อันตราย ผู้ป่วยเบาหวานต้องรู้ ภาวะเลือดเป็นกรด อันตรายถึงชีวิต

รู้ก่อนสาย อันตราย ผู้ป่วยเบาหวานต้องรู้ ภาวะเลือดเป็นกรด อันตรายถึงชีวิต ป้องกันยังไงดี?

ผู้ป่วยเบาหวาน ต้องรู้ นอกจากจะระวังอาการจากโรค ยังมีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องควบคุมคือ ภาวะ เลือดเป็นกรด เลือดเป็นกรดคืออะไร ?

เลือดเป็นกรด คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับคีโตน และน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งเกิดมาจากการที่ร่างกาย ไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำตาลได้ ตับ จึงทำหน้าที่เผาผลาญไขมัน เพื่อให้เกิดพลังงานขึ้นทดแทน พลังงานเหล่านั้นเรียกว่า คีโตน (Ketone) โดยร่างกาย จะปล่อยคีโตนที่ได้ เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยกระบวนการนี้ถูกเรียกว่า คีโตซิส (Ketosis)

ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะขาดฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งคือภาวะที่ร่างกาย ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้น้ำตาลที่ได้รับมาค้างอยู่ในเลือด หรือน้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ ร่างกายจึงเข้าสู่ภาวะคีโตซิส เพื่อผลิตคีโตน ออกมาใช้แทน และเมื่อคีโตนภายในเลือดสูง จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ร่วมกับน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์จะเรียกอาการนี้ว่า ไดอะบีติค คีโตเอซิโดซิส (Diabetic Ketoacidosis : DKA) มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทที่ 1 (ผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินซูลิน)

อาการของ ภาวะคีโตเอซิโดซิส

มีระดับน้ำตาล และระดับคีโตนในเลือด หรือปัสสาวะสูง

กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย

ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

หายใจเร็ว ลมหายใจกลิ่นเหมือนผลไม้

ความดันโลหิตต่ำ

น้ำหนักลด เหนื่อย ซึมลง

หากไม่ได้รับการรักษา อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น ผิวหนังจะแดงและแห้ง มีอาการเหม่อลอย ไม่ได้สติ ไม่รู้สึกตัว ช็อกหมดสติ และอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

แม้ว่าภาวะเลือดเป็นกรด มักเกิดขึ้น ในผู้ป่วยผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทที่ 1 แต่ไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยเบาหวานประเภทอื่น จะไม่มีโอกาสเป็นนะคะ ดังนั้น การคอยติดตาม ระดับค่าคีโตน เป็นเรื่องที่ดีที่สุดค่ะ เพราะในบางครั้ง การกินยารักษาเบาหวาน อาจไม่เพียงพอต่อการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด หากเมื่อไหร่ชะล่าใจ ไม่ได้กินยา หรือลืมกินยาไป ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนเข้าสู่ระดับอันตรายได้ค่ะ ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานประเภทอื่น อาจจะเลือกตรวจค่าคีโตน เมื่อมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็ได้

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ เลือดเป็นกรด ?

หลังจากที่ทราบถึงอันตราย ของการเข้าสู่ภาวะเลือดเป็นกรดไปแล้ว จะเห็นได้ว่า เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่ง ที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งเลยล่ะค่ะ ดังนั้น เรามาดูวิธีป้องกันภาวะร้ายนี้กันดีกว่านะคะ

ketoacidosis

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติเสมอ หากไม่สามารถควบคุมได้ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

หมั่นสังเกตค่าคีโตนเป็นประจำ หรือตรวจสอบ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ถ้าพบค่าคีโตน หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูง ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

ไม่ควรงดอาหาร แต่ให้เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และโภชนาการ

หากสังเกตว่ามีสัญญาณผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อยมาก อาเจียน มีอาการเหม่อลอย ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

หรือสามารถหาอาหารเสริมรับประทาน อย่างเช่น น้ำด่างที่ บอดี้การ์ดดีๆที่ต้องมีประจำบ้านและติดตัวไว้เสมอ น้ำด่างอัลคไลน์9.5 PH Plus 💦

Mineral Alkaline Terpene Chamomile Water

MERRISยังเพิ่มสารสกัดจากดอกคาโมไมล์ ที่ช่วยเรื่อง

ผ่อนคลายระบบประสาท

ช่วยให้หลับสบาย พักผ่อนได้ดีขึ้น

ช่วยใช้ชุ่มคอ ลดการระคายเคือง

บรรเทาการติดเชื้อโรคในลำคอ

เจ้าแรกในประเทศไทย

น้ำด่างอัลคาไลน์ 9.5+เทอร์ปีนกัญชา + คาโมไมล์

รวมประโยชน์ไว้ในขวดเดียว

น้ำอารมณ์ดี ดื่มแล้วช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยปรับสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงระบบประสาท บำรุงสมอง ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง

ติดต่อตัวแทน Merris ได้ทั่วประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก WELLWELL

คลิปแนะนำอีจัน
เชฟน้อย วัย 14 แต่ฝีมือ…ระดับพระกาฬ!