ครอบครัว LGBT+ เปิดใจ ชีวิตหญิงรักหญิง ไม่สวยงามดั่งละคร

ชีวิตของแม่เจี๊ยบ ที่มีใจรักหญิง กว่าจะสมบูรณ์แบบ ระหว่างทางเผชิญอุปสรรคหนักหน่วง เป็นครอบครัวหญิงรักหญิง ไม่ง่ายเลย เพราะ สังคมไม่ยอมรับ ถูกมองว่าแปลกแยก ซ้ำ ยังเลือกปฏิบัติ

เพราะ แคปชั่นนั้นอธิบายว่า ภาพผู้หญิง 3 คนในรูปนี้ คือ ภาพครอบครัว

มีแม่ 2 คน ที่เลี้ยงลูกสาวน่ารักคนนี้มาด้วยกัน

ซึ่งในแคปชั่น เขาพูดถึงปัญหาที่ตัวเอง และครอบครัวกำลังประสบอยู่กับเรื่อง “สิทธิการตั้งครอบครัวของ LGBTQ”

ได้คุยกับเจ้าของโพสต์ เธอชื่อว่า เจี๊ยบ

เธอ คือ ผู้หญิงชุดขาวในรูปนี้

และต่อจากนี้ เราขอเรียกเธอว่า “แม่เจี๊ยบ”

จัน ยิงตรงขอนัดคุยกับ แม่เจี๊ยบ ซึ่งน่ายินดี ที่ แม่เจี๊ยบตอบตกลง

ทำให้เราได้เจอกันที่ เชียงใหม่

แม่เจี๊ยบ เล่าเรื่องตัวเองให้จันฟัง

เธอ เป็นนักเคลื่อนไหวที่ทำงานด้านสิทธิชนเผาพื้นเมือง สิทธิเด็ก และเรื่องความเป็นธรรมทางเพศ

และงานนั้น ทำให้เธอได้เจอกับ แม่จุ๋ม

แม่เจี๊ยบ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของความรัก ของเธอ และ แม่จุ๋ม ซึ่งเธอเล่าไปยิ้มไป

ย้อนกลับไปเมื่อ 12 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2553)

แม่เจี๊ยบ ได้เข้าร่วมอบรมที่บ้านดิน เป็นศูนย์อบรมที่ให้มุมมองเกี่ยวกับความเป็นธรรมทางเพศ เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ในการอบรม แม่จุ๋ม ก็ได้เข้าร่วมด้วย

แม่เจี๊ยบ แอบเม้าท์ แม่จุ๋ม

“ครั้งแรกที่เจอ แม่จุ๋ม เป็นคนเงียบ ๆ นั่งฝั่งตรงข้ามเรา ที่เดิม ทุกวัน

ส่วน แม่เจี๊ยบ ก็จะเป็นคนที่พูดเยอะ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์

ซึ่งการอบรมจัดขึ้น 10 วัน ระหว่างนั้นก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษเกิดขึ้น”

ตอนนั้น แม่เจี๊ยบ เริ่มประทับใจ แม่จุ๋ม เพราะความเงียบ ที่ดูเป็นคนคอยรับฟัง

“ เราก็รู้สึกว่าคนนี้ดีจัง ”

แม่เจี๊ยบเล่าถึงตอนนี้ จัน แอบเขินแทน

“แม่เจี๊ยบ กลับถึงบ้านรู้สึกคิดถึง แม่จุ๋ม

คิดว่าคงเป็นความรักแล้วแหละ เพราะ ถ้าเกิดไม่ใช่คนนี้ ก็รู้สึกไม่อยากมีใครอีกแล้ว”

งานนี้ แม่เจี๊ยบ เดินหน้าลุย

แต่เพราะการทำงานของเธอที่ต้องเดินทางตลอด จึงไม่ค่อยมีเวลาสร้างความสัมพันธ์กับใคร จึงเลือกใช้ช่องทางโทรศัพท์ ในการติดต่อกัน และทั้งคู่ก็ เชื่อมกันติด กลายเป็นความรัก

ความรักครั้งนี้คงเป็นไปได้ด้วยดี แต่…มันไม่ได้สวยงามเหมือนในหนัง เนื่องจาก เราทั้งคู่เป็นคนที่ทำงาน ไม่ได้คิดที่จะใช้ชีวิตคู่ อีกอย่างคือ เรื่องระยะทางที่ห่างไกล เจี๊ยบอยู่ภาคเหนือ ทำงานเกี่ยวกับชายแดนแม่ฮ่องสอน ส่วนคุณจุ๋มอยู่ภาคใต้ ทำงานเกี่ยวกับผู้หญิง เรื่อง HIV และเยาวชนพื้นเมืองที่อยู่ชายแดนใต้ เรารักงานที่ทำ ต่างคนต่างนึกภาพไม่ออก ว่าเราจะปล่อยมือจากงานที่เราทำอยู่ ได้อย่างไร

แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง คุณจุ๋ม ได้ขึ้นมาเที่ยวภาคเหนืออีกครั้ง เขาเห็นการทำงานของเรา เหมือนกับงานที่เขาทำ ซึ่ง คุณจุ๋ม ยังไม่ได้ตัดสินใจจะมาใช้ชีวิตร่วมกัน แต่มีเหตุจำเป็นทำให้ต้องย้ายมาทำงานที่ภาคกลางแทน

ตอนนั้นเราลำบากมากในการเดินทางไปหา จนเราตัดสินใจมาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่ ปีพ.ศ.2554 ในฐานะคู่ชีวิตและคนทำงานด้วยกัน

เราทำงานกันหนักมาก ทั้งให้ทุนการศึกษา การจัดอบรม รวมไปถึงการเปิดบ้านพักเพื่อนักศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองที่เข้ามาเรียนในตัวเมืองเชียงใหม่แต่ไม่มีบ้านอยู่

นี่สินะคะ ที่เขาเรียก ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน!

ความรักของทั้งคู่ ไม่ได้ราบรื่น

และคงเป็นคล้ายๆกับ ชีวิต LGBTQ คนอื่นๆ คือเรื่องการถูกยอมรับจากครอบครัว

ครอบครัวแม่เจี๊ยบเอง ก็เป็น 1 ในนั้น

“คุณแม่ ไม่ได้เชื่อมั่นใน ชีวิตคู่ของเพศเดียวกัน แต่…แม่เจี๊ยบ ดูแลตัวเองได้ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับที่บ้าน ทำให้คุณแม่ไม่ได้ห้าม แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนด้วยเช่นกัน

ในช่วงแรก ๆ เราต้องปรับตัวเยอะ เหมือนคู่ชีวิตชาย-หญิงทั่วไป เพราะ มาจากต่างครอบครัว ยิ่งเป็นคนที่เชื่อมั่นในวิธีคิดของตัวเองทั้งคู่ ทำให้ไม่ง่ายเลย จึงใช้เวลา 2 ปี ในการปรับตัวเข้าหากัน มันก็ไม่ได้ดีขึ้นหรอก”

จนกระทั่งมีลูกสาวเข้ามา

อีจัน : ลูกสาวที่ว่า หมายถึง น้องผู้หญิงที่อยู่ร่วมเฟรมใช่ไหม ?

อีจัน : ถามได้ไหมคะ ลูกสาวคนนี้ มาร่วมครอบครัวได้อย่างไร ?

แม่เจี๊ยบเปิดใจ เล่าให้ จันฟัง

“ลูกสาวที่พูดถึง ก่อนที่จะมาเป็นลูกของเรา ก่อนหน้าเขามีสถานะเป็นหลานสาว ซึ่งไม่ค่อยผูกพันกัน เพราะไม่ค่อยได้กลับบ้าน

เมื่อตอนลูกสาวอายุประมาณ 9 ขวบ เราถามคำถามเขาไป แต่เขาไม่สามารถโต้ตอบหรือบอกเป็นความรู้สึกกลับมาหาเราได้

เราจึงไปดูวิธีการเลี้ยงของยาย ซึ่งเป็นแม่ของเรา ที่อายุเกือบ 70 ปี คนสูงอายุจะกลัวทุกๆอย่างในการเลี้ยง เช่น อย่าวิ่ง เดี๋ยวล้ม, อย่าทำอย่างนั้น, อย่าทำนะ เป็นต้น เหมือนทุกคำพูดมีแต่การห้าม ทำให้มีผลกระทบกับเด็ก ส่งผลให้เขาไม่มั่นใจในตนเอง หวาดกลัว ไม่พูดคุยกับใคร หรือไม่สามารถที่จะสื่อสาร บอกความรู้สึกได้

ในตอนนั้นทำให้เราคุยกับคุณจุ๋ม ว่า เราไม่อยากให้เขาโตมาในสภาวะที่ไม่สามารถคุยกับใครได้

เราจึงตัดสินใจขอรับหลานมาเลี้ยงเป็นลูกสาว

แต่…ไม่ใช่เรื่องง่าย ในการที่จะรับ เด็กผู้หญิง คนหนึ่งที่มีครอบครัวอยู่แล้ว มาเป็นลูกสาวของเรา

อุปสรรค คือ ครอบครัวในทางสายเลือดของเด็ก ไม่ยอมรับ

“เราเผชิญกับการไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองในทางสายเลือดของเด็ก ซึ่งคุณจุ๋มก็ไม่มั่นใจว่าเราจะเลี้ยงเขาได้ไหม แม่ของเราก็ไม่สนับสนุน แต่เรายืนยันว่า เราจะดูแลเด็กคนนี้ให้ดี กว่าที่เป็นอยู่”

จนในที่สุด ลูกสาว ก็เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน ครอบครัว แม่เจี๊ยบ และ แม่จุ๋ม

มาถึงตอนนี้ ครอบครัวแม่เจี๊ยบ เหมือนจะสมบูรณ์แบบ

แต่ความสมบูรณ์แบบนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ที่นำไปสู่ การถูกตัดสิน และตราหน้า ว่าเป็น ตัวแปลกแยก จากสังคมที่รุนแรงขึ้น

คลิปแนะนำอีจัน
จดแจ้งคู่รัก ครั้งแรกของไทย!