่ชัดแต่อาจจะมาจากการกินและสิ่งแวดล้อม โดยการรับประทานอาหารที่ให้พลังงาน ไขมันและน้ำตาลสูง โดยอาการในช่วงแรกของมะเร็งลำไส้ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเราเป็นมะเร็งลำไส้หรือเปล่า แต่เมื่อเป็นสักระยะหนึ่งอาการจะเริ่มแสดงให้ เห็นจากการขับถ่าย ที่บางครั้งมีเลือดปนมากับอุจจาระ ท้องเสียสลับกับท้องผูก ถ่ายเป็นมูกเลือดดังนั้นเมื่อพบอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการเหล่านี้ หากเรารู้อาการก่อนจะช่วยจัดการได้เร็วก่อนมะเร็งจะลุกลามไปยังส่วนอื่น โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่สามารถจัดการได้ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง หรือการผ่าตัดเพื่อนำมะเร็ง และชิ้นเนื้อส่วนต่าง ๆ ที่คาดว่ามะเร็งจะแพร่กระจายมาถึงออกไป