ชวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังลงทะเบียน! 27 รพ. ทั่วประเทศ นำร่องรักษาผ่านวิดีโอ

กรมการแพทย์ปรับการบริการทางการแพทย์ใหม่ เผย 27 รพ. ทั่วประเทศ นำร่องรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางไกลผ่านระบบวิดีโอ พร้อมส่งยาทางไปรษณีย์ เลี่ยงโควิด-19

วันที่ 27 เมษายน 2563 เพจเฟซบุ๊ก “ไทยคู่ฟ้า” เปิดเผยระบบการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังรูปแบบใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโควิด-19
โดยระบุว่า “เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล และป้องกันโรคโควิด-19 กรมการแพทย์จึงได้ปรับรูปแบบการจัดบริการทางการแพทย์ เป็นระบบบริการแบบใหม่ หรือ New Normal Medical Services ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ภาพจากอีจัน
ระบบดังกล่าว เป็นการรักษาทางไกลผ่านระบบวิดีโอ และให้บริการส่งยาทางไปรษณีย์ทุกสิทธิการรักษา นำร่องในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคทางระบบประสาท กระดูก ที่มีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลนั้น ๆ ปัจจุบันมี รพ.ให้บริการแล้ว 27 ทั่วประเทศ ได้แก่ 1. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 2. โรงพยาบาลราชวิถี 3. โรงพยาบาลเลิดสิน 4. โรงพยาบาลสงฆ์ 5. สถาบันสิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ 6. สถาบันทันตกรรม 7. สถาบันประสาทวิทยา 8. สถาบันพยาธิวิทยา 9. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 10. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี 11. สถาบันโรคผิวหนัง 12. สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี 13. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 14. โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี 15. โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี 16. โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี 17. โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี 18. โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี 19. โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี 20. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เชียงใหม่ 21. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา 22. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ขอนแก่น 23. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน 24. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อุดรธานี 25. โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จ.ตรัง 26. โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จ.ชลบุรี 27. โรงพยาบาลเวชชารักษ์ จ.ลำปาง สำหรับการรับบริการ : ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังลงทะเบียนที่ห้องตรวจ เพื่อแจ้งความจำนงรักษาทางไกล โดยแพทย์จะพิจารณาจากประวัติการรักษาของผู้ป่วย ถ้ามีอาการทั่วไปดี มีผลการตรวจล่าสุดคงที่ ก็จะนัดวันและเวลา ด้วยการรักษาทางไกลผ่านระบบวิดีโอ เพื่อรับการตรวจ พร้อมปรึกษากับแพทย์ผ่านไลน์ หรือ Skype และส่งยาให้ทางไปรษณีย์” ระบบการรักษาแบบนี้ จะรวดเร็วขึ้น อำนวยความสะดวก เช่น การตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบ drive thru การรับยาร้านยาใกล้บ้าน การส่งยาทางไปรษณีย์ การปรึกษาทางไกล เป็นต้น แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาลอีกด้วย