ว่ายน้ำไม่เป็น ก็รอดได้ เผย 3 เทคนิค ลอยตัวในน้ำ

3 เทคนิค แม้ ว่ายน้ำไม่เป็น กับทักษะการเอาชีวิตรอดที่ทุกคนควรรู้ !

จะเกิอะไรขึ้นถ้าว่ายน้ำไม่เป็นแล้วพลัดตกน้ำ คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่ๆเพราะ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆก็มาจากการจมน้ำ หลายคนจึงพยายามส่งลูกหลานเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ยังเด็ก ถึงแม้บางคนจะว่ายน้ำเป็นอยู่แล้ว แต่หากเกิดอุบัติเหตุทางน้ำแล้วได้รับการช่วยเหลือช้า ก็อาจหมดแรง จนจมน้ำก่อนได้ แต่ถ้าใช้เทคนิคลอยตัวในน้ำโดยไม่ขยับร่างกายและเป็นการลอยตัวพร้อมเสื้อผ้าแบบนี้จะช่วยทุ่นแรงได้มากขึ้น หรือต่อให้เราว่ายน้ำไม่เป็นก็สามารถใช้เทคนิคนี้เอาชีวิตรอด

ส่วนมากเมื่อพลัดตกน้ำ คนเรามักตกใจและมักใช้แรงของร่างกายไป 25 – 50 % ในช่วง 1 นาทีแรกที่ตกน้ำ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรทำคือ การควบคุมสติ พร้อมพยุงร่างกายขึ้นจากน้ำ โดยมีศีรษะอยู่พ้นน้ำและไม่เกร็งขา จากนั้นพยายามลอยตัว เทคนิคการลอยตัวในน้ำโดยไม่ใช่แรงจึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้การว่ายน้ำเลย

เทคนิคกับท่าลอยตัวในน้ำ

ท่าปลาดาวคว่ำ

ท่านี้จำลองมาจากลักษณะของปลาดาว ใช้ในการลอยตัวสูกลมหายใจเข้าปอด คว่ำหน้า กางแขนขา เป็นท่าแรกเริ่มที่ไม่ซับซ้อน เป็นวิธีการลอยตัว ที่ได้ฝึกทั้งวิธีการกลั้นลมหายใจ และวิธีการเป่าลมออกอย่างถูกต้อง ซึ่งการเป่าลมออกสามารถทำได้ 3 ทางคือ ทางปาก, ทางจมูก และเป่าลมออกพร้อมกันทั้งทางปากและจมูก

วิธีฝึก : กางแขนออกพอประมาณ กลั้นลมหายใจไว้พร้อมก้มหน้าลงไปในน้ำ ทำตัวให้ลอยขึ้นมา ขาทั้ง 2 ข้าง แยกออกจากกันคล้ายแฉกของปลาดาวนั่นเอง และประคองตัวให้นิ่ง

ท่าปลาดาวหงาย

ท่าปลาดาวหงาย ใช้ในการลอยตัวสูดลมหายใจเข้าปอด หงายตัวกางแขนขาเชิดคางขึ้นเพื่อหายใจ ท่าปลาดาวหงายนี้ดูเหมือนจะยาก แต่ถ้าเป็นแล้วเป็นการลอยตัวที่สบายลอยนิ่ง ๆ ลอยแบบไม่เหนื่อย ไม่ต้องใช้พลังงาน

วิธีฝึก : ง่าย ๆ ยืดอก ยกพุง ตามองท้องฟ้า หายใจเข้าทางปาก หายใจออกทางปากหรือจมูกให้หายใจตลอด ปอดเราจะได้มีลมอยู่เสมอ ตัวจะลอยขึ้นแน่นอน แรก ๆ อาจจะต้องฝึกการประคองตัวให้ตัวลอยนิ่ง ๆ

ท่าเต่า

ท่าเต่าเป็นที่ทีใช้ในการลอยตัว ลักษณะงอเข่าทั้งสองด้านมาชิดหน้าอกใช้มือทั้งสองข้างกอดเข่าเอาไว้

วิธีฝึก : สูดลมหายใจให้เต็มปอด จากนั้นกลั้นหายใจแล้วคว่ำตัวลง งอเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้นมาชิดหน้าอก ใช้มือทั้ง 2 ข้างกอดเข่าไว้ หากลมหายใจเริ่มหมด ให้เงยหน้าหรือพลิกหน้าด้านข้าง หายใจ แล้วจึงก้มหน้าลงไปใหม่

อีกหนึ่งสิ่งที่ควรคำนึงเมื่อตกน้ำทะเล ในกรณีที่ร่างกายแช่อยู่ในน้ำทะเลนานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไม่มีแสงแดด อุณภูมิในน้ำจะเย็นขึ้นเรื่อยๆซึ่งจะทำให้ร่างกายสูญเสียกลไกการปรับอุณหภูมิ ไม่สามารถสร้าง และเก็บความร้อนในร่างกายได้ จึงมีโอกาสทำให้ร่างกายเกิด “ภาวะตัวเย็นเกิน” หรือ Hypothermia เป็นเหตุให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวใจและสมอง ทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

โดยจากข้อมูลงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่าหากสวมใส่เสื้อผ้า และอุปกรณ์ป้องกันที่ พร้อมสำหรับการลอยตัวในน้ำจะสามารถมีชีวิตรอดอยู่ในน้ำได้นานสูงสุด 22-36 ชม. ที่อุณภูมิน้ำ 15.5 ถึง 21 องศาเซลเซียล แต่หากน้ำมีอุณหภูมิ 21 – 26.5 องศาเซลเซียล จะสามารถมีชีวิตรอดอยู่ในน้ำได้นานสูงสุด 36-54 ชม. และหากน้ำมีอุณหภูมิมากกว่า 26.5 องศาเซลเซียล จะสามารถมีชีวิตรอดอยู่ในน้ำได้นานมากกว่า 54 ชม.

ทั้งนี้แต่ละท่าล้วนแล้วแต่ต้องเริ่มจากการควบคุมลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เนื่องจากการที่เราสูดหายใจเอาลมเข้าไปในปอด จะช่วยให้ตัวของเราสามารถลอยน้ำได้เป็นเวลานานโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย แม้แต่คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นก็ยังสามารถทำได้ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการเอาตัวรอดจากการตกน้ำก็คือ การประคองหรือพยุงตัวเองให้ลอยอยู่บนผิวน้ำได้นานที่สุดจนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือ หากอยู่ไกลฝั่งควรหลีกเลี่ยงการพยายามว่ายน้ำ เพราะจะทำให้เหนื่อยจนหมดแรงไปในที่สุด

ขอบคุณข้อมูล เฟซบุ๊ก ฮุก 31 ทีม ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ , กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 3 , เฟซบุ๊กหมอหมู วีระศักดิ์

คลิปอีจันแนะนำ
สถานการณ์วิกฤต เรือหลวงสุโขทัยอับปาง!