คืน 12 ส.ค. ยันรุ่งเช้า 13 ส.ค. 61 ลุ้นชมฝนดาวตกวันแม่ 110 ดวง/ชั่วโมง

มีลุ้นกว่าทุกปี ชวนเเม่ดู “ฝนดาวตกวันเเม่” มองเห็นด้วยตาเปล่า คาดตกมากสุด 110 ดวง/ชั่วโมง

คืนนี้ ( 12 ส.ค.61) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนคนไทยลุ้นชมฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ หรือ “ฝนดาวตกวันแม่” ตั้งแต่เวลา 02.30 น. ยาวไปยันรุ่งเช้าวันที่ 13 ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยทาง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้มีการคาดการณ์ว่ามีอัตราการตกสูงสุดที่ 110 ดวงต่อชั่วโมง

ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
และปีนี้มีลุ้นมากกว่าปีก่อนๆ เพราะคืนนี้ตรงกับดวงจันทร์ขึ้น 1 ค่ำ ส่งผลให้ท้องฟ้ามืดไร้แสงจันทร์รบกวน เหมาะสำหรับการณ์ดูฝนดาวตกอย่างมาก แต่ก็ต้องมาร่วมลุ้นกันอีกต่อว่า คืนนี้ฝนจะตกหรือไม่!!! แต่ถ้าพื้นที่ไหนฟ้าใสไร้เมฆฝน สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแน่นอน
ภาพจาก : narit.or.th


ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ คืออะไร?
ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล เหลือทิ้งไว้ในวงโคจรเมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้ เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า
ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ มีสีสันสวยงาม สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่างวันที่ โดย จะเป็นช่วงที่เกิดฝนดาวตกมากที่สุด

ภาพโลกโคจรเข้าไปในสายธารของสะเก็ดดาวที่ดาวหางสวิฟต์- ทัตเทิล ได้เหลือทิ้งไว้ หลังจากที่มาเยือนระบบสุริยะชั้นใน (ที่มา : http://astrobob.areavoices.com )


ทำไมถึงเรียก ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ว่า “ฝนดาวตกวันแม่
เพราะจะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ในช่วงประมาณวันที่ 17 กรกฎาคม – 24 สิงหาคมของทุกปี แต่จะตกมากที่สุด ในวันที่ 12 – 13 สิงหาคม

นอกจากหลังเที่ยงคืนจะมีดาวตกวันแม่แล้ว ช่วงหัวค่ำวันที่ 12 ส.ค. ยังมีดาวเคราะห์ให้ได้ชมกันด้วย ดาวศุกร์ ที่สุกสว่างทางทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำ ดาวอังคาร สีส้มแดงสว่างชัดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังอยู่ในช่วงใกล้โลก ดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี อีกด้วย

ภาพจาก : narit.or.th


ใครตั้งใจจะเก็บภาพฝนตกตกปีนี้ไว้เป็นที่ระลึกแนะนำช่วง 02.30 จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 ส.ค.61 ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุด

เพราะซีกโลกที่เราอยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรงๆ ดาวตกจะวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก จึงทำให้เห็นดาวตกวิ่งช้า

และทำให้มีโอกาสได้ภาพฝนดาวตกหางยาวๆ ได้ง่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี