คืนนี้! สสส-พม. ลุยสำรวจคนไร้บ้าน 77 จังหวัด สร้างโอกาส สร้างอาชีพ

เริ่มแล้ว คืนนี้! สสส-พม. ลุยสำรวจคนไร้บ้าน 77 จังหวัด สร้างโอกาส สร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

คืนนี้ สสส-พม. ลุยสำรวจ คนไร้บ้าน พร้อมกัน 77 จังหวัด

วันนี้ (23 พ.ค. 66) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วย สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่าย ร่วมแถลงข่าว เปิดโครงการ แจงนับคนไร้บ้าน (One Night Count) ลงพื้นที่สำรวจ จำนวนคนไร้บ้านปี 2566 ภายในคืนเดียว พร้อมกัน 77 จังหวัด

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ความเปราะบางที่นำมาสู่การเป็นคนไร้บ้าน คือ เศรษฐกิจและครอบครัว จากการศึกษาโอกาสเกิดคนไร้บ้านหน้าใหม่ เกี่ยวข้องทั้งรายได้ รัฐสวัสดิการ พฤติกรรมการดื่ม ความพิการ การอยู่ในภาวะไร้บ้านเป็นเวลานาน ส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาวทางจิต

สถานการณ์คนไร้บ้าน พบว่า สูบบุหรี่สูงถึง 55% ดื่มสุรา 41% แต่ผู้เข้ารับบริการศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน กลับมีอายุเฉลี่ย สูงกว่าคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ แสดงให้เห็นว่า นโยบายที่อยู่อาศัยและมีความสำคัญ

จากข้อมูล โครงการแจงนับคนไร้บ้าน เมื่อปี 62 พบว่า มีคนไร้บ้านทั่วประเทศ 2,719 คน แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด ทำให้มีจำนานคนไร้บ้าน ที่เพิ่มมากขึ้น

ที่ผ่านมา สสส. และ มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ร่วมกันพัฒนาโครงการ “ที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง” ออกค่าที่อยู่ครึ่งหนึ่ง ให้กับคนไร้บ้าน

โดยทาง สสส. ช่วยออกให้ 60% ส่วนคนไร้บ้าน สบทบ 60% ในอัตราค่าเช่าห้อง 1,700 – 2,200 บาท/เดือน โมเดลนี้ต่อยอดโครงการนำร่อง “บ้านสวัสดิการที่อยู่อาศัยคนจนเมือง” ที่จะปรับพื้นที่ตึกร้าง ให้เป็นที่อยู่อาศัยราคาถูก โดย พม. และ กทม. อยู่ระหว่างการหาข้อมูล เพื่อทำให้คนไร้บ้าน หรือคนที่อยู่ในภาวะก้ำกึ่งต่อการไร้บ้าน สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเสี่ยงจากภาวะไร้บ้านถาวร ซึ่งคนไร้บ้าน ต้องตั้งหลักชีวิตได้

ทางด้าน รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผอ.สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การดำเนินแผนงานพัฒนาองค์ความรู้คนไร้บ้าน ของสถาบัน ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ในฐานะหน่วยวิชาการในการขับเคลื่อนนโยบาย ได้ชี้ให้เห็นสถานการณ์ และมิติปัญหาของการเข้าสู่ภาวะคนไร้บ้าน มีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ในการแจงนับและสำรวจคนไร้บ้าน ครั้งใหม่ ปี 2566 ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด จะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้สถานการณ์ ประชากรคนไร้บ้าน มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการกำหนดนโยบายที่ครอบคลุม ตั้งแต่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพวะคนไร้บ้าน รวมถึงการป้องกันการเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน ของกลุ่มเปราะบาง

หลังจากแถลงข่าวเสร็จ ได้มีการปล่อยแถว ขบวนรถของเจ้าหน้าที่ พม. เป็นเชิงสัญลักษณ์ เพื่อส่งกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทั่วประเทศ ที่จะลงพื้นที่ปฏิบัติงานวันนี้

ต่อมา นายอนกุล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย สสส. และ อีจัน ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับ คนไร้บ้าน ที่อาศัยอยู่ริมถนนราชดำเนิน เพื่อรับรู้ถึงปัญหา และช่วยหาทางแก้ไข

นายอนกุล กล่าวว่า กลุ่มคนไร้บ้าน เป็นกลุ่มประชากร ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสุขภาพ จำเป็นต้องคุ้มครองทางสังคม และสร้างพลังทางสังคม การแจงนับคนไร้บ้าน เพื่อลงพื้นที่ให้เห็นปัญหาจริงๆ จะได้ช่วยได้อย่างตรงจุด