รู้จัก ประเภทของ คาร์ซีท เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

รู้จัก ประเภทของ คาร์ซีท เลือกให้เหมาะกับลูกน้อยและวิธีฝึกลูกนั่งคาร์ซีท

หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุรถชนจนทำให้เกิดความสูญเสียกับครอบครัวที่มีเด็กอยู่บนรถ จึงมีกฎหมายออกมาเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565

ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

โดยมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่งพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน อาทิ

คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์

คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี

ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร

ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

โดยในปัจจุบันยังมีคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจ และมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานคาร์ซีท ร่วมกับลูกน้อยอยู่พอสมควร มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้และประเภทคาร์ซีท ไปด้วยกัน

1.การฝึกลูกให้นั่งคาร์ซีท

– ควรเริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิด เพราะยิ่งเร็วยิ่งดี

– ก่อนเดินทางทุกครั้งให้บอกลูกเสมอว่าต้องนั่งคาร์ซีท

– นั่งเป็นเพื่อนลูกด้านหลัง ใกล้ชิดกับคาร์ซีท

– พูดคุย เล่น หรือหากิจกรรมอื่นๆ ให้ลูกเล่นเกิดความเพลิดเพลินระหว่างเดินทาง

– หาของเล่นติดรถไว้เสมอ

– ต้องใจแข็ง ถึงแม้ลูกจะงอแงเพียงใด ก็ไม่ควรอุ้มลูกออกมาจากคาร์ซีทเป็นอันขาด

2.ประเภทของคาร์ซีท

  • คาร์ซีทหันหน้าเข้าหาเบาะ (Rear Facing Seat) เหมาะสำหรับเด็กเล็กช่วงอายุ 0-2 ปี

  • คาร์ซีทหันหน้าออกจากเบาะ (Forward Facing Seat) เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-7 ปี

  • คาร์ซีทแบบเสริม (Booster Seat) เหมาะสำหรับเด็กโตอายุ 4-12 ปี เพื่อเสริมให้คาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ได้พอดีตัว

  • เบาะสำหรับผู้ใหญ่ (Adult Seat Belt) เบาะของรถสำหรับเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไปที่สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยผู้ใหญ่ได้เต็มตัวแล้ว

3.วิธีนั่งและหันคาร์ซีทที่ถูกต้องตามแต่ละช่วงวัย

การนั่งและหันคาร์ซีทของเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกันตามอายุ เพื่อความปลอดภัยควรให้เด็กนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าเข้าหาเบาะ หรือ การนั่งหันหน้าออกจากเบาะ จนกว่าเด็กจะมีอายุ 2 ปี เนื่องจากระดูกคอของเด็กนั้นยังไม่แข็งแรงที่จะสามารถประคองศีรษะให้อยู่ในแนวเดียวกับกระดูกสันหลังได้ ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่บอบบางที่สุด และหากเกิดอุบัติเหตุจากการชนทางด้านหน้า แรงกระแทกจะทำให้ตัวและศีรษะของเด็กถูกเหวี่ยงไปข้างหน้า แต่ตัวนั้นจะถูกคาร์ซีทรั้งไว้ในขณะที่ศีรษะไม่ได้ถูกยึดไว้ด้วย ส่งผลให้เด็กเกิดอันตรายจนถึงขั้นคอหักได้ ฉะนั้นการติดตั้งคาร์ซีทแบบหันหน้าเข้าหาเบาะนี้ จึงถือเป็นการติดตั้งที่จะช่วยปกป้องและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้สูงที่สุด

คลิปแนะนำอีจัน
สุดปัง! ของขวัญรับปริญญา