ทำไมต้องไหว้บ๊ะจ่าง สำคัญแค่ไหน แล้วไหว้แบบไหน จะสมใจหวัง!

ใครจะรู้บ๊ะจ่างห่อกลม ซ่อนเรื่องราวไว้มากมาย! ทำไมต้องไหว้บ๊ะจ่าง สำคัญแค่ไหน แล้วไหว้แบบไหน จะสมใจหวัง!

ไหนใครสาวกบ๊ะจ่างบ้าง ยกมือเลย นึกถึงบ๊ะจ่างหอมๆนุ่มๆ เครื่องครบครัน ได้กัดคำหนึ่งแล้ววางไม่ลงจริงๆ

แต่วันนี้จันจะมาขอมาเรียนและมารู้พร้อมกับลูกเพจ ว่าบ๊ะจ่างที่เรากินเป็นประจำ สำคัญไฉน แล้วทำไมต้องมีการไหว้บ๊ะจ่างด้วย

เริ่มกันจากบ๊ะจ่างมาจากไหน ทำไมต้องไหว้บ๊ะจ่าง

จันได้ข้อมูลนี้มาจากการสืบหาในหลายแหล่งข้อมูลทำให้พอจะสรุปได้ว่าตำนาน “บ๊ะจ่าง” มีต้นกำเนิดมาจาก ของชาวจีนตำนานของชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ประเทศไทย เผยว่าตำนานบ๊ะจ่างนั้นเกิดขึ้นในยามบ้านเมืองกำลังมีภัยจากสงคราม ยามออกรบเสบียงของทหารจะทำจากข้าวเหนียวและห่อในใบไผ่ให้แน่นเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ เมื่อข้าศึกฝ่ายตรงข้ามแฝงกายเข้ามาเป็นสายลับเพื่อหาทางโจมตีเมือง เหล่าทหารที่ทราบเรื่องจึงใช้วิธีเขียนสาส์นลับ วางแผนกลศึกต่าง ๆ ใส่จดหมายแล้วยัดลงในบ๊ะจ่างแทนการส่งโดยนกพิราบเพื่อลวงข้าศึก และรักษาความลับทางการทหารไว้ไม่ให้ข้าศึกไหวตัวทัน จนบ้านเมืองพ้นวิกฤต สามารถปราบไส้ศึก ชนะสงคราม และกลับมาสงบสุขดังเดิม

ชาวเมืองจึงสำนึกในบุญคุณและยกให้บ๊ะจ่างเป็นของศักดิ์สิทธิที่นำความสงบสุขกลับมาให้แก่บ้านเมือง เมื่อถึงวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปีชาวบ้านจึงผูกบ๊ะจ่างเพื่อทำการสักการะกราบไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เพื่อขอบคุณที่ช่วยให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขสืบต่อกันมา ซึ่งจะตรงกับฤดูร้อน ช่วงนี้จะมีการไหว้เจ้าด้วยขนมบ๊ะจ่าง สาเหตุที่ไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่าง เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อาหารมักเก็บได้ไม่นาน เน่าเสียง่าย แต่บ๊ะจ่างที่ทำจากข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น และการไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในการให้คนในครอบครัวอยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตากันในช่วงเทศกาลอีกด้วย เทศกาล ของการไหว้บะจ่าง

แต่บางตำราก็บอก บ๊ะจ่างถือกำเนิดมาเมื่อประมาณสองพันกว่าปีที่แล้ว ขณะนั้นไทยเรายังเป็น เผ่าไท และตั้งอาณาจักร อ้ายลาว อยู่แถวลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง และประเพณีที่เกี่ยว กับขนมจ่าง ก็กำเนิดในสมัยนั้น

นอกจากนี้ ขนมจ้างทำจากข้าวเหนียว แต่พวกฮั่นที่อยู่ทางตอนเหนือนั้น ไม่กินข้าวเหนียว และไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษด้วยหมั่นโถว หรือซาลาเปา ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวสาลี แตกต่างจากพวกที่อยู่ทางใต้ ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งก็ยังไม่แน่ชัดอยู่ดี มาบ๊ะจ่างมีมาตั้งแต่สมัยไหน

ซึ่งในปีนี้ วันไหว้บ๊ะจ่าง ปี 2564 ตรงกับวันขันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564

ของไหว้บ๊ะจ่าง แบบจัดชุดเล็ก คือ บ๊ะจ่าง 8 ลูก,ไก่ 1 ตัว หรือ 1 จาน,ไข่เป็ดย้อมสีแดง 8 ฟอง,ต้มจืดหมูสับ จิงจูฉ่าย เอี๊ยะบ่อเช่า และ ใบเก๋ากี้,ผลไม้ 3 อย่าง ส้ม 8 ลูก และ แอปเปิ้ล สาลี่,ขนม 3 อย่าง ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมเปี๊ยะ

สุรา และน้ำชา อย่างละ 5 ถ้วย,กระดาษเงินกระดาษทองไหว้เจ้า (หงึ่งเตี๋ย) 2 ชุด,ดอกไม้สด 2 แจกกัน,เทียนแดงขาไม้ 1 คู่,ธูป 5 ดอก

ของไหว้บ๊ะจ่าง แบบเรียบง่าย ประหยัด คือ บ๊ะจ่าง 2 ลูก,ผลไม้ 3 อย่าง ส้ม 8 ลูก และ แอปเปิ้ล สาลี่

น้ำชา อย่างละ 5 ถ้วย,กระดาษเงินกระดาษทองไหว้เจ้า (หงึ่งเตี๋ย) 2 ชุด,ดอกไม้สด 2 แจกัน,เทียนแดงขาไม้ 1 คู่,ธูป 5 ดอก

ซึ่งการไหว้ด้วยธูป 5 ดอก เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเข้าหลัก 5 ธาตุ หรือโหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยตรง และถ้าเป็นการไหว้ในไทย ช่วงเช้าก็จะไหว้เจ้าและบรรพบุรุษ แต่ที่พิเศษหน่อยก็ตรงที่มีบ๊ะจ่างเพิ่มเข้ามาด้วยซึ่งการไหว้ก็จะส่งผลกับชีวิตโดยตรง ให้ทุกอย่างราบรื่น ทำได้ตามเป้าหมาย เหมือนการไหว้ขอพรนั่นเอง

ว่าแล้วก็อยากกินบ๊ะจ่างอีกแล้ว จันขอไปอุ่นสักลูกก่อนนะ คงไม่อ้วนหรอก