
1 ภาพล้านความหมาย เมื่อบุคลากรทางการเเพทย์ถอดชุด PPE ป้องกันโควิด-19 คงเหนื่อยเเละหนักมากจริงๆ
เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2563 ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Pangjee sk พยาบาลวิชาชีพที่ รพ.แห่งหนึ่ง โพสต์ภาพเเละข้อความหลังจากที่เธอเเละทีมถอดชุด PEE ออกพร้อมกับบอกว่า การใส่ชุด PEE เพื่อช่วยเหลือคนไข้มันไม่ง่ายเลย โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า
#พักก่อน
สภาพหลังจากใส่ชุด PPE เข้าไป CPR+ทำหัตถการคนไข้ใส่ Tube เกือบ 2 ชม.!!
คนไข้รอดแล้ว ส่วนพยาบาลใกล้ตายละจ้า ถ้าอยู่ต่ออีกนิด ก็เป็นลมตรงนั้นแหละ..พูดเลย
#ภายใต้ชุดPPEมันไม่ง่ายเลย
#กางเกงสีส้มเข้มๆมันคือเหงื่อจ้ะ
#เหงื่อเหมือนคนอาบน้ำชุ่มฉ่ำแฉะทุกส่วนของร่างกายไปเลยจ้าแม่
#ไม่ไหวบอกไหว
#บ่นเฉยๆกำลังเหนื่อย
หลังจากโพสต์ถูกเผยเเพร่ออกไป อีจันจึงติดต่อไปหาเจ้าของโพสต์ โดยเจ้าของโพสต์เล่าว่า พยาบาลจะขึ้นเวรวันละ 8 ชม.มีเวร ซึ่งแล้วแต่ว่าใครเวรอะไร บางคนเช้าดึกในวันเดียวกัน ก็พักแค่ 8 ชม แต่ก็จะมีวันหยุดให้พักบ้าง แต่ถ้าหวอดยุ่ง คนที่หยุดก็ต้องขึ้นมาช่วย
ชุด PPE จะใส่เฉพาะเคสที่ใส่ท่อช่วยหายใจ หรือไอเยอะๆ หรือเคสที่อาการหนักๆ ที่เราประเมินว่าเสี่ยงกับเรา ถ้าเป็นเคสทั่วไป ช่วยเหลือตนเองได้ เราก็ใส่เป็นชุดกราวกันน้ำหรือเสื้อกันฝนก็ได้ค่ะ
ซึ่งระยะเวลาในการอยู่ในชุด PPE ไม่มีกำหนดว่าพยาบาลใส่ชุด PPE เข้าหาคนไข้คนละกี่นาทีกี่ชั่วโมง แล้วออกมาผลัดกัน เพราะมันไม่มีพยาบาลจะเปลี่ยน บางทีใส่ชุดเข้าไปแล้ว เราก็ทำอะไรให้เร็วสุด save ที่สุด สักไม่เกิน 30 นาที ก็จะออกมา
แต่คนไข้เกิดอาการแย่ เช่น หัวใจหยุดเต้นพยาบาลต้องอยู่ต่อ ปั๊มหัวใจ ถ้าคนไข้บางคนเหนื่อยขึ้น ก็ต้องอยู่ต่อเพื่อใส่ออกซิเจน หรือช่วยแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งพยาบาลจะต้องอยู่ตรงนั้นตลอดถ้าคนไข้แย่ลง ทุกอย่างที่ทำต้องเซฟคนไข้ด้วยรวมถึงบุคลากรทางการเเพทย์ด้วย
ผู้โพสต์ยังบอกอีกว่าในห้องคนไข้ จะร้อนมาก ตอนเราเข้าไป พัดลมต้องปิด ทุกอย่างมันปิดหมด จะอึดอัดมากๆคือไม่รู้จะวูบไปตอนไหน เคยมีพยาบาลที่หวอดก็เป็นลมคาชุด PPE มาแล้วในห้องคนไข้ค่ะ
ทั้งนี้ส่วนใหญ่พยาบาลถ้าใส่ชุด PPE เข้าห้องคนไข้แบบไม่เกินชั่วโมง ก็ยังพอไหว แต่ส่วนใหญ่เมื่อต้องใส่ PPE คืออาการคนไข้หนักๆ เเละต้องอยู่ดูเเลจนคนไข้ดีขึ้น ซึ่งพยาบาลเเละหมอทุกคนต้องใช้ความอดทนมากๆ
จันขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้บุคลากรทางการเเพทย์ทุกคนค่ะ เราจะผ่านไปด้วยกัน