ทำความเข้าใจ “ไบโพลาร์-อารมณ์สองขั้ว”

ทำความรู้จัก “ไบโพลาร์” โรคอารมณ์สองขั้ว ซึมเศร้าสลับอารมณ์ดีผิดปกติ !!

นพ.พิชัย อิฏฐสกุล รองศาสตราจารย์ สาขาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้คำจำกัดความโรคไบโพลาร์ อย่างง่ายๆว่า "อารมณ์สองขั้ว"

ไบโพลาร์ เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

1. ซึมเศร้า (depression) 

2. อารมณ์ดีผิดปกติ (mania)

ภาพจากอีจัน


ช่วงที่ซึมเศร้านี้ ผู้ป่วยจะมีหดหู่ เบื่อหน่าย อะไรที่เคยชอบทำก็อาจจะไม่อยากทำ ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เบื่ออาหาร รวมถึงการนอนก็อาจจะเปลี่ยนไป สมาธิ

ในการทำงานไม่ดีเหมือนเดิม มองตัวเองแง่ลบ คิดว่าตัวเองไร้ค่า หรืออาจจะรวมไปถึงการมองคนอื่นในแง่ลบด้วย ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นอยากตาย !!! 


ส่วนแบบ mania จะตรงกันข้ามกับซึมเศร้า คืออารมณ์ดีมากกว่าปกติ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เดี่ยวดีเดี๋ยวร้าย บางรายที่รุนแรงถึงขั้นคิดว่าตัวเองมีพลังวิเศษ

มีอำนาจเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งกลุ่มนี้จะวอกแวกง่าย ความต้องการพักผ่อนหรือการนอนน้อยลง คือนอนแค่ 2-3 ชั่วโมง ต่างจากคนปกติที่จะนอน 6-8 ชั่วโมง 

ขอบคุณภาพ : www.dara.trueid.net


สาเหตุของโรคไบโพลาร์

เกิดได้หลายสาเหตุ

ไม่ว่าจะทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม หรือการเลี้ยงดู


โดยทางพันธุกรรมนั้นหากเกิดในครอบครัวที่พ่อแม่ป่วยโรคนี้ลูกจะเสี่ยงเป็นไบโพลาร์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะเป็นกันทุกคน


รวมถึงการเลี้ยงดู หากเลี้ยงดูจนทำให้เด็กเกิดความเครียด หรือไม่สามารถปรับตัวได้ ก็เสี่ยงที่จะเกิดการกระตุ้นได้มากขึ้น


เเละส่วนสิ่งแวดล้อม

เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสมองทำให้การควบคุมอารมณ์เปลี่ยนไป

ขอบคุณเจ้าของภาพ


แนวทางในการรักษาโรคไบโพลาร์

เมื่อเข้าพบแพทย์ จะมีการพูดคุยเพื่อให้การวินิจฉัยว่าคนไข้มีความผิดปกติอย่างไร จากนั้นช่วงระยะการรักษาช่วงแรกจะเป็นการให้ยา เพื่อคุมอาการให้กลับมาเป็นปกติ

หลังจากนั้นจะเป็นการรักษาต่อเนื่องซึ่งอาจต้องใช้ยาคุมอาการด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นโรคซ้ำ 

ซึ่งผู้ป่วยทุกรายมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์


และสิ่งสำคัญที่สุดนั้นก็คือครอบครัว คนรอบข้าง โดย นพ.พิชัย เผยว่า ต้องเข้าใจในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย เพราะคนไข้ส่วนใหญ่อยากได้รับความเข้าใจและอยากให้ครอบครัวดูแลเหมือนคนปกติ


ส่วนตัวผู้ป่วยเอง ก็ต้องพยายามหาวิธีแก้ปัญหาและลดความเครียด และควรงดดื่มสิ่งกระตุ้น เช่น แอลกอฮอล์ เเละเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง รวมถึงควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ 6-8 ชั่วโมง

ภาพจากอีจัน



หลายคน เเยกไม่ออก โรคซึมเศร้า เเละ โรคไบโพลาร์ ต่างกันอย่างไร

นพ.พิชัย ให้ข้อมูลว่า ไบโพลาร์ กับ ซึมเศร้า เป็นคนละโรค

ไบโพลาร์คืออารมณ์ 2 ขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีช่วงซึมเศร้ากับ mania

ในขณะที่ โรคซึมเศร้า จะมีเพียงอาการซึมเศร้าอย่างเดียว ซึ่งในกระบวนการของการรักษาโรคซึมเศร้าคือให้ยาต้านเศร้า

แต่ไบโพลาร์ จะให้ยาที่ทำให้อารมณ์คงที่

ภาพจากอีจัน


นพ.พิชัย อยากฝากถึงสังคมด้วยว่า คนไข้ทางจิตเวช มีหลากหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนที่คุยไม่รู้เรื่องหรือเป็นคนบ้าเสมอไป

ถ้าสังคมเปิดกว้างมากขึ้น ก็อาจจะทำให้คนไข้เข้าถึงการบริการหรือการรักษามากขึ้น คนไข้หลายรายไม่กล้ามาหาหมอ เพราะกลัวมีประวัติถูกบันทึก กลัวถูกหาว่าบ้า กลัวคนจะไม่รับเข้าที่ทำงาน

ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาระดับสังคมที่พวกเราต้องช่วยกัน