
ยังจำกันได้ไหมกับประเด็นที่เคยเป็นกระแสไวรัลโด่งดังไปทั่วโซเชียลหลัง นักแสดง ชื่อดังจาก ฮอลลีวูด อย่าง รัสเซล โครว์ (Russell Crowe) เดินทางมาถ่ายทำ ภาพยนตร์ที่ประเทศไทย โดยเจ้าตัวได้มีการโพสต์ บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เขาไม่เคยเจอ ลงบนทวิตเตอร์ส่วนตัว เช่น เสาไฟกินรี และสายไฟที่ห้อยระโยงระยางทั่วกรุงเทพฯ


ดูเหมือนว่ากรุงเทพมหานครจะติดตาตรึงใจเขาอยู่ไม่น้อย งานนี้ รัสเซล โครว์ จึงขอฝากคำถามส่งตรงมายังรายการพิเศษ 22 พฤษภา ชี้ชะตา กรุงเทพฯ กับถกไม่เถียง เพื่อถามผู้สมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่ากทม. 31 คน ถึง 3 ข้อว่า
1.คุณจะแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างไร?
2.คุณคิดอย่างไรกับสายไฟระโยงระยาง?
3.คุณมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้ชาวต่างชาติที่ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย?

โดยวันนี้จะขอนำคำตอบของผู้สมัครเพียง 3 หมายเลขเท่านั้น มาให้ทุกคนได้ฟังกัน เริ่มกันที่ผู้สมัครหมายเลข 11 : น.ต.ศิธา ทิวารี
“ คำถามของคุณ รัสเซล โครว์ นะครับ ในเรื่องแรกก็คือ เรื่องน้ำที่เอ่อล้นแม่น้ำเจ้าพระยาครับ แม่น้ำเจ้าพระยาถ้าเกิดมีน้ำไหลมาถ้าเกิน 2,600 ร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีน้ำจะเอ่อล้นครับ โดยน้ำจะเอ่อล้นเราได้มีการป้องกันแล้วบรรจุสปีดได้ถึง 2600 ร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ได้สร้างเขื่อนไปแล้วนะครับยังเหลือจุดฟันหลออีก 11 จุด ได้นับการดูแลเยียวยาไปแล้ว 2 จุด จะมีเขื่อนที่ยังไม่สามารถทำเป็นเขื่อนได้ ดังนั้นน้ำจะลี้เข้ามาเป็น 9 จุด ต้องมีการซ่อมแซมต่อไปนะครับ มาเรื่องที่ 2 นะครับเรื่องสายต่างๆ ที่ระโยงรยางอยู่เต็มเมืองตรงนี้ใช้งบประมาณอยู่ประมาณหนึ่งซึ่งถ้าเกิด กทม. สามารถใช้ได้ ก็น่าจะแก้ไขไปนานแล้วเพราะมีคนติงเรื่องนี้มาเป็น 10 ปีแล้วนะครับ แต่ไม่สามารถทำได้ ต้องยอมรับงบประมาณของ กทม. ณ ปัจจุบันมีจำกัด และมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างอื่นนะครับ เอาสายลงใต้ดินทั้งหมดมีมากกว่าปกติถึง 3 เท่า น่าจะต้องทยอยทำไปเรื่อย แต่ต้องเรียนว่า ปัญหาน้ำท่วมก็เป็นปัญหาน้ำท่วมอยู่ แบบนี้สายต่างๆ ที่เอาลงไปก็จะเกิดปัญหาสายหลุดลอกไป เรื่องที่ 3 ครับเรื่องการเป็นเฟรนด์ลี่กับนักท่องเที่ยวครับ คนไทยถ้าเกิดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเยอะๆ เราต้องยอมรับเขา เราต้องฝึกภาษาอังกฤษและก็เรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ ได้เข้าใจ และเราจะสามารถสื่อสารให้กับชาวต่างชาติได้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลนักท่องเที่ยวชาติอื่นก็ต้องไปติดต่อการสอนภาษาให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวกับเราเยอะๆ จะเป็นจีนหรืออะไรก็แล้วแต่ครับ ซึ่งตรงนี้ครับ ณ ปัจจุบันอยากมาเที่ยวเมืองไทยมากแต่เขานั้นผันตัวเองไปอยู่ใน Digital Economy กันหมด เพราะอย่างไรกทม.ต้องเป็นเมืองทันสมัยรู้จักเอาใจคนที่เป็น Digital Economy เขาอยากจะเป็น Work from Bangkok อำนวยความสะดวกให้เขาครับ ทั้ง 3 ข้อคือคำถามทั้งหมดที่ถามมาครับ ” น.ต.ศิธา กล่าว

