ลุ้น Grab ถูกกฎหมาย เสียงอีกครึ่งคือเสียงประชาชน

กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ ปชช.แสดงความคิดเห็น (การทำประชาพิจารณ์) เกี่ยวกับการออกกฎหมายกำกับดูแลการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน หรือทำให้ Grab ถูกกฎหมาย

อีกหนึ่งเรื่องที่น่าจับตามองในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นประเด็น Grab ถูกกฎหมาย ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ผลักดันนโยบายการเปิดเสรีให้บุคคลที่มีรถยนต์ส่วนตัวสามารถนำไปใช้ให้บริการรับส่งผู้โดยสารเพื่อหารายได้ แต่ก็มิวายถูกกระแสโจมตีจากฝั่งที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนขับแท็กซี่ที่ถูกแย่งลูกค้า จนเกิดเป็นประเด็นทะเลาะวิวาท รวมถึงการรวมตัวกันเพื่อประท้วงกรมการขนส่งทางบกเมื่อเร็วๆ นี้

ภาพจากอีจัน
ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้พยายามหาแนวทางแก้กฎหมายเพื่อทำให้ Grab สามารถใช้บริการได้โดยไม่ส่งผลกระทบใคร ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎกระทรวงคมนาคม เพื่อให้รถยนต์ส่วนบุคคลสามารถวิ่งรับส่งผู้โดยสารได้ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น ต้องเป็นการเรียกผ่านแอปพลิเคชั่นเท่านั้น ห้ามวิ่งรับผู้โดยสารตามท้องถนน ห้ามจอดรอรับผู้โดยสารตามจุดจอดของรถแท็กซี่ หรือการติดป้ายสัญลักษณ์บนรถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อแสดงว่ารถคันนี้เป็นผู้ให้บริการรับส่งผู้โดยสารผ่านแอปฯ เท่านั้น เป็นต้น
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม เพิ่งได้ประกาศร่างกฎกระทรวงฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และเว็บไซต์สำนักงานกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก โดยประกอบด้วย 2 ร่าง คือ
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

1. ร่างฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้ในการรับจ้างผ่านแอปพลิเคชัน (เกี่ยวกับคนขับและการให้บริการ) http://elaw.dlt.go.th/ElawUpload/FileSubj/178.pdf และ
2. ร่างฯ กำหนดการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่อใบอนุญาตประกอบการ (เกี่ยวกับบริษัทผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน) http://elaw.dlt.go.th/ElawUpload/FileSubj/179.pdf โดยวันนี้อีจันขอสรุปสั้นๆ ให้ฟังดังนี้

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

ใครที่สามารถขับแกร็บได้บ้าง?
1. บุคคลที่จะนำรถส่วนตัวมาให้บริการ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
2. บุคคลนั้นต้องมีสิทธิ์ครอบครองรถนั้น
3. บุคคลนั้นต้องมีใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ
4. บุคคลนั้นต้องผ่านการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

รถประเภทไหนที่สามารถนำมาขับแกร็บได้?

1. รถที่ต้องมีเครื่องอุปกรณ์ครบถ้วน มีความสะอาดเหมาะสมสำหรับรับคนโดยสาร
2. รถต้องมีอายุไม่เกิน 9 ปี โดยต้องเป็นรถที่ไม่ถูกดัดแปลง หรือซ่อมแซมจากรถที่ประสบอุบัติเหตุรุนแรง
3. รถต้องมีกระจก ต้องมองเห็นชัด กระจกด้านหน้าถ้าติดฟิล์ม ต้องให้แสงผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในกรณีนี้ใครที่ติดฟิล์มมืดมากๆ จะนำรถมาให้บริการไม่ได้
4. ต้องให้บริการในท้องที่ที่รถนั้นจดทะเบียนเป็นหลัก เช่น รถนนทบุรีไปให้บริการใน กทม.ไม่ได้ รถ กทม.ไปให้บริการในนนทบุรีไม่ได้
5. ชั่วโมงการทำงานปกติกับการขับรถให้บริการ ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง จะขับรถหามรุ่งหามค่ำไม่ได้
6. รถที่ให้บริการนี้ต้องติดเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ตามที่กำหนด

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

แล้วด้านบริษัทที่ขอใบอนุญาตล่ะ?
1. บริษัทต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
2. บริษัทต้องมีพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม มีโครงสร้างองค์กรที่น่าเชื่อถือ มีระบบเทคโนโลยีเป็นของตนเอง มีหลักเกณฑ์การคิดและแสดงค่าโดยสารตามกฎหมายที่กำหนด
3. มีศูนย์บริการลูกค้าและรับเรื่องร้องเรียน 24 ชั่วโมง และมีระบบจัดการข้อร้องเรียน โดยให้มีการระงับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที และที่น่าสนใจคือ การบริการลูกค้า ต้องมีภาษาให้บริการอย่างน้อย 3 ภาษา นั่นก็คือ ไทย อังกฤษ และ จีน

เมื่อไปดูข้อมูลของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่สำรวจความคิดเห็น มีคนเห็นด้วยมากถึง 95.7% ที่อยากให้ (Grab) ถูกกฎหมาย ซึ่งเหตุผลหลักที่พวกเขาเห็นด้วยก็คือ
1. บริการประเภทนี้ปลอดภัย เพราะมีข้อมูลผู้ขับ และทะเบียนรถเป็นหลักฐานในแอปพลิเคชัน
2. บริการประเภทนี้ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร เรียกใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3. บริการประเภทนี้สะดวก ใช้งานง่าย ทั้งเวลาเรียกรถ เวลาจ่ายเงิน

อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายที่กระทรวงคมนาคมได้ประกาศออกมายังไม่ถือว่าสมบูรณ์ 100% อาจเรียกได้ว่าเป็นเพียง 50% ของการออกกฎหมายเท่านั้น แล้วอีก 50% ขึ้นอยู่กับใคร คำตอบคือ อีก 50% อยู่ที่เสียงของประชาชน

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

โดยล่าสุด กรมการขนส่งทางบกได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (การทำประชาพิจารณ์) เกี่ยวกับการร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมกับการทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ได้ โดยร่วมแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะต่อประเด็นต่างๆ เพื่อให้การออกกฎหมายดังกล่าวมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความเป็นจริงของการให้บริการ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทั้งผู้ขับ ผู้โดยสาร สังคม และประเทศชาติโดยรวม เพียงคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ http://elaw.dlt.go.th/LawDraft.aspx?set=178 ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันศุกร์นี้ (29 พฤศจิกายน 2562) เท่านั้น

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

หากใครที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมายนี้ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร สามารถคลิกเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้เลยจ้า