ลุ้นงาเดียว หมอบอกรอด 70 %

ลุ้นหมอคาด “งาเดียว” มีโอกาสหาย 70 %

หมอคาด "งาเดียว" มีโอกาสหาย 70 %

งาเดียวสู้ๆ ตอนนี้รู้แล้ว มันเจ็บเพราะสู้กับพลายงาซ้าย เพื่อแย่งตำแหน่งจ่าฝูงกัน #คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวตัวเอง งาเดียวเลยแยกฝูงรักษาตัวตามลำพัง โถ!!!

ภาพจากอีจัน

รายงานจากสัตวแพทย์ ถึงการตรวจอาการเจ้างาเดียวเมื่อวานนี้
เวลา 07.00 น. ชุดที่ 1 และ 2 เข้าติดตามแกะรอยช้างป่าในพื้นที่เป้าหมาย เวลา 09.10 น. ยิงยาซึมได้ 1 เข็ม จำนวน 10 ซีซี (ทีมงานชุดที่ 3 เดินเท้าเข้าไปในพื้นที่เป้าหมาย) เวลา 09.25 น. ชุดที่ 1 และ 2 เข้าเช็คอาการช้างป่าพลายงาเดียว
ภาพจากอีจัน
พบว่าล้มนอนตะแคง โดยหันข้างขวาขึ้น (อัตราการหายใจปกติ) พบบาดแผลจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ที่ช่วงขาหลังขวา – แผลที่ 1 ตรงโคนหางขวา (ลึก ~5 ซม.) – แผลที่ 2 ตรงสะโพกขวา (ลึก ~ 5-10 ซม) – แผลที่ 3 ตรงข้อพับขาขวา (ลึก ~15-20 ซม)บาดแผลลักษณะเป็นโพรง คล้ายกับการต่อสู้กันระหว่างช้างป่า ไม่พบบ่วงแร้ว
ภาพจากอีจัน
เวลา 09.50 ชุดที่ 3 เดินทางเข้าถึงตัวช้างป่า – เก็บเลือดเพื่อนำไปตรวจโรค ดูภาวะการติดเชื้อ ส่งตรวจ DNA และให้สารน้ำ พร้อมกับวิตามิน (ให้ทางเส้นเลือด) – ให้ยาฆ่าปฏิชีวนะ ยาลดปวดลดอักเสบ ยาบำรุง ยาถ่ายพยาธิ (ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ) – ทำความสะอาดบาดแผล ควานเอาหนองและหนอนออก ให้ยาฆ่าเชื้อภายนอก ยากันหนอนแมลงวัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

เวลา 10.15 น. เสร็จสิ้นการทำแผล ให้ยา พร้อมกับให้ จนท. บางส่วนเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ เนื่องจากช้างเริ่มรู้สึกตัว

เวลา 10.20 น. ทีมสัตวแพทย์ให้ยาแก้ฤทธิ์ยาซึม เข็มที่ 1 เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 10 ซีซี ช้างรู้สึกตัวแต่ยังไม่ยอมลุก

เวลา 10.29 น. ทีมสัตวแพทย์ให้ยาแก้ฤทธิ์ เข็มที่ 2 จำนวน 10 ซีซี (เข้าเส้นเลือด 5 ซีซี , เข้ากล้ามเนื้อ 5 ซีซี)

เวลา เวลา 10.35 น. ช้างลุกขึ้น ทีม จนท.ที่เหลืออยู่ออกจากพื้นที่ในทันที

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

แผนการรักษาต่อไป :
1. จากการวัดขนาดความสูงช้างป่าพลายงาเดียว มีความสูงประมาณ 3.2 เมตร งาข้างขวา รอบวง ~30 ซม. ยาว ~ 80 ซม. น้ำหนัก ~6-7 ตัน การยิงยาซึมในช้างป่าปกติขนาดนี้ควรได้รับยาซึม ~20 ซีซี ถึงจะหยุดการเคลื่อนที่ได้ แต่พลายงาเดียวได้รับยาเพียง 10 ซีซี (ดอกเดียว) ก็ล้มตัวลงนอน แสดงถึงภาวะความอ่อนเพลียอย่างมาก อันเนื่องจากบาดแผลที่อักเสบ , การติดตามของ จนท.ตลอดหลายวันที่ผ่านมา และการเดินหากินที่ลดลง ดังนั้นการฟื้นตัวของร่างกายต้องใช้เวลา ซึ่งถ้าบาดแผลไม่ติดเชื้อรุนแรงโอกาสหายจะสูงขึ้น 60-70% (แผลบริเวณข้อพับขวา และบนโคนหางเป็นจุดเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต)
2. จนท.และทีมสัตวแพทย์จะติดตามอย่างห่างๆ อีก 2-3 วัน เพื่อดูพฤติกรรมการหากิน เพราะถ้าติดตามใกล้ชิดจะเป็นการกดดันช้างให้เดินมากขึ้น เกิดความเครียด แผลอักเสบส่งผลต่อระบบต่างๆของร่างกาย
ภาพจากอีจัน