เท้าเหม็น! แก้ได้เลิกเสียเซลฟ์กันเถอะ

ใครจะคิดว่าปัญหา “เท้าเหม็น” ทำให้หลายคนขาดความมั่นใจ แต่รู้ไหมว่าปัญหานี้แก้ได้ นอกจากเท้าหายเหม็นแล้วยังเท้าหอมด้วย

ลองหลับตาแล้วนึกภาพดูค่ะ

ถ้านั่งทำงานในห้องแอร์ แล้วได้กลิ่นตุๆ ชวนให้เวียนหัวจนอยากอาเจียน คงทำให้สมาธิในการทำงานแตกกระเจิง

และคงหันซ้าย หันขวา เพื่อมองหาต้นตอของกลิ่น!

ที่สำคัญถ้ากลิ่นตุๆ นั้นมาจากเราคงโคตรขาดความมั่นใจ 

แล้วกลิ่นเท้าเหม็น หรือเรียกว่า “โรคเท้าเหม็น” (Pitted keratolysis) เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? มาทำความเข้าใจกันค่ะ

กลิ่นเหม็นที่เท้าเป็นกลิ่นของสารอินทรีย์ระเหย ซึ่งถูกสังเคราะห์โดยเชื้อแบคทีเรีย การเกิดกลิ่นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ เหงื่อ, เชื้อแบคทีเรีย, และเศษซากของเซลล์ผิวหนัง

แต่! อย่าเพิ่งตกใจใหญ่โตเกินไป เพราะโรคนี้หายได้ 

“โรคเท้าเหม็น” พบได้บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน ทำให้มีความอับชื้น มักไม่มีอาการคัน แต่มีเท้าลอก ผิวหนังดูชื้นแฉะ มีกลิ่นเหม็น โดยโรคนี้จะเริ่มเกิดที่ฝ่าเท้าก่อน

ปัจจัยที่ส่งผลให้เท้าเหม็น ได้แก่

1. การสวมใส่รองเท้าและถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี ทำให้เกิดการอับชื้น เหมาะต่อการเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อรา จึงทำให้เกิดกลิ่นเท้า นอกจากนี้การใส่รองเท้าตลอดทั้งวัน ก็จะทำให้เท้าอับชื้นแล้วเกิดกลิ่นเท้าได้ด้วย 

2. การกินอาหารที่มีปริมาณน้ำมันสูง รสเผ็ด มีกลิ่นแรง สามารถทำให้เกิดกลิ่นเท้าได้เนื่องจากอาหารเหล่านี้ทำให้มีการผลิตเหงื่อมากขึ้น

3. การขาด zinc ภาวะความเครียดส่งผลให้มีการผลิตเหงื่อมากขึ้น

4. ภาวะต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของแบคทีเรีย การเปียก ความอับชื้นของเท้า เป็นสิ่งที่เอื้อต่อการเจริญของแบคทีเรีย ดังนั้นการรักษาความสะอาดของเท้า ถุงเท้า รองเท้า จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเท้าเหม็นได้

5.ซักถุงเท้าไม่สะอาดและตากไม่แห้งพอ ทำให้เกิดความอับชื้น และยังคงไว้ซึ่งสิ่งสกปรกแบคทีเรียสะสมจนเกิดเป็นกลิ่น

การรักษาโรคเท้าเหม็นทำอย่างไร ? 

1. การรักษาแบคทีเรีย ใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดทา เช่น ยา Clindamycin ยา Erythromycin ช่วยให้ผิวหนังลอกตัวเพื่อสร้างผิวหนังขึ้นใหม่และมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย เช่น ยา Benzoyl peroxide 

2. การป้องกันภาวะอับชื้น สามารถใช้แป้งผง 20% Aluminium chloride โรยเท้าวันละ 1 – 2 ครั้ง หลังทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่ที่มียาฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม หรือตามแพทย์แนะนำ

ส่วนการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเท้าเหม็น ได้แก่

1. หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดการอับชื้นที่ เท้า ฝ่าเท้า

2. ทำความสะอาดเท้าทุกวันสม่ำเสมอ

3. เปลี่ยนถุงเท้าบ่อย ๆ หากมีเหงื่อมากและเท้าอับชื้น

4. สลับสวมรองเท้า ไม่สวมซ้ำเกิน 2 วัน ตากรองเท้าให้แห้งเสมอ ไม่ใช้รองเท้าร่วมกับผู้อื่น

5. หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าหนา ๆ ที่ทำให้เกิดเหงื่อ 

6. รับประทานอาหารที่มี Zinc เป็นส่วนประกอบ เช่น หอยนางรม ไก่ ไข่ นม จมูกข้าว ธัญพืช

ทั้งหมดนี้คือ ข้อมูลเกี่ยวกับ “โรคเท้าเหม็น” ที่นำมาให้อ่านกัน เพื่อทำให้เข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเท้าเหม็น กลิ่นตุๆ ที่ทำให้เราขาดความมั่นใจ รวมทั้งวิธีการป้องกันและการรักษา

ส่วนการป้องกันและรักษา “โรคเท้าเหม็น” สไตล์ “อีจัน แข็งแรง” ขอแนะนำอันนี้เลยค่ะ 

“จันหอม” สเปรย์ดับกลิ่นเท้า ที่ช่วยลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคเท้าเหม็น และโรคเท้าเป็นรู หรือโรคเชื้อรากัดกินเท้า ซึ่งมีสาร Tannin ที่ได้จากลูกพลับญี่ปุ่นช่วยทำให้รูขุมขนเล็กลง และลดการเกิดเหงื่อบริเวณที่ฉีดสเปรย์ระงับกลิ่น นอกจากระงับกลิ่นเท้าแล้วยังมีสารสกัดที่อ่อนโยนจากธรรมชาติช่วยบำรุงเท้าให้ชุ่มชื่น ไม่แห้งกร้าน เช่น น้ำมันโรสแมรี่ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต, น้ำมันยูคาลิปตัส ช่วยฆ่าเชื้อโรค มีกลิ่นหอมสดชื่น, น้ำมันลาเวนเดอร์ ช่วยต้านเชื้อรา มีกลิ่นหอมช่วยให้ผ่อนคลาย และสารสกัดจากตะไคร้หอมที่จะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย

บอกเลยว่า “จันหอม” ทำให้หมดปัญหากลิ่นเท้ากวนใจ ไม่ว่าจะใส่รองเท้าแบบไหน ก็มั่นใจได้ตลอดวัน เพียงฉีด 1 ครั้ง ก่อนหรือหลังใส่ถุงเท้าก็ได้ สามารถป้องกันกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ได้ยาวนานถึง 24 ชม.

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

Line OA : @junhom หรือคลิก https://lin.ee/No5ZAhz

Facebook : https://www.facebook.com/JunhomSP

Tiktok : https://www.tiktok.com/@junhomofficial

อ้างอิงข้อมูล : 

https://www.nstda.or.th/sci2pub/pitted-keratolysis-info/

https://www.thaicream.com/17562475/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%99

https://permacorporation.com/th/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89/