ทำความรู้จัก โรคมาลาเรีย ภัยร้ายจาก ยุงก้นปล่อง ที่ควรเลี่ยง

ทำความรู้จัก โรคมาลาเรีย ภัยร้ายจาก ยุงก้นปล่อง ที่ควรหลีกเลี่ยงรู้ไว้ก่อนป้องกันให้ห่างจากพาหะตัวน้อย

ขณะที่ คณะกรรมการบริหารกำจัดโรคไข้มาลาเรียแห่งชาติ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย พร้อมหารือแนวทางป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียพื้นที่ตามแนวชายแดน และไข้มาลาเรียชนิดโนวไซซึ่งติดต่อจากลิงสู่คน หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น หลายคนอาจยังไม่รู้ถึงพิษภัยของเจ้ายุงร้าย เรามาทำความรู้จักไปพร้อมกันคะ เพื่อป้องกันการกลับมาแพร่เชื้อ

“ยุง” สัตว์ตัวจิ๋วที่ใครๆ มองแค่ว่าน่ารำคาญ แต่ภัยร้ายจากมันแล้วไม่น้อยเลยเพราะเวลาโดนมันกัด นอกจากจะคันแล้ว เรายังเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะ “ยุงก้นปล่อง” ถือว่าเป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ที่ส่งผลร้ายได้มากกว่าที่คิด

ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.)

รูปร่างลักษณะ

  • ยุงก้นปล่องจะมีส่วนรหยางค์ของปาก มีขนาดพอๆกับงวงดูดเลือด

  • ตัวเต็มวัย – มีสีซีดเเละมีจุดสีดำบนปีก มันจะยืนทำมุม 45 องศากับพื้นผิว

  • เวลาตัวอ่อนพักผ่อนมันจะทำมุมขนานกับผิวน้ำ

  • ไข่มีขนาดความยาว 1 มม. และมีทุ่นที่ช่วยให้มันลอยน้ำได้อยู่ด้านข้าง

วงจรชีวิต

  • ชีวิตของยุงมี 4 ระยะ ไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย

  • จากไข่ถึงระยะตัวเต็มวัยใช้เวลา 6-10 วัน

  • มีการเปลี่ยนเเปลงรูปร่างอย่างสมบูรณ์โดยผ่านระยะการเป็นไข่, ตัวอ่อน, ดักเเด้, และตัวเต็มวัย

การออกล่า

ยุงก้นปล่องเพศเมียมักออกหาเหยื่อเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อแหลม ในการเจาะผิวหนังของคน หรือ สัตว์ เพื่อดูดกินเลือดและใช้โปรตีนที่ได้จากเลือดไปสร้างเป็นไข่ใช้ในการแพร่พันธุ์ กระบวนการเจาะและดูดเลือดนี้ ตามปรกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เพราะน้ำลายที่ยุงก้นปล่องเพศเมียปล่อยออกมาจะทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คน หรือ สัตว์ ที่ถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ และในน้ำลายของยุงก้นปล่องเพศเมียนี่เองที่มีเชื้อก่อโรคมาลาเรียอยู่ โดยอาจได้รับมาจากการไปกัด คน หรือ สัตว์ ที่มีเชื้อก่อโรคมาลาเรีย ในระยะติดต่อมาก่อน ส่วนยุงก้นปล่องเพศผู้ จะกินแต่น้ำต้อยของพืชเป็นอาหาร จึงไม่ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรค

โรคมาลาเรีย หรือ โรคไข้ป่า ไข้จับสั่น เป็นโรคที่กิดจากเชื้อโปรโตซัวกลุ่ม “พลาสโมเดียม” (Plasmodim) เข้าไปทำลายเซลล์เม็คลือดแดงของผู้ป่วย มียุงก้นปล่อง เป็นพาหะนำโรค

เชื้อก่อโรคมาลาเรียในคน มี 5 ชนิด

  1. พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม (Plasmodium falciparum ) พบในไทยและพบได้บ่อยในแถบแอฟริกา เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุดและอาจทำให้เสียชีวิตได้

  2. พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) พบในไทยและหลายประเทศในเขตร้อนสามารถแฝงตัวอยู่ในตับได้นานเป็นปีหลังจากติดเชื้อ

  3. พลาสโมเดียม โอวาเล (Plasmodium ovale) สามารถแฝงตัวอยู่ในตับได้นานเป็นปืหลังจากติดเชื้อ

  4. พลาสโมเดียม มาลาเรียอี (Plasmodium malarice ) อาจทำให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรัง

  5. พลาสโมเดียม โนว์ลซาย (Plasmodium knowlesi) พบได้บ่อยในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในไทยพบได้บ้าง ชนิดนี้มีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็วจนเข้าสู่ภาวะติดเชื้อเรื้อรัง

อาการ

หลังจากได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัดมีไข้สูง หนาวสั่น มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิต เช่น เชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง ระบบการแข็งตัวของเลือด บกพร่อง ไตวาย ตับ/ มามโต

การวินิจฉัยโรคมาลาเรีย

เจาะเลือดเพื่อแยกชนิดของเชื้อมาลาเรีย , ประเมินอาการและให้ยารักษาตามชนิดของเชื้อ หากมีไข้สูงหลังกลับจากพื้นที่เสี่ยงให้รีบพบแทย์ และแจ้งประวัติการเดินทางให้ครบถ้วน

มาลาเรียเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ การซื้อยารักษาด้วยตนเอง หรือกินยาไม่ครบ อาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา หรือทำให้เป็นโรครุนแรงขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

คลิปแนะนำอีจัน
ช็อก! หนอนไชเข้าตัว