ต่อกันด้วยผู้ลงสมัครหมายเลข 31 : นาย วิทยา จังกอบพัฒนา
“ เรื่องน้ำท่วมนี่ กรุงเทพฯ เนี่ย มันมี 3 น้ำด้วยกัน คือน้ำเหนือ น้ำฝน แล้วก็น้ำจากอ่าวไทยนะครับ น้ำฝนนี่มันป้องกันลำบาก เพราะว่ามาเมื่อไรก็ไม่รู้ อาจจะพยากรณ์ได้ว่ามีพายุเข้า อันนี้ก็เตรียมตัวล่วงหน้าได้ ส่วนน้ำจากเหนือนี่เราก็ยิ่งเตรียมตัวได้เร็ว เพราะว่ากว่าจะมาถึงนี่เป็น 2 วัน 3 วัน มาถึงกรุงเทพฯ นะครับ ส่วนอ่าวไทยเนี่ยมันอยู่ที่น้ำขึ้นน้ำลง เพราะฉะนั้น แต่อ่าวไทยนี่มันป้องกันลำบาก เพราะว่ามันกว้างนะครับ เอ่อก็ต้องจัดว่าเราเตรียมพร้อมว่า อย่างเจ้าพะยาเนี่ยเราอาจจะต้องกั้นคันสูงนะครับ แล้วข้างๆ ก็มีแก้มลิงด้วยนะครับ วิธีแก้ก็มีแค่นี้เอง ส่วนสายไฟระโยงระยางเนี่ย ทุกประเทศเขาก็เอาลงใต้ดิน แต่เขาแต่ละประเทศเขาก็ไม่ได้เอาลงหมดนะครับเขาก็มีเหลือ แต่ของไทยเนี่ยเงินเรามันน้อย แล้วมันเป็นเรื่องของการไฟฟ้านครหลวง กทม. จริงๆ ไม่เกี่ยวเลยนะครับ จริงๆ ต้องไปขออนุญาตด้วยซ้ำ แล้วก็คงต้องค่อยทำค่อยไป คือริมถนนเนี่ยมันเป็นตึกแถวมันระโยงระยางมันลำบาก จะต้องใช้แบบว่าเป็นตึกใหญ่แล้วก็มีตู้สายไฟนะครับฉะเพาะที่ อย่างนี้ก็จะช่วยได้นะครับไม่ต้องลงทุนเยอะมันต้องค่อยทำค่อยไปนะครับจะมารื้อทั้งระบบทีเดียวมันเสียเงินเยอะมาก ต่างประเทศเขายังทำไม่หมดเลยนะเว้นบางที่ไว้ แล้วก็ส่วนนักท่องเที่ยวนี่นะครับเราจะต้องฝึกนักเรียนของเราให้เป็นไกด์ได้นะครับ แล้วก็เอ่อช่วยเหลือเขาโดยใช้ให้เขาเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น ให้เขาเรียนรู้วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะเป็นการพบปะแล้วก็ทักทายกันได้ ทำให้เขาอบอุ่นนะครับ” นายวิทยา กล่าว

และสุดท้ายผู้ลงสมัครหมายเลข 30 : นายพงศา ชูแนม
“ ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสัมพันธ์โดยตรงกับการที่น้ำท่วมกรุงเทพ กทม. ได้มีโครงสร้างพื้นฐานใช้งบประมาณไว้เยอะมาก แต่ไม่ได้เชื่อมโครงสร้างพื้นฐานกับเทคโนโลยีและวิธีการแก้ปัญหา เราจึงนำเสนอเป็นนโยบายของพรรคกรีนว่าจะใช้ซุปเปอร์คอมมิตเตอร์ พยากรณ์ปริมาณทั้งปริมาณน้ำฝน น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วไปสัมพันธ์กับเทคโนโลยีระบบการพร่องน้ำนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดการพร่องน้ำล่วงหน้า พอรู้ว่าฝนจะตก ณ ที่นี่ ปริมาณเท่านี้ แม่น้ำเจ้าพระยามีความสูงระดับนี้ ก็เชื่อมต่อไปสู่ระบบแล้วมันจัดการด้วยตัวมันเอง วันนี้เราขาดแค่นี้เองนะครับ ซึ่งไม่ได้ยากเย็นเลยที่จะทำแบบนี้ มันเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ไปแล้วนะครับว่ากรุงเทพฯ บ้านเมืองนี้ร้อนร้ายวุ่นวาย และรุงรัง ถ้าเห็นเสาไฟฟ้าที่ไหนรุงรังก็บอกไว้เลยว่าเป็นกรุงเทพฯ วิธีแก้ปัญหาก็คือส่วนที่มันเป็นแลนด์มากส์จริงๆ ก็เอาลงดินซึ่งตอนนี้กำลังทำอยู่แล้ว แต่แน่นอนครับว่าเราไม่มีงบประมาณมากขนาดนั้น ก็ปรับปรุง และใช้ต้นไม้เรามีแนวทางเรื่องการสร้างเส้นทางสีเขียวทะลุทุกมิติใช้ต้นไม้ให้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพโดยการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ขึ้นโดยให้ค่าตอบแทนตารางวาละ 100 ก็จะทำให้คนกรุงเทพปลูกต้นไม้สามารถบดบังสายไฟ และจัดระบบให้เป็นสีเขียวแทน ซึ่งจะทำให้สวยงามและก็เดินไปตามขั้นตอนของมันครับ ครับในคำถามว่ากรุงเทพจะให้สวยงาม และเป็นมิตรภาพกับคนทุกคนเนี่ย เนื่องจากกรุงเทพรู้สึกเหมือนกับว่าประหนึ่งว่าเป็นเมืองอาชญากรรม และไม่ได้รับการดูแล ความคิดเรื่องดวงตาสวรรค์ก็คือเชื่อมล็อค เช่น กล้องวงจรปิด ว่ากล้องวงจรปิดทั้งของรัฐทั้งของเอกชนและในยานพาหนะ เพื่อที่จะสร้างระบบ ai สังเกตุพฤติกรรมว่า พฤติกรรมอย่างนี้อาชญากรรมรึป่าว แล้วก็สร้างมิสเตอร์กรีน มิสเตอร์กรีน คือ อาสาสมัครผู้มีจิตอาสา อยู่ตามชุมชนอยู่ตามท้องที่ต่างๆ คนใส่เสือสีเขียวเป็นมิสเตอร์กรีนคอยรับรู้เรื่องราวคอยสนใจปัญหาเชื่อมต่อไปถึงศาสนและเชื่อมไปยังผู้ว่า” นายพงศา กล่าว
