เทคนิค rebreather ช่วยทีมหมูป่าออกจากถ้ำ

หมอเเฮร์ริสใช้เทคนิคการดำน้ำ rebreather (รีบรีทเธอร์) ช่วยเด็ก 13 ชีวิตติดถ้ำ

สื่อออสเตรเลีย รายงานว่า แพทย์ผู้ที่ตรวจสุขภาพและประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก ๆ และเป็นผู้ที่ “อนุมัติขั้นสุดท้าย” ว่าทั้ง 13 คน พร้อมสำหรับภารกิจครั้งสำคัญ ก่อนจะถูกพาตัวดำน้ำออกมานั้น ได้แก่ นพ.ริชาร์ด แฮร์ริส แพทย์จากเมืองแอดิเลด ออสเตรเลีย ซึ่ง นพ.แฮร์ริส เป็นบุคคลซึ่งเหมาะสมสำหรับภารกิจกู้ชีพภายในถ้ำ

ภาพจากอีจัน

จากการมีประสบการณ์ดำน้ำมานานกว่า 30 ปี ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักดำน้ำมือ 1 ของโลก

นอกจากนี้ทาง นพ.แฮร์ริส ก็ยังเคยเข้าช่วยเหลือภารกิจสืบสวนอุบัติเหตุในถ้ำมาแล้วหลายประเทศอีกด้วย
สื่อออสเตรเลีย ยังรายงานอีกว่า นพ.ริชาร์ด แฮร์ริส เป็นหนึ่งในนักดำน้ำ ที่สามารถใช้วิธีการดำน้ำ แบบเทคนิค rebreather (รีบรีทเธอร์)

ภาพจากอีจัน
ทั้งนี้ ผู้ใช้เทคนิค rebreather (รีบรีทเธอร์) เป็นวิธีการที่ใช้ในการปฏิบัติการใต้น้ำที่ใช้ระยะเวลายาว ๆ ซึ่งนักดำน้ำชาวอังกฤษ คือ นายจอห์น โวลันเธน และ นายริชาร์ด สแตนตัน ซึ่งใช้เทคนิค รีบรีทเธอร์ เช่นกัน ในการดำน้ำเข้าไปถึงตัวเด็กทั้ง 13 คน ที่เนินนมสาว แต่เทคนิค รีบรีทเธอร์ จะไม่ใช้กันทั่วไป เป็นการวิธีการดำน้ำที่ค่อนข้างอันตราย แต่จะใช้ในการปฏิบัติการทางทหาร หรือ นักวิทยาศาสตร์ใต้น้ำเท่านั้น
ภาพจากอีจัน
รีบรีทเธอร์ ก็คือ ระบบการหายใจ อากาศซ้ำ เมื่อนักดำน้ำหายใจออกมาเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ เครื่อง รีบรีทเธอร์ ก็จะเปลี่ยนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลับมาเป็นออกซิเจนอีกครั้ง ซึ่งนักดำน้ำก็จะใช้ในการหายใจใหม่ ซึ่งค่อนข้างอันตราย เพราะถ้าใช้ รีบรีทเธอร์ ในการหายใจไปนาน ๆ โดยที่ไม่มีฟองอากาศ อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิด ก๊าซไนโตรเจน ซึ่งอาจทำให้นักดำน้ำเสียชีวิตได้ จากภาวะการน๊อคน้ำ โดยเครื่อง รีบรีทเธอร์ จะติดตั้งไปกับอุปกรณ์ดำน้ำแบบ SCUBA ซึ่งเครื่องนี้จะทำงาน เมื่อระบบการหายใจแบบปกติอิ่มตัว โดยเครื่อง รีบรีทเธอร์ จะทำงานทันที และนักดำน้ำที่สามารถใช้ระบบนี้ได้ ต้องเป็นนักดำน้ำที่มีความชำนาญในการจัดการกับเครื่องมือเสริม รีบรีทเธอร์ ตัวนี้ ได้ ทั้งนี้เมื่อเครื่องนี้ทำงานจะทำให้สามารถดำน้ำได้ในระยะยาว ๆ จึงเป็นเหตุผลหลักที่ การกู้ชีพ 13 ชีวิตในครั้งนี้ จะต้องใช้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดำน้ำจากต่างชาติถึง 13 คนในภารกิจครั้งนี้